กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
31
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / 2012 วันโลกแตกจริงหรือ?
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 25, 2011, 12:02:34 PM »
ปฏิทินมายามีหลายแบบ แบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปี ค.ศ. 2012 คือแบบที่เรียกกันว่า ปฏิทินรอบยาว (long count) ระบุวันด้วยชุดของตัวเลข ตัวเลขชุดนี้แทนวันที่ได้ยาวนาน 5,126 ปี เทียบกับวันที่ตามระบบปฏิทินสากลตั้งแต่ วันที่ 11 สิงหาคม 3114 ปีก่อนคริสต์กาลไปจนสุดจำนวนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012

การสิ้นสุดของตัวเลขปฏิทินมายา หรือการครบจำนวนสูงสุดที่กำหนดไว้ในระบบนับวันระบบใดระบบหนึ่ง จะแสดงถึงการสิ้นสุดของโลกเชียวหรือ
คอมพิวเตอร์สมัยก่อนก็มีระบบปฏิทินในตัวเครื่องที่แสดงวันเดือนปีได้จนถึงสิ้น ค.ศ. 1999 อันเป็นที่รู้จักกันในนามของปัญหา Y2K แต่เมื่อสิ้นสุด ค.ศ. 1999 โลกก็ไม่ได้แตกระบบนับวันของคอมพิวเตอร์

ระบบบอกพิกัดจีพีเอส ก็มีระบบนับสัปดาห์เป็นของตัวเอง ซึ่งตัวเลขจะสุดจำนวนที่วันที่ 21 สิงหาคม 2542 ทำนองเดียวกับ Y2K ของคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อสิ้นวันที่ 21 สิงหาคม 2542 โลกก็ไม่ได้แตกตามระบบจีพีเอส

ทำนองเดียวกัน โลกก็จะไม่แตกสลายเพราะว่าสุดตัวเลขปฏิทินมายา หลังวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ปฏิทินมายาก็จะเริ่มนับรอบใหม่

วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:   
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=135
32
ดาวหมีใหญ่หรือดาวจระเข้ มีประโยชน์อย่างยิ่งในการหาทิศทางที่ถูกต้อง
เพราะจาก กลุ่มดาวนี้ เราใช้หาดาวเหนือ (Polaris) ได้  ดาว 2 ดวง
ตรงปากกระบวยชื่อ Dubhe และ Merek ซึ่งเรียกว่าเครื่องชี้ (Pointer)
ดาว 2 ดวงนี้ห่างกัน 5๐ ถ้าลากเส้นตรง จากดาว 2 ดวงนี้ จะชี้ไปที่ ดาวเหนือ นับจากดาว Dubhe ไปราว 5 หน่วย จะถึง ดาวเหนือพอดี
ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับดาวเหนือ มีดาวที่สว่าง สุกใสอยู่ดาวเดียว คือ ดาวเหนือ จึงสังเกตได้ง่าย

ที่มา:
http://phuketindex.com/travel/photo-stories/other/s-star/ursamajor.htm

33
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / กลุ่มดาวของไทย 27 กลุ่ม - 3
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 25, 2011, 09:03:45 AM »
21. อุตตราสาฒะ
อุตตราสาฒะ อยู่ในราศีมกร มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวปลายหางช้าง แต่ในแผนที่ตารางดาวล้านนามิได้แสดงกลุ่มดาวนี้ไว้ กลุ่มดาวฤกษ์นี้ตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวแตรงอน ดาวราชสีห์ตัวเมีย ดาวครุฑ ดาวช้างตัวเมีย ดาวแตรทอง ดาวแรดตัวผู้ และกล่าวว่ามีดาวจำนวน 5 ดวง และ ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองโบราณนคร

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวอุตตราสาฒะคือ ดาว “ Sigma-Sagittarii “ ในกลุ่มดาวราศีธนู ( Sagittarius ) มีชื่อเฉพาะว่า “ Nunki “ มาจากภาษาบาบิโลเนีย มีความหมายว่า “ ดาวแห่งการสรรเสริญท้องทะเล “ การปรากฏดาวดวงนี้บนท้องฟ้าทำให้ทราบว่าในไม่ช้าจะปรากฏกลุ่มดาวที่เกี่ยวกับน้ำ เช่น กลุ่มดาวแพะทะเล กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ กลุ่มดาวปลา ตลอดจนกลุ่มดาวปลาวาฬยักษ์ตามขึ้นมา ดาว “ Sigma-Sagittarii “ มีชื่อเฉพาะอีกชื่อหนึ่งว่า “ Sadira “ ชาวจีนโบราณกำหนดดาวดวงนี้กับดาวข้างเคียงอีก 3 ดวงเป็นรูป “ ทัพพีตักข้าว “ บางทีกำหนดเป็นรูป “ หิ้งบูชา”
ดาวฤกษ์สว่าง 5 ดวงที่อยู่บริเวณนี้ในแผนที่ดาวสากลได้แก่
ดาว Sigma-Sagittarii
ดาว Tau-Sagittarii
ดาว Phi-Sagittarii
ดาว Zeta-Sagittarii
ดาว Lambda-Sagittarii

ทางดาราศาสตร์ ดาว “Sigma-Sagittarii “ เป็นดาวสีน้ำเงิน ความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 1,000 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 300 ปีแสง หรือ 2,838 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

22. สราวณะ
สราวณะ อยู่ในราศีมกร ในตำราดูดาว ว่าภาษาล้านนาใช้ชื่อ ดาวคานหามผี แต่ในแผนที่ตารางดาวล้านนาระบุชื่อว่า ดาวขอไล่ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ดวงเรียงกันเป็นรูปเหมือนศอกคู้ ซึ่งในภาษาไทยกลางเรียกชื่อว่า ดาวหลักชัย ดาวหามผี ดาวโลง ดาวคนหามหมู ดาวคนจำศีล ดาวฤาษี ดาวหลักชัยฤาษี และ ถือเป็นดาวประจำเมืองอักโขเพณี ( ไม่ทราบว่าตรงกับเมืองใด )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวสราวณะ คือ ดาว “ Alpha-Aquilae “ ในกลุ่มดาวนกอินทรี ( Aquila ) ซึ่งอยู่ติดกับกลุ่มดาวราศีมกร ( Capricornus ) ดาวดวงนี้มีชื่อเฉพาะว่า “ อัลแทร์ ( Altair ) “ มีตำแหน่งอยู่บริเวณที่เป็น “ ตานกอินทรี “ มีความสว่างปรากฏมากที่สุดในกลุ่มดาวนี้ และเป็นลำดับที่ 12 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า

ดาวทั้ง 4 ดวงที่เรียงกันเป็นรูปเหมือนศอกคู้ ในแผนที่ตารางดาวล้านนาจะสอดคล้องกับดาวสว่างบริเวณกลุ่มดาวนกอินทรี 4 ดวงได้แก่
ดาว Alpha-Aquilae
ดาว Beta-Aquilae
ดาว Gamma-Aquilae
ดาว Delta-Aquilae

ทางดาราศาสตร์ ดาว “Alpha-Aquilae “ เป็นดาวสีขาว มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 1.5 เท่า มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 9 เท่า และอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 16 ปีแสง หรือ 151 ล้านล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวฤกษ์สว่างที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเรา

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

23. ธนิษฐะ หรือ ธนิฏฐะ
ธนิษฐะ หรือ ธนิฏฐะ ในตารางดาวล้านนาระบุว่าอยู่ในราศีมกร และมีชื่อในภาษาล้านนาว่า ดาวไซ หรือ ดาวเพียง แต่ในตำราดูดาวว่าชื่อ ดาวกีบกวาง และให้อยู่ในราศีกุมภ์ ภาษาไทยกลางเรียกว่า ดาวกา ดาวไซ ดาวยักษ์ ดาวช้างใหญ่ ดาวพาทย์ฆ้อง ดาวเศรษฐี กลุ่มดาวนี้กำหนดให้มีดาวจำนวน 4 ดวงเรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และ ถือเป็นดาวประจำเมืองราชคฤหะ ( ราชคฤ )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวธนิฏฐะ คือ ดาว “ Beta-Delphini “ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างปรากฏเป็นลำดับที่ 2 ในกลุ่มดาวปลาโลมา ( Delphinus ) ซึ่งอยู่ติดกับกลุ่มดาวราศีมกร(Capricornus ) และกลุ่มดาวราศีกุมภ์ ( Aquarius ) กลุ่มดาวปลาโลมานี้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ของกรีกและจีนมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แม้ในบันทึกทางศาสนาคริสต์ของฮิบรูก็กล่าวถึงกลุ่มดาวนี้ไว้ด้วย ชาวอาหรับกำหนดสัญญลักษณ์ของกลุ่มดาวนี้เป็นรูป “ อูฐ “ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า “ Al Ka’ud “

เมื่อเทียบดาว 4 ดวงที่เรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนในแผนที่ตารางดาวล้านนากับแผนที่ดาวสากลบริเวณกลุ่มดาวปลาโลมา ดาวทั้ง 4 ดวงนั้น น่าจะเป็นดาวสว่างในกลุ่มดาวปลาโลมา ซึ่งมีการวางตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เช่นกัน คือ
ดาว Alpha-Delphini
ดาว Beta-Delphini
ดาว Gamma-Delphini
ดาว Delta-Delphini

ทางดาราศาสตร์ ดาว “Beta-Delphini “ เป็นดาวสีเหลือง มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 36 เท่า และอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 125 ปีแสง หรือ 1,183 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

24. ศตภิษะ หรือ สัตตพิสะ
ศตภิษะ หรือ สัตตพิสะ อยู่ในราศีกุมภ์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวช้างน้อย ในตารางดาวล้านนากำหนดหมายเลขดาวฤกษ์กลุ่มนี้ไว้ และมีรูปดาว 3 ดวง แต่ไม่ได้ระบุชื่อไว้ด้วย ชื่อภาษาไทยกลางคือ ดาวมังกร ดาวพิมพ์ทอง ดาวพิณทอง ดาวเศรษฐี ดาวงูเลื้อย ดาวยักษ์ และ ถือเป็นดาวประจำเมืองโกสัมพี

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวศตภิษะ คือ ดาว “ Lambda-Aquarii “ ในกลุ่มดาวราศีกุมภ์ ( Aquarius ) ซึ่งเป็นดาวที่มีความสว่างปรากฏไม่มาก แต่มีตำแหน่งอยู่บนเส้นสุริยะวิถีพอดี ลักษณะการวางตัวของดาวดวงนี้กับดาวสว่างข้างเคียงในแผนที่ดาวสากลแตกต่างจากลักษณะการวางตัวของดาว 3 ดวงที่ระบุไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา จึงไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ดาว 3 ดวงดังกล่าวคือดาวดวงใดบ้างในแผนที่ดาวสากล
ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Lambda-Aquarii “ เป็นดาวสีแดง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์หลายเท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 231 ปีแสง หรือ 2,190 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

