กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
51
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / เนบิวลานายพราน
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 21, 2011, 11:31:11 AM »
เนบิวลานายพราน (อังกฤษ: Orion Nebula; หรือที่รู้จักในชื่อ วัตถุเมสสิเยร์ M42 หรือ NGC 1976) เป็นเนบิวลาแห่งหนึ่งอยู่ทางใต้ของเข็มขัดโอไรออนในกลุ่มดาวนายพราน ถือเป็นหนึ่งในเนบิวลาสว่างที่สุดและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนบิวลานายพรานอยู่ห่างออกไปประมาณ 1,270±76 ปีแสง[2] ถือเป็นย่านกำเนิดดาวฤกษ์มวลมากที่อยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด เนบิวลานายพรานมีขนาดกว้างประมาณ 24 ปีแสง บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่อ้างถึงเนบิวลาแห่งนี้เรียกมันว่า เนบิวลาใหญ่ ในกลุ่มดาวนายพราน หรือ เนบิวลานายพรานใหญ่ อย่างไรก็ดียังมีบันทึกทางดาราศาสตร์ที่เก่าแก่กว่าเรียกมันว่า เอนสิส (ละติน: Ensis; หมายถึง "ดาบ") อันเป็นชื่อเดียวกันกับดาวเอตาโอไรออนิส ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันกับเนบิวลา

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99
52
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / เนบิวลาดาวเคราะห์
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 21, 2011, 11:27:21 AM »
เนบิวลาดาวเคราะห์ (อังกฤษ: planetary nebula) คือส่วนที่เคยเป็นแก๊สและฝุ่นผงชั้นผิวนอกของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย เมื่อดาวฤกษ์ดวงนั้นได้เปลี่ยนสภาพเป็นดาวยักษ์แดง และเชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้หมดลงแล้ว แกนกลางของดาวก็จะยุบลงกลายเป็นดาวแคระขาว สังเกตได้จากจุดสีขาวตรงกลางภาพ และส่วนนอกนั้นเองที่แผ่กระจายออกไปในอวกาศ เรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์ ซึ่งจะกลายเป็นวัตถุดิบในการสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป และทำให้เอกภพมีธาตุอื่น ๆ เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากไฮโดรเจนและฮีเลียม

แท้จริงแล้วเนบิวลาดาวเคราะห์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์แต่อย่างใด เพียงแต่ว่านักดาราศาสตร์ในสมัยก่อนมองเห็นเนบิวลาดาวเคราะห์มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์แก๊ส เนบิวลาดาวเคราะห์จัดเป็นช่วงชีวิตของดาวที่สั้นมาก คือประมาณสิบปีหรือพันปี เมื่อเทียบกับอายุขัยของดาวที่มีมากเป็นพันล้านปี
ในปัจจุบันเราค้นพบเนบิวลาดาวเคราะห์แล้วประมาณ 1500 ดวง ส่วนมากพบใกล้ศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือก

การสังเกตและศึกษา
เนบิวลาดาวเคราะห์จัดเป็นวัตถุท้องฟ้าที่จางมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า คนแรกที่ค้นพบเนบิวลาดาวเคราะห์คือ ชาลส์ เมสสิเยร์ (Charles Messier) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเนบิวลานั้นมีชื่อว่า เนบิวลาดัมเบล ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2307 ในขณะนั้นเทคโนโลยีทางดาราศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้า และมีการค้นพบเนบิวลาดาวเคราะห์ที่คล้ายกับดาวเคราะห์แก๊ส จึงมีการเรียกชื่อวัตถุท้องฟ้าชนิดนี้ว่าเนบิวลาดาวเคราะห์
ในเวลาต่อมา วิลเลียม ฮักกิน (William Huggin) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษาธรรมชาติของเนบิวลาดาวเคราะห์ โดยการใช้การแยกแสงของวัตถุท้องฟ้าผ่านปริซึม เขาค้นพบว่าเมื่อเขาสังเกตดาราจักรแอนโดรเมดา พบว่าในแถบสเปกตรัมมีเส้นดูดกลืนอยู่มาก ต่อมาก็ค้นพบเช่นนี้กับวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ซึ่งในเวลาต่อมาวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นเรียกว่าดาราจักร พอเขาสังเกตเนบิวลาตาแมว เขาได้ผลที่เปลี่ยนไปคือ พบเส้นสเปกตรัมเปล่งแสงออกมาเป็นจำนวนน้อย ในชั้นแรกก็สงสัยว่าเป็นธาตุปริศนาคล้ายฮีเลียม จนถูกตั้งชื่อว่า เนบิวเลียม (nebulium)