25. ปุพพภัทระ
ปุพพภัทระ อยู่ในราศีกุมภ์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวพิดานหลวง ซึ่งมีจำนวน 4 ดวง ตรงกับดาวหัวเนื้อทรายซึ่งมีดาวอยู่ 2 ดวง ( ในตารางดาวล้านนากำหนดให้กลุ่มดาวนี้เป็นกลุ่มดาวที่ 26 ) ชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวราชสีห์ผู้ ดาวแรดผู้ ดาวหัวเนื้อทราย ดาวเพดาน และ ถือเป็นดาวประจำเมืองอินทปัตตนคร ( เมืองขอม )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวปุพพภัทระคือ ดาว “ Alpha-Pegasi “ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างที่สุดในกลุ่มดาวม้าปีก ( Pegasus ) ซึ่งมีอาณาเขตติดกับกลุ่มดาวราศีกุมภ์ ( Aquarius ) ดาวดวงนี้มีชื่อเฉพาะว่า “ Markab “ หรือ “ Marchab “ มาจากภาษาอาหรับมีความหมายว่า “ อานม้า “ บางครั้งก็เรียก “ Matn al Faras “ มีความหมายว่า “ ไหล่ของม้า “ ดาวทั้ง 2 ดวงที่ระบุในแผนที่ตารางดาวล้านนาสำหรับกลุ่มนี้น่าจะเป็น
ดาว Alpha-Pegasi
ดาว Beta-Pegasi

ทางดาราศาสตร์ ดาว “Alpha-Pegasi “ เป็นดาวฤกษ์ที่มีสีขาว มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 95 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 110 ปีแสง หรือ 1,040 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

26. อุตตรภัทระ
อุตตรภัทระ อยู่ในราศีมีน มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวแม่เนื้อ แต่ในตารางดาวล้านนาไม่ปรากฏชื่อของกลุ่มดาวนี้ มีชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวราชสีห์ตัวเมีย ดาวแรดเมีย ดาวไม้เท้า ดาวใบเสา และดาวเพดาน ซึ่งประกอบด้วยดาว 2 ดวง ถือเป็นดาวฤกษ์ประจำเมืองกบิลพัสถุ์

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวอุตตรภัทระ คือ ดาว “ Gamma-Pegasi “ ในกลุ่มดาวม้าปีก ( Pegasus ) และดาว “ Alpha-Andromeda “ ในกลุ่มดาวอันโดรเมดา ( Andromeda ) ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ใกล้กลุ่มดาวราศีมีน ( Pisces )

ดาว “ Gamma-Pegasus “ มีชื่อเฉพาะว่า “ Algenib “ มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า “ ปีก “ เป็นดาวสีน้ำเงิน มีความสว่างปรากฏเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มดาวม้าปีก มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 1,900 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 570 ปีแสง หรือ 5,392 ล้านล้านกิโลเมตร ส่วนดาว “ Alpha-Andromeda “ มีชื่อเฉพาะว่า “ Alpheratz “ เดิมเคยเป็นดาวที่จัดอยู่ในกลุ่มดาวม้าปีก ในแผนที่ดาวสากลในปัจจุบันกำหนดให้อยู่ในกลุ่มดาวอันโดรเมดา เป็นดาวที่มีความสว่างปรากฏมากที่สุดในกลุ่มดาวนี้ มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 160 เท่า มีสีขาวแกมน้ำเงิน อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 120 ปีแสง หรือ 1,135 ล้านล้านกิโลเมตร

ทั้งดาว “ Gamma-Pegasi “ และ “ Alpha-Andromeda “ ซึ่งเป็นดาว 2 ดวงที่ระบุในกลุ่มดาวอุตตภัทระ ซึ่งเมื่อรวมกับดาว “ Alpha-Pegasi “ และ “ Beta-Pegasi “ ในกลุ่มดาวปุพพภัทระ จะมีลักษณะการวางตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งมีชื่อว่า “ ดาวสี่เหลี่ยมจัตุรัสใหญ่ ( Great Square ) “ ในแผนที่ดาวสากล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

27. เรวตี
เรวตี อยู่ในราศีมีน มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวปลาซะเพียน ซึ่งในแผนที่ตารางดาวล้านนาเขียนเป็นดาวจำนวน 10 ดวงเรียงกันเป็นวงรี ชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวปลาตะเพียน ดาวหญิงมีครรภ์ ดาวนาง ดาวนางพญา และ ถือเป็นดาวฤกษ์ประจำเมืองกุสินารา

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวเรวตี คือ ดาว “ Zeta-Piscium “ ในกลุ่มดาวราศีมีน ( Pisces ) ดาวดวงนี้เป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างปรากฏน้อย แต่ยังมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีสีแดง และมีขนาดจริงค่อนข้างใหญ่

ดาวทั้ง 10 ดวงที่ระบุในแผนที่ตารางดาวล้านนา มีลักษณะเป็นแนวยาว 2 แนว แนวละ 5 ดวง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการวางตัวของดาวสว่างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าของกลุ่มดาวราศีมีนทั้งกลุ่มในแผนที่ดาวสากล

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
ที่มา:
http://www.astroschool.in.th/public/story/lannamenu6_ans_inc.php
34
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 23, 2011, 03:01:54 PM »
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชกาลที่ 1 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด จุลศักราช 1166 เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 (ขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร) และเป็นโอรสพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา 27 ปี ขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีกรณียกิจหลายด้านซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมาในอนาคต ทรงศึกษาภาษามคธ (บาลี) จนสามารถแปลพระปริยัติธรรมได้อย่างแม่นยำ ทรงปฏิรูปพระพุทธศาสนาด้วยการตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย การเสด็จออกธุดงค์ซึ่งทำให้ทรงพบหลักศิลาจารึก

ทรงใช้เวลาศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษ รวมทั้งศาสตร์แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การเมือง วรรณคดี ปรัชญา ไปจนถึง เรขาคณิต ตรีโกณมิติ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ หลักฐานอย่างหนึ่งที่ทรงนำความรู้เรื่องดาราศาสตร์มาใช้กับการกำหนดวันสำคัญทางศาสนาซึ่งมีขึ้นตามปฏิทินจันทรคติ คือ พระราชาธิบายเรื่องอธิกมาส อธิกวาร และปักขคณนาวิธี ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบใหม่ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง มีความแม่นยำถูกต้องตรงกับดวงจันทร์บนท้องฟ้ายิ่งกว่าปฏิทินที่ใช้อยู่เดิม

ความสนพระทัยในดาราศาสตร์มองเห็นได้จากการสั่งซื้อตำราดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์ และแผนที่ดาว จากต่างประเทศ เครื่องราชบรรณาการส่วนมากเป็นหนังสือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ลูกโลก เทอร์มอมิเตอร์ เครื่องวัดความดันอากาศ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ถวายกล้องโทรทรรศน์ ซึ่ง เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตแห่งสหราชอาณาจักร ได้บันทึกว่า "กล้องที่นำมาถวายมีคุณภาพต่ำกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่ทรงมีอยู่แล้ว"
เซอร์ จอห์น เบาริง ยังเขียนเล่าไว้ว่า ห้องส่วนพระองค์เป็นห้องที่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับห้องนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มั่งคั่งในทวีปยุโรปสมัยนั้น หมอเหา (เฮาส์) ได้บันทึกรายละเอียดไว้จากที่เขาได้เข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ว่า "ข้าพเจ้าได้เหลียวมองไปรอบๆ ห้อง และเห็นพระคัมภีร์ไบเบิลของสมาคม เอ. บี. และพจนานุกรมเวบสเตอร์ตั้งเคียงบนชั้นบนโต๊ะเขียนหนังสือ นอกจากนั้นยังมีตารางดาราศาสตร์และการเดินเรือวางอยู่ด้วย ส่วนข้างบนอีกโต๊ะหนึ่งมีแผนผังอุปราคาที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไป มีรายการคำนวณเขียนไว้ด้วยดินสอ นอกจากนั้นยังมีแบบลอกแผนที่ของนายชานเดลอร์วางอยู่ด้วย"
ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2394 นั้นเป็นยุครุ่งเรืองของลัทธิจักรวรรดินิยม ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสแผ่อิทธิพลครอบคลุมประเทศต่างๆ ในแถบนี้ แต่สายพระเนตรที่กว้างไกลและพระปรีชาสามารถด้านภาษาและการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้สยามเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รอดพ้นจากการการเข้ายึดครอง

ดาวหาง
ตลอดพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีดาวหางหลายดวงมาปรากฏเหนือท้องฟ้า ที่สว่างมากมีอยู่ 3 ดวง ดวงแรกชื่อดาวหางฟลูเกอร์กูส มาให้เห็นขณะมีพระชนมายุ 8 พรรษา ดาวหางดวงที่ 2 ชื่อ ดาวหางโดนาติ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนในปี พ.ศ. 2401 มีขนาดใหญ่สวยงาม ขณะนั้นคนไทยและชาวตะวันออกยังมีความเชื่อเรื่องโชคลางและภัยพิบัติจากสิ่งแปลกประหลาดในท้องฟ้า โดยเฉพาะดาวหางที่เป็นเหมือนสัญญาณบอกเหตุร้าย
ทรงมีพระราชนิพนธ์ประกาศเตือนไม่ให้เกิดการแตกตื่น ชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก" ตอนหนึ่งว่า "ดาวดวงนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวอย่างนี้มีคติแลทางที่ดำเนินยาวไปในท้องฟ้าไม่เหมือนดาวพระเคราะห์อื่น ดาวพระเคราะห์ทั้งปวงเป็นของสัญจรไปนานหลายปีแล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศข้างนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกันแลคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่ามิใช่จะได้เห็นในพระนครนี้แลเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิได้ ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมือง ทั่วพิภพอย่างได้เห็นนี้แล"

ดาวหางดวงที่ 3 ชื่อดาวหางเทบบุท มาเยือนโลกในปี พ.ศ. 2404 และมีความสว่างมากกว่าดาวหางโดนาติเสียอีก ทรงพระราชนิพนธ์ "ประกาศดาวหางปีระกาตรีศก" พร้อมทั้งปัดเป่าความงมงายที่มีอยู่ในสังคม ตอนหนึ่งว่า "ผู้ใดปฏิบัติตัวไม่ดีไม่มียาที่จะแก้ป้องกันกินทาซึมซาบอยู่กับกาย เป็นผู้ไม่สบายมีโรคภัยเล็กน้อยที่เป็นช่องจะให้พิษเช่นนั้น แล่นเข้าไปในกายให้เกิดเจ็บไข้ได้ความไข้ก็ต้องแก่ผู้นั้นไม่เลือกหน้าว่าใคร ก็ดาวหางมาบนฟ้าโกรธขึ้งหึงษาพยาบาทอาฆาตแค้นอะไรอยู่กับเจ้านาย มาแล้วจะได้มาตรงใส่เอาเจ้านายทีเดียวไม่เห็นจริงด้วย"

เวลามาตรฐาน
พระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การสถาปนาเวลามาตรฐานของประเทศ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดให้เส้นลองจิจูดที่ผ่านหอดูดาวกรีนิชในอังกฤษเป็นเส้นเมริเดียนหลักของโลก แต่กลับมีหลักฐานว่าพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงใช้การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์สำหรับกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย โปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนย ซึ่งเป็นพระที่นั่งทรงยุโรปสูง 5 ชั้น บนยอดเป็นหอนาฬิกามีนาฬิกาขนาดใหญ่ทั้งสี่ด้าน แต่งตั้งพนักงานที่คอยวัดตำแหน่งดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และดวงจันทร์ในเวลากลางคืน เพื่อปรับนาฬิกาให้เที่ยงตรงอยู่เสมอ

สุริยุปราคาเต็มดวง
เหตุการณ์ที่เป็นที่กล่าวขวัญและเป็นที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ คือ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 หลักฐานจากประกาศหลายฉบับแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาการคำนวณเพื่อพยากรณ์ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลามาก ไม่ได้คำนวณได้รวดเร็วอย่างในปัจจุบัน
ทรงประกาศผลการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ล่วงหน้า 2 ปี และเชิญคณะสำรวจทั้งจากฝรั่งเศส อังกฤษ และสิงคโปร์ เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ อ.เมืองฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดวงอาทิตย์ถูกดวง

จันทร์บังมิดดวงอยู่นานถึง 6 นาที 46 วินาที แต่แล้วการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้นก็ทำให้พระองค์ทรงประชวรเนื่องจากได้รับเชื้อไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม

ในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 ว่าเป็น "King of Siam's Eclipse"

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/kingmongkut_bicentennial/kingmongkut_bicentennial.html
35
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยย้อนอดีตไปได้ประมาณกว่า 300 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีคณะราชทูตจากฝรั่งเศส อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปีพุทธศักราช 2228

ในระหว่างปีพุทธศักราช 2228 - 2230 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคณะบาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์ไทยในประเทศไทย มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย
นอกจากนี้ในวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2231สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่พาดผ่านแม่น้ำกฤษณะในประเทศอินเดีย พม่า จีน ไซบีเรีย ไปสิ้นสุดในทวีปอเมริกา สำหรับประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนดังภาพเขียนโดยชาวฝรั่งเศส

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/royal/narai.html
36
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ดาราศาสตร์ในประเทศไทย
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 23, 2011, 02:05:29 PM »
ดาราศาสตร์ในประเทศไทย
ประเทศไทยมีการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์มาตั้งแต่พ.ศ. 2228 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยบาทหลวงชาร์ด คณะเจซูอิด มีหลักฐานเป็นภาพแกะไม้ชาวฝรั่งเศส โดยเป็นภาพสมเด็จพระนารายณ์ทรงกล้องทอดพระเนตรจันทรุปราคา ณ พระตำหนักชุบศร จ.ลพบุรี

หอดูดาวแห่งแรกของประเทศไทย
หอดูดาวแห่งนี้ตั้งอยู่ที่วัดสันเปาโล จ.ลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางสนพระทัยด้านดาราศาสตร์และโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

พระบิดาแห่งดาราศาสตร์ไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบิดาแห่งดาราศาสตร์ไทยตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรดาวหางถึง 3 ดวงคือ ดาวหางฟลูเกอร์กูส (พ.ศ. 2355) ดาวหางโดนาติ(พ.ศ. 2402) และดาวหางเทบบุ(พ.ศ. 2402) พระองค์โปรดให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง จ.เพชรบุรี ชื่อว่า ชัชวาลเวียงชัย

เวลามาตรฐานของไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรวจวัดความสูงของดวงอาทิตย์ และทรงคำนวณทางดาราศาสตร์ทุกวัน พระองค์ทรงสร้างนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานกรุงเทพฯ เฉลี่ย(Bangkok Mean Time) ได้อย่างถูกต้องก่อนจะมีการใช้เวลามาตรฐานของกรีนิชเสียอีก
ปฏิทินอันแรกของโลก
ปฏิทินนี้เป็นปฏิทินทางจันทรคติ สร้างข้นโดยการสังเกตดวงจันทร์ 1 เดือน มี 29 ½ วัน สร้างขึ้นโดยพระชาวซูเมอเรียน ในดินแดนเมโสโปเตเมีย (อิรักในปัจจุบัน) ปฏิทินนี้มีหลักฐานปรากฎเป็นอักษรลิ่มบนดินเหนียวที่เผาแล้วเก็บไว้เป็นอย่างดี

แผนที่ดาวเก่าแก่ที่สุด
แผนที่ดาวที่เก่าแก่ที่สุดนี้มีอายุประมาณ 2670 ปี เป็นของพระเจ้าเอซาฮัดดอน กษัตริย์ชนเอ่าอัสซีเรีย ในแผนที่จะบอกตำแหน่งของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวพุธ ดาวเสาร์ กลุ่มดาวแกะ และกลุ่มดาวแมงป่อง

การสอนดาราศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
ในการศึกษาทางดาราศาสตร์ได้เคยรุ่งเรืองมากในอาณาจักรกรีก (ประเทศกรีซในปัจจุบัน) จนมีการเปิดสอนในมหาวิทยาลัยครั้งแรกในปี พ.ศ. 57-654 หรือเมื่อประมาณ 2000 ปีที่แล้ว แต่น่าเสียดายที่ต้องมาหยุดชะงักไปในช่วงปี พ.ศ. 743-1543 เนื่องจากสงคราม และได้มาเปิดสอนอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยแบกแดด ประเทศอิรัก

กล้องดูดาวกล้องแรกของโลก
กล้องดูดาวนี้สร้างขึ้นโดยกาลิเลโอ เมื่อปี พ.ศ. 2152 มีกำลังขยายเพียง 5-6 เท่า เท่านั้น กล้องตัวนี้ทำให้ตรวจพบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีถึง 4 ดวง พบจุดมืดบนดวงอาทิตย์และพบแถบสว่างที่พาดผ่านท้องฟ้าหรือทางช้างเผือกได้

ทำไมดาวจึงกระพริบแสง
แสงจากดวงดาวต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลก และเกิดการหักเกเลี้ยวเบนจากแนวเดิม ซึ่งจะหักเหในมุมที่ต่างกันหลายๆมุม ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของบรรยากาศโลกซึ่งไม่คงที่ แสงจึงเข้าตาเราทันทีจากหลายมุมหลายทิศทาง เราจึงเห็นดาวงดาวระยิบระยับหรือกะพริบแสงนั่นเอง
 
ทำไมดาวเหนือจึงช่วยนำทางได้
ดาวเหนือเป็นดาวที่บอกให้เราทราบว่าทิศเหนืออยู่ตรงไหน แล้วดาวดวงอื่นล่ะจะบอกทิศได้หรือเปล่า คำตอบคือไม่ได้ เพราะตำแหน่งของดาวเหนือนั้นจะอยู่ในแนวเดียวกับแกนขั้วโลก ด้านเหนือพอดี เราจึงเห็นดาวเหนืออยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา ขณะที่ดาวดวงอื่นจะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ
 
เอกภพใหญ่แค่ไหนนะ
คำถามนี้บอกได้เลยว่าไม่มีใครรู้เลยว่าเอกภพกว้างใหญ่แค่ไหน เรารู้แต่เพียงว่าเอกภพประกอบด้วยดาราจักรเป็นล้านๆดาราจักร เมื่อนักดาราศาสตร์ได้พัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก็ค้นพบดาราจักรที่อยู่ไกลถึง 15000 ล้านปีแสง
 
ทำไมต้องวัดระยะทางเป็นปีแสง
ก็เพราะว่าระยะทางระหว่างดวงดาวแต่ละดวงนั้นไกลมาก การวัดระยะทางเป็นปีแสงจะช่วยให้เรียกได้ง่ายขึ้น 1 ปีแสงเท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในอวกาศเป็นเวลา 1 ปี ถ้าคิดเป็นระยะทางก็ประมาณ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร ซึ่งคำนวณจากแสงเดินทางได้ไกล 300000 กิโลเมตร/นาที
 
1 ปีดาราจักรนานแค่ไหน
1 ปีดาราจักร คือเวลาที่ระบบสุริยะเดินทางครบ 1 รอบโดยจะหมุนรอบศูนย์กลางของดาราจักร ซึ่งจะใช้เวลา 225 ล้านปี และพบว่าระบบสุริยะพึ่งจะหมุนรอบดาราจักรได้เพียงรอบเดียวเท่านั้น เมื่อครบ 1 ปีดาราจักรโลกเราอยู่ในยุคไทรแอสสิก เป็นยุคที่เริ่มมีสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นต้นแบบของสิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดขึ้น

ดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทั้ง 9 ดวงนั้น มีเพียง 4 ดวงเท่านั้นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี เพราะอยู่ใกล้โลกมากและบางดวงก็มีขนาดใหญ่ ดาวศุกร์เป็นดาวที่มองเห็นได้ง่ายที่สุด และปรากฎสว่างที่สุดอีกด้วย

ที่มา:
http://www.rmutphysics.com/charud/astronomy/index1.htm
37
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / กลุ่มดาวของไทย 27 กลุ่ม - 2
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 23, 2011, 01:22:11 PM »
11. ปุพพผลคุณ หรือ ปุพพผลคุนี
ปุพพผลคุณ หรือ ปุพพผลคุนี อยู่ในราศีสิงห์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวพิดาน หรือ ดาวพิดานน้อย ตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวเพดานหน้า ดาวงูตัวเมีย หรือ ดาวแรดตัวผู้ ประกอบด้วยกลุ่มดาวจำนวน 2 ดวง ( ดาวเพดานหน้า ) หรือ จำนวน 5 ดวง ( งูตัวเมีย ) แต่ในแผนที่ตารางดาวล้านนาระบุว่า ดาวพิดานน้อย นี้มีจำนวน 4 ดวงเรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองมิดิลานคร

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวปุพพผลคุณ คือ ดาว “ Delta-Leonis” ในกลุ่มดาวราศีสิงห์ มีชื่อเฉพาะว่า “ Zozma “ มาจากภาษากรีกมีความหมายว่า “ เข็มขัด ” หรือ “ สายวัด “ ทางอาหรับเรียกว่า “ Al Tha al Asad “ มีความหมายว่า “ หลังสิงห์ “ บางครั้งเรียกว่า “ Al Zubrah “ ซึ่งมีความหมายว่า “ อานม้า “ ทางจีนเรียก “ Shang Siang “ แปลว่า “ เสนาบดีแห่งแคว้น “ ชาวบาบิโลเนีย เรียก “ Delta-Leonis “ ร่วมกับ ดาว “ Theta-leonis “ ว่า “ Kakkab Kua “ หมายถึง “ ดาวแห่งคำทำนายของเทพเจ้า “

เมื่อตรวจสอบดาวจำนวน 4 ดวง ที่เรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากแผนที่ตารางดาวล้านนาเทียบกับแผนที่ดาวสากล ดาวทั้ง 4 ดวงนี้น่าจะเป็น
ดาว Delta-Leonis
ดาว Theta-Leonis
ดาว Beta-Leonis
ดาว 93-Leonis

ซึ่งเป็นส่วนที่เป็น “ หลังสิงห์ “
ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Delta-Leonis “ เป็นดาวที่มีสีขาว มีความสว่างปรากฏเป็นอันดับที่ 4 ของกลุ่มดาวราศีสิงห์ แต่มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 50 เท่า มีระยะห่างจากโลกประมาณ 80 ปีแสง หรือ 757 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

12. อุตตรผลคุณ หรือ อุตรผลคุนี
อุตตรผลคุณ หรือ อุตรผลคุนี อยู่ในราศีกันย์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวหัวเนื้อตัวแม่ ในแผนที่ตารางดาวล้านนาระบุแต่ชื่อที่เป็นภาษาสันสกฤต แต่ไม่ได้ระบุหมายเลข และชื่อภาษาล้านนา รวมทั้งการเขียนรูปกลุ่มดาวไว้แต่อย่างใด กลุ่มดาวนี้ภาษาไทยกลางว่า ดาวงูเหลือม ดาวเพดานหลัง หรือ ดาวแรดตัวเมีย ประกอบด้วยกลุ่มดาวจำนวน 2 ดวง หรือ 8 ดวง ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองจำปานคร

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากล และที่ระบุไว้ในคัมภีร์สุริยะสิทธานตะ ( Surya-Siddhanta ) ของกลุ่มดาวอุตตรผลคุณ คือ ดาว “ Beta-Leonis “ ในกลุ่มดาวราศีสิงห์ ซึ่งมีตำแหน่งบนแผนที่ดาวติดกับกลุ่มดาวราศีกันย์ตามที่อ้างอิงไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา ดาว “ Beta-Leonis “ มีชื่อเฉพาะว่า “ ดีเนปโบลา ( Denebola ) “ ซึ่งมาจากภาษาอาหรับว่า “ Al Dhanab al Asad “ มีความหมายว่า “ หางสิงห์ “ ชาวจีนถือเอาดาวดวงนี้พร้อมกับดาวข้างเคียงอีก 5 ดวงเป็นกลุ่มดาวที่เรียกว่า “ Wu Ti Too “ มีความหมายว่า “ บัลลังก์แห่งจักรพรรดิ์ทั้งห้า “

ดาวทั้ง 2 ดวง หรือ 8 ดวงของกลุ่มดาวอุตตราผลคุณ จึงน่าจะเป็นดาวสว่างบริเวณ “ หางสิงห์ “ ของกลุ่มดาวราศีสิงห์ ซึ่งอาจรวมถึงดาวสว่างบางดวงในกลุ่มดาวราศีกันย์ด้วย

ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Beta-Leonis “ เป็นดาวสีขาว มีความสว่างปรากฏเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มดาวราศีสิงห์ แต่มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 20 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 43 ปีแสง หรือ 407 ล้านล้านกิโลเมตร คัมภีร์สุริยสิทรานตะ ระบุไว้ว่ากลุ่มดาวอุตตราผลคุณ ประกอบด้วย ดาว “ Beta-Leonis “ และ ดาวอีก 4 ดวงบริเวณหัวของหญิงสาวในกลุ่มดาวราศีกันย์ ได้แก่
ดาว Xi-Virginis
ดาว Nu-Virginis
ดาว Pi-Virginis
ดาว Omicron-Virginis

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

13. หัสตะ หรือ หัตถะ
หัสตะ หรือ หัตถะ ในตำราดูดาวฤกษ์ 27 ตัว ว่าชื่อ “ ดาวช้างหลวง “ มีจำนวน 5 ดวง อยู่ในราศีกันย์ แต่ในตารางดาวระบุว่า “ ดาวช้างหลวง “ นี้อยู่กลางราศี หรืออยู่กลางกลุ่มดาวทั้งหลาย และมีจำนวนดาว 5 ดวงเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเป็นดาวคนละกลุ่มกัน ในแผนที่ตารางดาวล้านนาระบุไว้ว่า ดาวฤกษ์กลุ่มที่ 13 นี้ ชื่อ ดาวศอกคู้ อยู่ในราศีกันย์ และ มีจำนวน 5 ดวงเรียงกันมีลักษณะคล้ายศอกคู้ภาษาไทยกลางเรียกดาวหัสตะว่าเป็น ดาวฝ่ามือ ดาวศอกคู้ ดาวหัวช้าง ดาวช้างถือเป็นกลุ่มดาวประจำเ มืองธัญญวดี ( เมืองยะไข่ )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวหัสตะ คือ ดาว “ Delta-Corvi “ ในกลุ่มดาวนกกา ( Corvus ) ซึ่งมีอาณาเขตต่อกับกลุ่มดาวราศีกันย์ ดาวดวงนี้มีชื่อเฉพาะว่า ดาว “ Algorab “ ดาวทั้ง 5 ดวงตามที่ระบุในแผนที่ตารางดาวล้านนานั้น
ดาว 3 ดวงบนน่าจะเป็น
ดาว Alpha-Corvi
ดาว Epsilon -Corvi
ดาว Gamma-Corvi
ดาว 2 ดวงล่างน่าจะเป็น
ดาว Beta -Corvi
ดาว Delta-Corvi

ซึ่งดาวทั้ง 5 ดวงนี้สามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า และมีลักษณะการวางตัวคล้ายกับที่ระบุไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา

ทางดาราศาสตร์ ดาว Delta-Corvi เป็นสีขาว มีความสว่างปรากฏเป็นอันดับที่ 4 ของกลุ่มดาวนกกา แต่มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 75 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 125 ปีแสง หรือ 1,183 ล้านล้านกิโลเมตร เมื่อมองผ่านกล้องดูดาวขนาดเล็กจะสามารถมองเห็นเป็นดาวคู่ได้อย่างชัดเจน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

14. จิตรา หรือ จตระ
จิตรา หรือ จตระ อยู่ในราศีตุลย์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวไต้ไฟหลวง แต่ในตารางดาวล้านนาเขียนว่า ไต้ไฟน้อย ตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวตาจระเข้ ดาวต่อมน้ำ ดาวไต้ไฟ ดาวไฟ เพราะมีดาวสุกใสเพียงดวงเดียว แต่ในตารางดาวนั้น กลุ่มดาวจิตราประกอบด้วยดาวจำนวน 2 ดวง วางตัวในแนวดิ่ง ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองเวสาลี

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวจิตรา คือ ดาว “ Alpha-Virginis “ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างสุกใสที่สุดในกลุ่มดาวราศีกันย์ และมีความสว่างปรากฏมากเป็นลำดับที่ 16 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า มีชื่อเฉพาะว่า “ สไปกา ( Spica ) “ มาจากภาษาละตินว่า “ Spicum “ ซึ่งหมายถึง “ รวงข้าวที่หญิงสาวกำไว้ในมือซ้าย “ คนไทยเรียกดาวดวงนี่ว่า “ ดาวรวงข้าว “ ทางอาหรับเรียก “ Al Simak al A’zal “ มีความหมายว่า “ ผู้ไม่ถืออาวุธ “ ทางเปอร์เซีย ซีเรีย และตุรกี ก็เรียกดาวดวงนี้ในความหมายที่แปลว่า “ รวงข้าว “ เช่นเดียวกัน ทางอินเดียเรียกดาวดวงนี้ว่า “ กันยา ( Kanya ) “ มีความหมายว่าหญิงสาวและพระมารดาของพระกฤษณะ ชาวกรีกและชาวโรมันกำหนดให้ดาวดวงนี้เป็นสัญลักษณ์ของเทพธิดาแห่งการเจริญงอกงามของพืชพรรณไม้
ดาวสว่างดวงหนึ่งที่อยู่ใกล้ดาว “ Alpha-Virginis “ คือ ดาว “ Gamma-Virginis “ ซึ่งน่าจะเป็นดาวอีกดวงหนึ่งในกลุ่มดาวจิตราที่ระบุไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา

ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Alpha-Virginis “ เป็นดาวสีน้ำเงิน มีความสว่างปรากฏมาก และมีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 2,800 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 275 ปีแสง หรือ 2,600 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