ครั้นต่อมาได้มีการศึกษาสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ พบว่ามีฮีเลียม แต่ไม่พบเนบิวเลียม จนเฮนรี นอร์ริส รัสเซล (Henry Norris Russel) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เสนอว่า "เนบิวเลียม" เป็นธาตุที่เราคุ้นเคยกันดี แต่อยู่ในสภาวะที่เราไม่ทราบ ต่อมาค้นพบว่าใจกลางของเนบิวลาดาวเคราะห์ (คือดาวแคระขาว) มีอุณหภูมิสูงมากแต่มีแสงจางมาก ขณะที่ชั้นนอกของดาวยักษ์แดงดวงเดิมขยายตัวออกสู่อวกาศเสมอ จนเกิดแนวคิดว่าเนบิวลาดาวเคราะห์เป็นจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย (ต่างกับซูเปอร์โนวาที่เป็นจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก)

ทุกวันนี้เทคโนโลยีทางดาราศาสตร์ก้าวหน้ามาก ทำให้นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกจากวัตถุท้องฟ้า ไม่เฉพาะแต่แสงที่มองเห็นและคลื่นวิทยุดังเช่นในอดีต การศึกษาเนบิวลาดาวเคราะห์ผ่านทางรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีอินฟราเรด ทำให้ทราบรายละเอียดต่าง ๆ ของเนบิวลา เช่น อุณหภูมิ ความหนาแน่น ฯลฯเป็นต้น

การเกิดเนบิวลาดาวเคราะห์
เนบิวลาดาวเคราะห์ เกิดเมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยหรือมวลปานกลาง เช่นดวงอาทิตย์ ได้เข้าสู่ระยะสุดท้ายที่จะเปล่งแสง สำหรับดาวฤกษ์ที่มวลมากกว่านี้ก็จะเกิดการระเบิด ซึ่งเรียกว่า มหานวดารา หรือซูเปอร์โนวา แทน

ช่วงชีวิตส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ก็คือ การส่องแสงสว่างอันเป็นพลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชันในแกนกลางดาว ซึ่งหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม พลังงานที่ได้นี้ยังช่วยต้านทานแรงโน้มถ่วงภายในดาว ทำให้ดาวทรงรูปอยู่ได้ พอเวลาผ่านไปหลายพันล้านปี เชื้อเพลิงของดาว คือไฮโดรเจน มีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ จนหมดในที่สุด ทำให้ไม่มีพลังงานที่สามารถทานแรงโน้มถ่วงได้ ดาวจึงยุบตัวลงและมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก ในเวลาปกติ อุณหภูมิที่แกนของดาวฤกษ์โดยประมาณคือ 15 ล้านเคลวิน แต่เมื่อเกิดการยุบตัว อุณหภูมิภายในแกนอาจสูงถึง 100 ล้านเคลวิน เพื่อให้ดาวอยู่ในสภาพสมดุลอีกครั้ง เปลือกนอกของดาวก็ขยายตัวออกไปเช่นเดียวกับการขยายตัวของวัตถุเมื่อถูกความร้อน จากนั้นอุณหภูมิดาวก็จะลดลงเป็นอย่างมาก เรียกดาวฤกษ์ในระยะนี้ว่า ดาวยักษ์แดง (red giant) ทว่าแกนของดาวยังคงยุบตัวต่อไปและมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งฮีเลียมหลอมตัวได้คาร์บอนกับออกซิเจน ในที่สุดแกนของดาวก็หยุดการยุบตัว

ปฏิกิริยาฟิวชันของฮีเลียมจัดเป็นปฏิกิริยาที่ไวต่ออุณหภูมิมาก นั่นคือ หากอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพียงร้อยละสอง ก็จะเกิดการปลดปล่อยพลังงานมาก ทำให้แกนของดาวเกิดการหดตัวและขยายตัวสลับกัน จนในที่สุดพลังงานที่ได้นี้ก็จะทำให้ผิวนอกของดาวหลุดออกไปในอวกาศ และรังสีอัลตราไวโอเลตที่ปลดปล่อยออกมาจากแกนดาว ก็จะทำให้แก๊สที่หลุดไปนั้นแตกตัวเป็นพลาสมาและเปล่งแสงสีสันสวยงามออกมา