15. สวาติ หรือ สวาสติ
สวาติ หรือ สวาสติ อยู่ในราศีตุลย์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวไต้ไฟน้อย แต่ในตารางดาวล้านนาเขียนว่า ดาวไต้ไฟหลวง ตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวกระออมน้ำ ดาวช้างพัง ดาวงูเหลือม ดาวดวงแก้ว มีดาวเรียงกัน 5 ดวง ( บางตำราว่า 7 ดวง ) ในตารางดาวระบุว่า ดาวในกลุ่มดาวนี้มี 2 ดวงวางตัวในแนวดิ่ง ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองมุลละเขิง ( ไม่ทราบว่าตรงกับเมืองใด )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวสวาติ คือ ดาว “ Alpha-Bootes “ ซึ่งเป็นดาวที่สว่างสุกใสที่สุดในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ( Bootes ) และมีความสว่างปรากฏมากเป็นลำดับที่ 4 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า ดาว “ Alpha-Bootes “ มีชื่อเฉพาะว่า “ อาร์คตุรุส ( Arcturus ) “ คนไทยเรียกว่า “ ดาวดวงแก้ว “ หรือ “ ดาวยอดมหาจุฬามณี “ เนื่องจากมีความสว่างมาก และมีสีออกเหลืองทองหรือส้ม คำว่า “ อาร์คตุรุส “ มีความหมายว่า “ ผู้ดูแลหมี “ และเนื่องจากดาวดวงนี้มีความสว่างมากจึงได้มีการกล่าวถึงในวรรณกรรมยุคโบราณพอสมควร ในสมัยโบราณกำหนดความหมายของดาวดวงนี้ว่า “ ผู้เฝ้า “ หรือ “ ผู้พิทักษ์ “ ชาวอาหรับกำหนดความหมายของดาวดวงนี้ว่า “ ผู้ปกป้องดูแลสวรรค์ “ ดาวฤกษ์สว่างที่อยู่ใกล้ดาว “ Alpha-Bootes “ คือ ดาว “ Eta-Bootes “ น่าจะเป็นดาวอีกดวงหนึ่งในกลุ่มดาวสวาติที่ระบุในแผนที่ตารางดาวล้านนา

ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Alpha-Bootes “ เป็นดาวสีส้ม หรือสีเหลืองทอง มีความสว่างปรากฏมาก และมีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 115 เท่า มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 25 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 37 ปีแสง หรือ 350 ล้านล้านกิโลเมตร อาจพอมองเห็นได้ในเวลากลางวันเมื่อส่องด้วยกล้องดูดาว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

16. วิสาขะ
วิสาขะ อยู่ในราศีตุลย์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวขอบด้ง หรือ ดาวขงมอน ตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวแขนนาง ดาวหนองลาด ดาวฆ้อง ดาวคันฉัตร ดาวควาย ดาวเขาควาย ประกอบด้วยกลุ่มดาวจำนวน 4 ดวง ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองจัมปานคร

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาววิสาขะ คือ ดาว “ Iota-Librae “ ในกลุ่มดาวราศีตุลย์ ( Libra ) เป็นดาวที่มีความสว่างปรากฏน้อย แต่บริเวณข้างเคียงมีดาวสว่างใกล้ ๆ 4 ดวง คือ
ดาว Alpha-Librae
ดาว Beta-Librae
ดาว Gamma-Librae
ดาว Delta-Librae

ซึ่งน่าจะเป็นดาวที่ระบุไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา
ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Iota-Librae “ เป็นดาวสีขาว แม้จะมีความสว่างปรากฏน้อย แต่มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 60 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 250 ปีแสง หรือ 2,365 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

17. อนุราธะ
อนุราธะ อยู่ในราศีพิจิก ในตำราดูดาวไม่ได้ระบุหรือเขียนภาษาล้านนาไว้ แต่ในตารางดาวล้านนาระบุว่าชื่อ ดาวจักรพระยาอิน ประกอบด้วยกลุ่มดาวจำนวน 5 ดวง มีลักษณะคล้ายแอก ชื่อภาษาไทยกลางระบุไว้คือ ดาวหงอนนาค ดาวธนู ดาวประจำฉัตร ดาวฉัตร ดาวนกยูง ดาวหน้าไม้ กลุ่มดาวนี้ประกอบด้วยดาวจำนวน 14 ดวง ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองเชตุตรนคร ( เมืองของพระเวสสันดร )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวอนุราธะ คือ ดาว “ Delta-Scorpii “ ในกลุ่มดาวราศีพิจิก ( Scorpius ) มีชื่อเฉพาะว่า “ Dschubba “ มาจากภาษาอาหรับ “ Al Jabhah “ หมายความว่า “ ส่วนหัวของแมงป่อง “ บางทีเรียกว่า “ Iklil al Akrab “ มีความหมายว่า “มงกุฏของแมงป่อง“ นอกจากดาว “ Delta-Scorpii “ แล้วดาวฤกษ์อีก 4 ดวงที่ประกอบเป็นส่วนหัวของแมงป่อง และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือ
ดาว Beta-Scorpii
ดาว Pi-Scorpii
ดาว Rho-Scorpii
ดาว Nu-Scorpii   

ซึ่งดาวฤกษ์ทั้ง 5 ดวงมีลักษณะการวางตัวคล้ายกับดาว 5 ดวงที่เขียนไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา
ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Delta-Scorpii “ เป็นดาวสีน้ำเงิน มีความสว่างปรากฏเป็นลำดับที่ 4 ในกลุ่มดาวราศีพิจิก แต่มีความสว่างจริงมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 3,300 เท่า อยู่ห่างจากโลก 590 ปีแสง หรือ 5,582 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

18. เชฏฐะ
เชฏฐะ อยู่ในราศีพิจิก ทั้งในตำราดูดาว และตารางดาวต่างไม่ระบุชื่อภาษาล้านนาของกลุ่มดาวนี้ เพียงแต่แสดงหมายเลขกำกับกลุ่มดาว และรูปวาดที่ประกอบด้วยดาว 5 ดวง ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองลังกาน้อย ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานชื่อว่า ดาวช้างใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยดาว 14 ดวง นอกจากนี้ยังมีชื่อในภาษาไทยกลางอีกว่า ดาวแพะ ดาวช้าง ดาวคอนาค ดาวงาช้าง ดาวงวงช้าง

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวเชฏฐะ คือ ดาว “ Alpha-Scorpii “ ซึ่งเป็นดาวดวงที่สว่างสุกใสที่สุดในกลุ่มดาวราศีพิจิก ( Scorpius ) มีชื่อเฉพาะว่า “ แอนทารีส ( Antares ) “ มาจากคำภาษากรีก แปลว่า “ คู่แข่งของดาวอังคาร “ อันเนื่องมาจากดาวดวงนี้มีสีแดง และสว่างคล้ายดาวอังคาร คนไทยเรียกดาวดวงนี้ว่า “ ดาวปาริชาติ “ มีตำแหน่งอยู่ตรงบริเวณที่เรียกว่า “ หัวใจแมงป่อง “ คนโรมันเรียก “ Cor Scorpionis “ ซึ่งแปลว่า “ หัวใจแมงป่อง “ เช่นเดียวกัน ชาวจีนเรียกดาวดวงนี้ว่า “ ดาวไฟ “ และเรียกกลุ่มดาวราศีพิจิกทั้งกลุ่มว่า “ มังกร แห่งทิศตะวันออก “

ดาวทั้ง 5 ดวงที่ระบุในแผนที่ตารางดาวล้านนาน่าจะเป็นดาวสว่างที่อยู่บริเวณ ดาว “ Alpha-Scorpii “ ซึ่งเป็นส่วน “ ตัวแมงป่อง “ คือ
ดาว Alpha-Scorpii
ดาว Sigma-Scorpii
ดาว Tau-Scorpii
ดาว Epsilon-Scorpii
ดาว Mu-Scorpii

ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Alpha-Scorpii “ เป็นดาวสีแดง ที่มีค่าความสว่างปรากฏมากเป็นลำดับที่ 15 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า มีความสว่างแท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 9,000 เท่า มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 700 เท่า และอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 520 ปีแสง หรือ 4,920 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

19. มูละ หรือ สัตตพิสมูละ
มูละ หรือ สัตตพิสมูละ อยู่ในราศีธนู มีชื่อในภาษาล้านนาว่า ดาวช้างน้อย ตรงกับชื่อภาษาไทยกลาง นอกจากนี้ยังมีชื่อดาวไทยอีกว่า ดาวสะดือนาค ดาวแมง ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรียงกัน 6 ดวงในตารางดาวล้านนา ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองจุฬนี ( แคว้นตังเกี๋ย )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวมูละ คือ ดาว “ Lambda-Scorpii “ ในกลุ่มดาวราศีพิจิก ( Scorpius ) บริเวณนี้เรียกว่าเป็น “ ส่วนหาง “ ของแมงป่อง ซึ่งมีอาณาเขตใกล้เคียงกับกลุ่มดาวราศีธนู ( Sagittarius ) มาก ดาวดวงนี้มีชื่อเฉพาะว่า “ Shaula “ มาจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า “ เหล็กไน “

ดาวทั้ง 6 ดวงที่ระบุในแผนที่ตารางดาวล้านนาน่าจะเป็นดาวฤกษ์สว่างบริเวณส่วนหางของดาวแมงป่อง คือ
ดาว Lambda-Scorpii
ดาว Kappa-Scorpii
ดาว Iota-Scorpii
ดาว Upsilon-Scorpii
ดาว Theta-Scorpii
ดาว Eta-Scorpii

ซึ่งมีลักษณะการวางตัวโค้งเหมือนหางแมงป่อง
ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Lambda-Scorpii “ เป็นดาวสีน้ำเงิน มีความสว่างปรากฏเป็นลำดับที่ 24 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า ความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 1,700 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 310 ปีแสง หรือ 2,933 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

20. ปุพพสาฒะ
ปุพพสาฒะ อยู่ในราศีธนู ในตำราดูดาวว่าชื่อ ดาวปลายช้าง ส่วนในแผนที่ตารางดาวล้านนาใช้ชื่อว่า ดาวชีไฟ ซึ่งมีจำนวน 4 ดวง ดาวฤกษ์นี้ตรงกับภาษาไทยกลางว่า ดาวสัปคับช้าง ดาวปากนก ดาวช้างตัวผู้ ดาวราชสีห์ผู้ ดาวแรดตัวเมีย และ ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองจันทบุรี ( เวียงจัน )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวปุพพสาฒะคือ ดาว “ Delta-Sagittarius “ ในกลุ่มดาวราศีธนู ( Sagittarius ) มีชื่อเฉพาะว่า “ Media “ หรือ “ Kaus Meridianalis “ มีความหมายว่า “ กึ่งกลางของคันธนู “ ดาวทั้ง 4 ดวงที่ระบุในแผนที่ตารางดาวล้านนาน่าจะเป็นส่วนที่เรียกว่า “ คันธนู “ ได้แก่
ดาว Delta-Sagittarius
ดาว Gamma-Sagittarius
ดาว Epsilon-Sagittarius
ดาว Eta-Sagittarius

ซึ่งมีลักษณะการวางตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ทางดาราศาสตร์ ดาว “Delta-Sagittarius “ เป็นดาวสีแดง มีความสว่างปรากฏเป็นลำดับที่ 4 ของกลุ่มดาวราศีธนู ความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 60 เท่า อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 85 ปีแสง หรือ 804 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
ที่มา:
http://www.astroschool.in.th/public/story/lannamenu6_ans_inc.php

38
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / กลุ่มดาวของไทย 27 กลุ่ม - 1
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 23, 2011, 01:03:37 PM »
1. อัศวินี หรือ อัสสวรณี
อัศวินี หรือ อัสสวรณีอยู่ในราศีเมษ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวม้าตก หรือ ม้าหางหอน ซึ่งดาวในภาษาไทยกลาง ว่า ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวหางหนู ประกอบด้วยดาวอยู่เรียงรายกัน 5 ดวง ในแผนที่ตารางดาวล้านนา ถือเป็นดาวฤกษ์ประจำเมืองขอม

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวอัศวิณี คือ ดาว “ Beta – Arieties “ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ Sheratar “ แปลว่า “ ฤกษ์ ( Sign) “ ดาวดวงนี้มีความสว่างแท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 17 เท่า มีสีขาว อยู่ห่างจากโลกประมาณ 52 ปีแสง หรือ 492 ล้านล้านกิโลเมตร

เมื่อตรวจสอบลักษณะการวางตัวของกลุ่มดาวอัศวณี ทั้ง 5 ดวง ในแผนที่ตารางดาวล้านนาเทียบกับแผนที่ดาวสากล ดาวฤกษ์ทั้ง 5 ดวงน่าจะเป็นดาว
ดาว Beta-Arieties
ดาว Alpha-Arieties
ดาว Gamma-Arieties
ดาว Alpha-Triangulum
ดาว Eta-Pisces

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2. ภรณี
ภรณีอยู่ในราศีเมษ มีชื่อล้านนาว่า ดาวเขียง หรือ เขียงกอม ชื่อดาวในภาษาไทยกลางว่า ดาวแม่ไก่ หรือ ดาวก้อนเส้า ประกอบด้วยดาว 3 ดวง เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม เหมือนก้อนเส้า หรือ เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ประจำเมืองพุก่ำ หรือ พุกาม

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวภรณี คือ ดาว“ 35-Arietis “ ในกลุ่มดาวราศีเมษ ดาวดวงนี้มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ ประมาณ 1,200 เท่า มีสีน้ำเงินแกมขาว อยู่ห่างจากโลกประมาณ 430 ปีแสง หรือ 4,100 ล้านล้านกิโลเมตร

เมื่อตรวจสอบลักษณะการวางตัวของกลุ่มดาวภรณีทั้ง 3 ดวง ในแผนที่ตารางดาวล้านนาเทียบกับแผนที่ดาวสากล ดาวฤกษ์ทั้ง 3 ดวง น่าจะเป็นดาว
ดาว35-Arieties
ดาว39-Arieties
ดาว41-Arieties

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3. กฤตติกา หรือ กิตติกา
กฤตติกา หรือ กิตติกาอยู่ในราศีพฤษภ แต่ในตารางดาวล้านนาว่าอยู่ในราศีเมษ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาววี หรือ ดาววีไก่น้อย ตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวลูกไก่ ประกอบด้วยดาว 7 ดวง เรียงเป็นรูปพัด ถือเป็นดาวฤกษ์ประจำเมืองอาฬวี ( เชียงรุ่ง หรือ สิบสองปันนา )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวกฤตติกา คือ ดาว “ Eta-Tuari “ ในกลุ่มดาวราศีพฤษภ มีชื่อเฉพาะว่า “ Alcyone “ เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวลูกไก่มีดาวฤกษ์เป็นสมาชิกอยู่ร่วมกันจำนวนหลายร้อยดวงภายใต้แรงโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน แต่เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียง 7 ดวง เท่านั้น ซึ่งลักษณะการวางตัวเหมือนที่เขียนไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา กล่าวคือ เป็นรูปพัด ดาวฤกษ์ทั้ง 7 ดวง ได้แก่
ดาว Eta – Tauri
ดาว 17 – Tauri
ดาว 20 – Tauri
ดาว 23 – Tauri
ดาว 19 – Tauri
ดาว 27 – Tauri
ดาว 28 – Tauri

กระจุกดาวลูกไก่เป็นกระจุกดาวที่รู้จักกันมาช้านานแล้ว มีหลักฐานบันทึกการสังเกตกระจุกดาวลูกไก่ ตั้งแต่ 2357 ปีก่อนคริสตศักราช ในบทกวี ตำนาน และบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้มีการกล่าวถึงกระจุกดาวลูกไก่ไว้ด้วย ปิรามิดบางแห่งในอียิปต์และวิหารบางแห่งในกรีก สร้างในแนว ขึ้น-ตก ของกระจุกดาวลูกไก่พอดี กระจุกดาวลูกไก่จะมีตำแหน่งอยู่ตรงกับพระอาทิตย์พอดีในราวกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกไม้กำลังผลิดอกชูช่ออย่างสวยงาม จึงเรียกกระจุกดาวลูกไก่ว่า “ ดาวแห่งฤดูกาลของไม้ดอก “

ดาว Eta – Tauri ซึ่งเป็นดาวอ้างอิงในแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวกฤตติกา เป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างปรากฏมากที่สุดในกระจุกดาวลูกไก่ มีสีน้ำเงินแกมขาว มีขนาดแท้จริงใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 10 เท่า และมีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 1,000 เท่า ดาวฤกษ์ทุกดวงที่เป็นสมาชิกในกระจุกดาวลูกไก่ยังมีอายุค่อนข้างน้อย กล่าวคือ มีอายุประมาณ 20 ล้านปีเท่านั้น ยังมีสภาพที่อยู่ในสภาวะที่เพิ่งจะเกิดใหม่และมักพบว่ามีการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4. โรหิณี หรือ พราหมณี
โรหิณี หรือ พราหมณี อยู่ในราศีพฤษภ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวค่าง หรือดาวกระจม (มงกุฎ) มีชื่อในภาษาไทยกลางว่า ดาวจมูก หรือ ดาวกระจม ประกอบด้วยดาวจำนวน 7 ดวง เรียงกันเป็นรูปมงกุฏ ในแผนที่ตารางดาวล้านนามี 5 ดวง ถือเป็นดาวประจำเมืองมลารัฏฐะ ( เชียงตุง )
ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวโรหิณี คือ ดาว “ Alpha-Tauri “ ในกลุ่มดาวราศีพฤษภ มีชื่อเฉพาะว่า “ อัลดีบาแรน ( Aldebaran ) “ มาจากภาษาอาหรับว่า “ ผู้ตาม ( Follower ) “ ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มดาวโรหิณีจะขึ้นตามหลังกระจุกดาวลูกไก่เสมอ ชาวเปอร์เซียโบราณ กำหนดให้ดาวอัลดีบาแรนเป็นดาวดวงหนึ่งในจำนวนสี่ดวงของ “ ดาวที่ยิ่งใหญ่( Royal Stars ) “ โดยดาวอีก 3 ดวง ที่เหลือ คือ ดาวแอนทารีส ( Antares ) ดาวเรกิวลัส (Regulus ) และดาวโฟมาลฮอท์( Fomalhaut ) ดาวอัลดีบาแรน มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความเชื่อที่ว่า เป็นเทพเจ้าแห่งฝนและเป็นผู้นำความชุ่มชื้นสู่พื้นดิน คำว่า “ โรหิณี ( Rohini ) “ เป็นคำที่มาจากภาษาฮินดู แปลว่า “ สิ่งที่มีสีแดง “ ซึ่งตรงกับลักษณะปรากฏของดาวอัลดีบาแรนซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีแดงที่มีความสว่างมาก ในการกำหนดตามกลุ่มดาวในแผนที่ดาวสากล ดาวดวงนี้เป็นส่วนที่เรียกว่า “ ตาวัว “ และกลุ่มดาวโรหิณีนั้น น่าจะเป็นส่วนที่เรียกว่า “ หน้าวัว “ ซึ่งมีลักษณะการวางตัวของดาวฤกษ์ 5 ดวง ได้แก่
ดาวAlpha-Tauri หรือดาวอัลดีบาแรน
ดาวEpsilon-Tauri
ดาวDelta –Tauri
ดาวGamma –Tauri
ดาวNu –Tauri

การวางตัวของดาวทั้ง 5 ดวง ดังกล่าวเป็นรูป “ ตัววี (V) “ สอดคล้องกับที่วาดไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา
ทางดาราศาสตร์จัดดาวอัลดีบาแรน ว่าเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวยักษ์แดง มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ประมาณ 40 เท่า สว่างกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 125 เท่า และห่างจากโลกประมาณ 68 ปีแสง หรือ 644 ล้านล้านกิโลเมตร บนท้องฟ้าดาวอัลดีบาแรนจัดเป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างปรากฏเป็นลำดับที่ 13 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5. มฤคศิระ หรือ มิคสิระ
มฤคศิระ หรือ มิคสิระ อยู่ระหว่างราศีพฤษภ และราศีเมถุน มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวหัวเนื้อ ซึ่งตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวหัวเนื้อ ดาวหัวเต่า ดาวเนื้อ หรือ ดาวโค ประกอบด้วยกลุ่มดาวจำนวน 3 ดวง เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ถือเป็นดาวประจำเมืองหงสาวดี

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวมฤคศิระ คือ ดาว “ Lambda-Orion “ ในกลุ่มดาว “ นายพราน “ กลุ่มดาวนายพรานนี้คนไทยเรียก “ กลุ่มดาวเต่า “ ซึ่งดาว “ Lambda – Orions “ นี้ จะเป็นส่วนที่เรียกว่า “ หัวเต่า “ ถ้าสังเกตดาวดวงนี้อย่างละเอียดแล้ว จะเห็นดาวฤกษ์ดวงเล็ก ๆ อีก 2 ดวง คือ “ Phi–1 “ และ “ Phi-2 “ วางตัวประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยมตรงกับที่เขียนไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา
ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Lambda-Orions “ เป็นดาวสีน้ำเงินมีความสว่างปรากฏไม่มากนัก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ความสว่างที่แท้จริงของดาวดวงนี้มากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 9,000 เท่า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,800 ปีแสง หรือ 17,000 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

6. อารทะ หรือ อารทรา
อารทะ หรือ อารทรา อยู่ในราศีเมถุน มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวด้ง ( กระด้ง ) หรือ ดาวหมากแขง ตรงกับภาษาไทยกลางว่า ดาวฉัตร หรือ ดาวใบสำเภา ประกอบด้วยกลุ่มดาวจำนวน 4 ดวง ( บางตำราถือเอาดาวสุกใสเพียงดวงเดียว เรียก ดาวตาสำเภา ) ถือเป็นดาวประจำเมืองกลิงครัฏฐะ
ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวอารทะ คือ ดาว “ Alpha-Orions “ ในกลุ่มดาวนายพราน ดาวดวงนี้เป็นดาวที่มีความสว่างสุกใสที่สุดในกลุ่ม เป็น ส่วน “ ไหล่ “ ของนายพราน ของไทยดาวดาวงนี้จะเป็น ส่วน “ ขาหน้า “ ของเต่า

ดาวทั้ง 4 ดวงในกลุ่มดาวอารทะที่บันทึกในแผนที่ตารางดาวล้านนาคลาดเคลื่อนจากแผนที่ดาวสากล ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ดาวฤกษ์อีก 3 ดวงเป็นดาวอะไรในแผนที่ดาวสากล

ดาว “ Alpha-Orions “ มีชื่อเฉพาะว่า บีเทลจูส ( Betelgeuse หรือ Betelgeux ) มีความหมายว่า “ รักแร้ของยักษ์ “ บางครั้งเรียกว่า “ ดาวแห่งการต่อสู้ “ เนื่องจากดาวดวงนี้มีสีแดงและสว่างมาก ในเทพนิยายและบทกวีหลายเรื่องกล่าวถึงดาวดวงนี้ไว้ด้วย

ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Alpha-Orions “ เป็นดาวฤกษ์ที่เรียกว่า ดาว” ยักษ์แดง “ ที่มีขนาดใหญ่มาก มีสีส้ม สังเกตได้ง่าย ปรากฏให้เห็นตลอดคืนบนท้องฟ้าในช่วงฤดูหนาว ดาวดวงนี้มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ 7,600-14,000 เท่า มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 550-920 เท่า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 520 ปีแสง หรือ 4,900 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7. ปุนัพสุ หรือ ปุนวรสุ
ปุนัพสุ หรือ ปุนวรสุ อยู่ระหว่างราศีเมถุน กับราศีกรกฏ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวสะเพลา(สำเภา) ตรงกับภาษาไทยกลางว่า ดาวเรือชัย หรือ ดาวสำเภา ประกอบด้วยกลุ่มดาวจำนวน 6 ดวง เรียงกันเป็นรูปโค้งท้องเรือ ( บางตำราว่า 3 ดวง ) ถือเป็นดาวประจำเมืองทะโค่ง ( เมืองร่างกุ้ง )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวปุนพสุ คือ ดาว Beta-Gemini ในกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) คนไทยเรียกกลุ่มดาวนี้ว่า ดาว”โลงศพ” ดาวดวงนี้เป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างปรากฏเป็นอันดับแรกของกลุ่มดาวนี้ และเป็นอันดับที่ 17 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า มีสีเหลือง มีชื่อเฉพาะว่า “ พอลลักซ์ ( Pollux ) “ มาจากภาษากรีกว่า “ Polluces “ หรือ “ Polledeuces “ มีความหมายว่า “ นักมวย “ หรือ “ นักต่อสู้ “
กลุ่มดาวจำนวน 6 ดวง ที่เรียงกันเป็นรูปโค้งท้องเรือที่บันทึกในตารางดาวนั้น เมื่อเทียบกับแผนที่ดาวสากลแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นดาวสว่างทั้ง 6 ดวง ในกลุ่มดาวคนคู่ ดังนี้ คือ
ดาวAlpha-Gemini
ดาวBeta-Gemini
ดาวGamma-Gemini
ดาวMu-Gemini
ดาวEpsilon-Gemini
ดาวDelta-Gemini

เนื่องจากมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า และมีลักษณะโค้ง แม้จะโค้งมากกว่าที่บันทึกไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนาก็ตาม

ทางดาราศาสตร์ ดาว “ Beta-Gemini “ เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 11 เท่า มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 35 เท่า ห่างจากโลก 35 ปีแสง หรือ 331 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

8. ปุษยะ หรือ ปุสสยะ
ปุษยะ หรือ ปุสสยะ อยู่ในราศีกรกฏ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวเรือนห่าง หรือ ดาวพิดาน ตรงกับชื่อดาวในภาษาไทยกลางว่า ดาวปุยฝ้าย ดาวสมอสำเภา ดาวปู ดาวดอกบัว หรือ ดาวพวงดอกไม้ มีดาวเรียงกันอยู่ 6 ดวง เป็นรูปสมอ หรือ เรียงกันห้าดวงเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แต่ตามแผนที่ตารางดาวล้านนา มี 4 ดวง เรียงกันอยู่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองดอกบัว ( ยังไม่พบว่าอยู่ที่ใด )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงในแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวปุษยะ คือ ดาว Delta-Cancri ในกลุ่มดาวราศีกรกฏ ( Cancer ) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีแดง มีขนาดใหญ่และมีตำแหน่งปรากฏอยู่บนเส้นสุริยะวิถีพอดี

เมื่อเปรียบเทียบดาวทั้ง 4 ดวง ที่เรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามที่บันทึกไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา เทียบกับแผนที่ดาวสากลแล้ว ดาวทั้ง 4 ดวงน่าจะเป็น ดาว
ดาวDelta-Cancri
ดาวGamma-Cancri
ดาวEta-Cancri
ดาวTheta-Cancri

โดยมีกระจุกดาวรวงผึ้ง ( Beehive Cluster หรือ Praesepe ) อยู่ตรงกลาง แต่ถ้าพิจารณาเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสใหญ่ก็น่าจะเป็น ดาว Alpha-Cancri ,Beta-Cancri ,Delta-Cancri และ Zeta-Cancri

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

9. อสิเลสะ หรือ อัสสเลสะ
อสิเลสะ หรือ อัสสเลสะ ในตำราดูดาวว่าอยู่ในราศีสิงห์ แต่ในตารางแผนที่ดาวล้านนาเขียนอยู่ในราศีกรกฏ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวม้า หรือ ดาวคอกม้า ตรงกับชื่อภาษาไทยกลางว่า ดาวเรือน ดาวพ้อม หรือ ดาวแขนคู้ ประกอบด้วยกลุ่มดาวเรียงกัน 5 ดวง แต่ในแผนที่ตารางดาวล้านนา มีจำนวน 6 ดวง เรียงกันเป็นรูปโค้งคว่ำ ถือเป็นกลุ่มดาวประจำเมืองวิเทหะ ( เมืองฮ่อ-ยูนนาน )

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวอสิเลสะ คือ ดาว “ Epsilon-Hydrae “ ในกลุ่มดาวงูไฮดรา ( Hydra ) มีตำแหน่งอยู่ใกล้กับกลุ่มดาวราศีกรกฏมาก ดาวดวงนี้มีสีเหลืองเหมือนดวงอาทิตย์ และเป็นดาวสว่างอยู่บริเวณ “ หัว “ ของงูไฮดรา บริเวณนี้จะมีดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกรวมอยู่ด้วยอีก 5 ดวง คือ
ดาวDelta-Hydrae
ดาวSigma-Hydrae
ดาวEta-Hydrae
ดาวRho-Hydrae
ดาวZeta-Hydrae

ซี่งประกอบเป็นหัวงูไฮดรา สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นดาวฤกษ์ทั้ง 6 ดวงของกลุ่มดาวอสิเลสะที่ระบุไว้ในแผนที่ตารางดาวล้านนา เนื่องจากบริเวณนี้มีดาวฤกษ์ 6 ดวงดังกล่าวอยู่ใกล้กันสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าและมีลักษณะโค้งคว่ำเหมือนกัน

ในทางดาราศาสตร์ ดาว “ Epsilon-Hydrae “ เป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 70 เท่า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 140 ปีแสง หรือ 1325 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

10. มาฆะ หรือ มฆา
มาฆะ หรือ มฆา อยู่ในราศีสิงห์ มีชื่อภาษาล้านนาว่า ดาวงู หรือ ดาวสาวน้อย ตรงกับภาษาไทยกลางว่า ดาวลิง ดาวงูตัวผู้ หรือ ดาวงูเลื้อย ประกอบด้วยดาวเรียงสับกันในลักษณะฟันเลื่อย 5 ดวง ถือเป็นดาวฤกษ์ประจำเมืองพาราณสี

ดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นดาวอ้างอิงตามแผนที่ดาวสากลของกลุ่มดาวมาฆะ คือ ดาว “ Alpha-Leonics “ ในกลุ่มดาวราศีสิงห์ (Leo) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างสุกใสที่สุดในกลุ่มดาวนี้ และมีความสว่างปรากฏมากเป็นลำดับที่ 21 ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดที่ปรากฏบนท้องฟ้า ดาว “ Alpha-Leonis “ มีชื่อเฉพาะว่า “ เรกิวลัส ( Regulus ) มาจากภาษากรีก แปลว่า “ กษัตริย์องค์เล็ก “ ทางละตินเรียกดาวดวงนี้ว่า “ คอร์ลีโอนิส ( Cor Leonis ) “ แปลว่า “ หัวใจสิงห์ “ คนไทยเรียกดาวดวงนี้ว่า “ ดาวหัวใจสิงห์ “ เช่นกัน ทางฮินดูเรียก “ มาฆะ ( Magha ) “ ซึ่งมีความหมายว่า “ ผู้ทรงพลัง “ หรือ “ ผู้เป็นใหญ่ “ ทางเปอร์เซียเรียก “ ไมยัน ( Miyan ) “ ซึ่งหมายความว่า “ เป็นศูนย์กลาง “ หรือ “ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นศูนย์กลาง “ และจัดดาวดวงนี้เป็นหนึ่งในสี่ดวงของ “ ดาวหลวง ( Royal Stars ) “ บนท้องฟ้า ชาวอียิปต์เรียกกลุ่มดาวราศีสิงห์ว่าเป็น “ บ้านแห่งดวงอาทิตย์ “ เนื่องจากช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีสิงห์เป็นเวลาพอดีกับช่วงน้ำมากในแม่น้ำไนล์

ตามลักษณะการวางตัวของดาวทั้ง 5 ดวงที่เรียงสับกันของกลุ่มดาวมาฆะในแผนที่ตารางดาวล้านนาแล้ว ดาวฤกษ์ทั้ง 5 ดวง ดังกล่าวในแผนที่ดาวสากลน่าจะเป็นดาวทั้ง 5 ดวงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าบริเวณ “ หัวสิงห์ “ คือ
ดาว Alpha-Leonis
ดาวEta-Leonis
ดาวGamma-Leonis
ดาวZeta-Leonis
ดาวEpsilon-Leonis

ทางดาราศาสตร์ ดาว “Alpha-Leonis “ เป็นดาวสีขาว มีอุณหภูมิสูงมาก มีความสว่างที่แท้จริงมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 160 เท่า มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 5 เท่า มีระยะห่างจากโลกประมาณ 85 ปีแสง หรือ 804 ล้านล้านกิโลเมตร

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา:
http://www.astroschool.in.th/public/story/lannamenu6_ans_inc.php
39
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / เรื่องเล่า ดาวลูกไก่
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 22, 2011, 04:09:55 PM »
การที่กระจุกดาวลูกไก่สามารถมองเห็นในท้องฟ้ายามค่ำคืนได้อย่างเด่นชัด จึงเป็นที่รู้จักในแทบทุกวัฒนธรรมทั่วโลกนับแต่อดีตกาล ชาวไทยเราเรียกว่า ดาวลูกไก่ หรือ ดาวกฤติกา ชาวญี่ปุ่นเรียก ซุบารุ ชาวจีนเรียก เหม่าซิ่ว (昴宿; หรือกลุ่มดาวคนผมดก) ส่วนชาวพื้นเมืองในหมู่เกาะบอร์เนียวเรียกว่า บิตังสโกระ ในพระคัมภีร์ไบเบิลยังมีการเอ่ยถึงดาวกลุ่มนี้โดยเรียกชื่อว่า คิมา (Khima) ในวัฒนธรรมอาหรับซึ่งเป็นนักดูดาวมาแต่โบราณ เรียกชื่อดาวกลุ่มนี้ว่า อัล-ทูเรย์ยา (الثريا; al-Thurayya)

แต่ชื่อของกระจุกดาวในทางดาราศาสตร์จะเรียกชื่อในภาษาอังกฤษ ซึ่งตั้งชื่อกลุ่มดาวนี้ตามตำนานกรีก กล่าวคือ ดาวเหล่านี้เป็นตัวแทนของหญิงสาวเจ็ดพี่น้องแห่งไพลยาดีส ขณะที่ตำนานชาวไวกิงบอกว่าดาวเหล่านั้นคือแม่ไก่ทั้งเจ็ดตัวของเฟรย์ยา ชื่อของกระจุกดาวในภาษาโบราณของทางยุโรปหลายๆ แห่งจะมีความหมายว่า แม่ไก่กับลูกไก่ ซึ่งคล้ายคลึงกับตำนานของไทย

นิทานดาวลูกไก่ในตำนานไทยเล่าว่า มีตายายคู่หนึ่งอาศัยอยู่ในป่า วันหนึ่งมีพระธุดงค์ผ่านมา คิดจะหาอาหารไปถวาย แต่เนื่องจากอยู่ในป่าไม่มีอาหารดีๆ จึงหารือกันจะฆ่าไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อไปทำอาหารถวาย แม่ไก่ได้ยินก็สั่งเสียลูกไก่ทั้งหกตัวให้รักษาตัวให้ดี ตัวเองต้องแทนคุณตายายที่เลี้ยงดูมา เมื่อถึงเวลาตายายฆ่าแม่ไก่ ลูกไก่ก็กระโดดเข้าเตาไฟตายตามแม่ไปด้วย เทพยดาเห็นแก่ความกตัญญู จึงให้แม่ไก่และลูกไก่ทั้งหมดขึ้นไปเป็นดาวอยู่บนฟ้าเพื่อเตือนใจคน

ในยุคสำริดของยุโรป ชาวยุโรปบางส่วนเช่นชาวเคลต์หรือวัฒนธรรมอื่นก่อนหน้านั้น เชื่อว่ากระจุกดาวนี้เกี่ยวข้องกับความอาลัยและงานศพ ในอดีตจะมีงานเทศกาลช่วงวันระหว่างวันศารทวิษุวัตจนถึงวันเหมายัน (ดู วันฮัลโลวีน หรือวันแห่งจิตวิญญาณ) เป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ กระจุกดาวนี้จะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าด้านตะวันออกหลังจากตะวันลับขอบฟ้า เหตุนี้กระจุกดาวลูกไก่จึงมักให้ความรู้สึกถึงน้ำตาและความเศร้าโศก

การปรากฏของดวงดาวบนฟ้ามักใช้เป็นจุดสำคัญเพื่อกำหนดระยะเวลาตามปฏิทินของมนุษย์ในสมัยก่อน[14] การปรากฏบนฟ้าของกระจุกดาวลูกไก่ (ประมาณเดือนมิถุนายน) ถือเป็นการขึ้นปีใหม่สำหรับชาวมาวรีในนิวซีแลนด์ ซึ่งเรียกกระจุกดาวนี้ว่า มาตาริกิ (แปลว่าดวงตาดวงเล็ก ๆ[15]) มีวันหยุดลักษณะคล้ายกันนี้สำหรับชาวฮาวายด้วย เรียกว่าวัน Makaliʻi ชาวแอสแตคโบราณในเม็กซิโกและอเมริกากลางมีปฏิทินของพวกเขาที่อ้างอิงตามกระจุกดาวลูกไก่ โดยเริ่มนับปีใหม่เมื่อพวกนักบวชมองเห็นดาวเรียงเด่นปรากฏขึ้นบนฟากฟ้าตะวันออก ก่อนที่แสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์จะลับหายไป ชาวแอสแตคเรียกกระจุกดาวนี้ว่า Tianquiztli (แปลว่า "ตลาด")

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88

40
คนสมัยโบราณช่างจินตนาการเกี่ยวกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้าได้ยอดเยี่ยม และนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่เล่าขานมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือตำนานของกลุ่มดาวนายพราน ที่คุณตาจันทร์สรรหามาเล่าให้หลานเอิร์ทฟังเป็นเกร็ดความรู้ที่ช่วยเพิ่มความบันเทิงระหว่างดูดาว
       
       กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว "โอไรอัน" (Orion) ได้ถือกำเนิดขึ้นจากความรักระหว่างเทพโพไซดอน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเล และ ยูเรียล ราชินีแห่งลุ่มน้ำอะเมซอนผู้เป็นมนุษย์
       
       โอไรอันเติบโตขึ้นเป็นนายพรานหนุ่มรูปร่างงามสง่า กล้าหาญ และมีสามารถเหนือมนุษย์ทั่วไป ด้วยฝีมือที่ไม่เป็นรองใครทำให้โอไรอันสามารถเอาชนะสิงโตตัวโตๆ ได้ไม่ยาก และท่านพ่อท่านแม่ก็ยังมอบของขวัญเป็นสุนัขตัวใหญ่ให้เป็นเพื่อนโอไรอันยามออกไปล่าสัตว์ ซึ่งโอไรอันตั้งชื่อเจ้าสุนัขคู่ใจของเขาว่า "ซีรีอุส"
       
       โอไรอันและซีรีอุสออกเรือไปผจญภัยในทะเล กระทั่งเดินทางมาถึงเกาะคริส ที่นี่เขาได้พบกับหญิงสาวผู้เลอโฉมนามว่า "อาร์ทีมีส" ผู้เป็นเทพแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ และเป็นน้องสาวของ "อพอลโล" เทพแห่งดวงอาทิตย์
       
       ทั้งโอไรอันและอาร์ทีมีสได้ออกล่าสัตว์ด้วยกันบ่อยครั้ง ความคุ้นเคยก่อเกิดเป็นความรักความผูกพัน ทว่าเมื่ออพอลโลรู้เข้าก็กลับไม่ชอบใจและรังเกียจโอไรอันที่เป็นเพียงมนุษย์ อพอลโลจึงวางแผนจัดการโอไรอันโดยจัดการประลองความสามารถขึ้น และนำความไปบอก "มหาเทพซุส" ผู้เป็นบิดาว่า โอไรอันชอบอวดอ้างว่าตนเป็นนายพรานที่เก่งกาจและปราบสัตว์ร้ายมาแล้วมากมาย มหาเทพซุสก็เชื่อและรู้สึกพิโรธในความโอหังของโอไรอัน จึงมอบแมงป่องพิษให้อพอลโลนำไปจัดการโอไรอัน
       
       ในระหว่างการประลองความสามารถ โอไรอันสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ที่เป็นสิงโตตัวเขื่องผู้ดุร้ายลงได้ แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นจนได้ เมื่อแมงป่องที่แอบซ่อนอยู่ในสิงโตได้ต่อยเข้าที่แขนของนายพรานหนุ่ม อาร์ทีมีสที่เฝ้าให้กำลังใจโอไรอันอยู่บนอัฒจรรย์ริมสนามเห็นดังนั้นก็ตื่นตกใจยิ่งนัก ข้างฝ่ายอพอลโลที่เฝ้าดูอยู่ด้วยกลับกระหยิ่มด้วยความดีใจเป็นที่สุด
       
       แม้จะเก่งกล้าสักแค่ไหนแต่โอไรอันก็ไม่อาจต้านทานพิษร้ายจากแมงป่องของมหาเทพซุสได้ ในที่สุดเขาก็สิ้นใจไปต่อหน้าต่อตาหญิงสาวคนรักหลังจากเอ่ยชื่อของเธอเป็นครั้งสุดท้าย ทำให้อาร์ทีมีสโศกเศร้าเสียใจอย่างมาก
       
       เมื่อรู้ว่าลูกสามของตนเอาแต่ร่ำไห้ที่ชายคนรักจากไปอย่างไม่มีวันกลับ มหาเทพซุสก็เกิดความเสียใจ จึงได้ชดเชยด้วยการส่งดวงวิญญาณของโอไรอันขึ้นไปบนท้องฟ้ากลายเป็น "กลุ่มดาวนายพราน" พร้อมกับซีรีอุส สุนัขคู่ใจที่ได้เป็น "กลุ่มดาวสุนัขใหญ่" ติดตามไปด้วยกันตลอดเวลา และให้ทั้ง 2 กลุ่มดาวนี้อยู่ห่างไกลจากกลุ่มดาวแมงป่องมากที่สุด จึงไม่เคยปรากฏบนท้องฟ้าพร้อมกันเลย
       
       คุณตาจันทร์ยังให้ความรู้เพิ่มเติมอีกว่า กลุ่มดาวนายพรานจะเห็นเฉพาะในช่องฤดูหนาว ส่วนกลุ่มดาวแมงป่องจะเห็นได้ในช่วงฤดูร้อน จึงไม่มีวันที่เราจะเห็นกลุ่มดาวทั้งสองบนท้องฟ้าพร้อมกัน แต่นิทานดาวของคุณตาจันทร์ทำให้การดูดาวของน้องเอิร์ธในค่ำคืนนี้ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
       
       **เรียบเรียงจากหนังสือและวีซีดีนิทานดาวชุด "โอไรอัน กลุ่มดาวนายพราน" โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)

ที่มา:
http://www.kusolsuksa.com/webboard/index.php?topic=1999.0


หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10