ความสำคัญ
เนบิวลาดาวเคราะห์ เป็นเครื่องจักรสังเคราะห์ธาตุที่สำคัญในจักรวาล นั่นคือ เนบิวลาดาวเคราะห์ช่วยสังเคราะห์ไฮโดรเจนและฮีเลียมให้เป็นธาตุหนักนานาชนิด เช่น คาร์บอน ไนโตรเจน หรือแม้แต่โลหะ ซึ่งสิ่งนี้เองที่กลายเป็นดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของสัตว์บนโลกในเวลาต่อมา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C

53
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / เนบิวลาอินทรี
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 21, 2011, 11:13:27 AM »
เนบิวลาอินทรี (อังกฤษ: Eagle Nebula; หรือวัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์หมายเลข 16; M16; หรือ NGC 6611) เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (ฝรั่งเศส: Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี พ.ศ. 2288-2289 อยู่ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเนบิวลาจางๆ หรือย่านเอช 2 ที่ขึ้นบัญชีไว้ในรหัส ไอซี 4703 เป็นย่านก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 7,000 ปีแสง ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในเนบิวลานี้มีโชติมาตรปรากฏเท่ากับ 8.24 ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนโดยใช้กล้องส่องตา

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5
54
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / เนบิวลาปู
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 21, 2011, 11:06:09 AM »
เนบิวลาปู (บัญชีการตั้งชื่อ M1, NGC 1952 หรือ Taurus A) เป็นซากซูเปอร์โนวาและเนบิวลาลมพัลซาร์ในกลุ่มดาววัว เนบิวลานี้ได้รับการสังเกตโดยจอห์น เบวิส ในปี พ.ศ. 2274 ซึ่งสอดคล้องกับการบันทึกเหตุการณ์ซูเปอร์โนวาสว่างโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนและชาวอาหรับใน พ.ศ. 1597 ที่ระดับรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาสูงกว่า 30 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ เนบิวลาปูเป็นแหล่งพลังงานที่เข้มที่สุดบนท้องฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถวัดฟลักซ์ได้ถึงสูงกว่า 1012 อิเล็กตรอนโวลต์ เนบิวลาปูตั้งอยู่ห่างจากโลก 6,500 ปีแสง (2 กิโลพาร์เซก) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 ปีแสง (3.4 พาร์เซก) และขยายตัวในอัตรา 1,500 กิโลเมตรต่อวินาที

ณ ใจกลางเนบิวลาปูเป็นที่อยู่ของพัลซาร์ปู ดาวนิวตรอนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 28-30 กิโลเมตร[5] ซึ่งปลดปล่อยรังสีตั้งแต่รังสีแกมมาไปจนถึงคลื่นวิทยุด้วยอัตราการหมุน 30.2 รอบต่อวินาที เนบิวลาปูเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์วัตถุแรกที่สามารถระบุได้จากการระเบิดซูเปอร์โนวาในประวัติศาสตร์
เนบิวลานี้ทำตัวเสมือนหนึ่งแหล่งกำเนิดรังสีสำหรับการศึกษาเทห์ฟากฟ้าที่เคลื่อนผ่านตัวมัน ในช่วงปีพ.ศ. 2493 และ 2512 มีการทำแผนภูมิโคโรนาของดวงอาทิตย์ขึ้นจากการเฝ้าสังเกตคลื่นวิทยุจากเนบิวลาปูที่ผ่านชั้นโคโรนาไป และในปี พ.ศ. 2546 เราสามารถวัดความหนาของชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ไททัน ดาวบริวารของดาวเสาร์ได้จากการที่ชั้นบรรยากาศนี้กีดขวางรังสีเอกซ์จากเนบิวลา

บางครั้งเนบิวลาปูก็ถูกเรียกชื่อว่า เมสสิเยร์ 1 หรือ M1 คือเป็นวัตถุแรกในรายการวัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์ในปี พ.ศ. 2301

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B9
http://www.vcharkarn.com/vcafe/6875
55
ดาวเคราะห์ดวงใหม่ คล้ายโลก
นักดาราศาสตร์ประกาศว่าค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่อาจมีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุด เท่าที่เคยเจอมา
เหล่า นักดาราศาสตร์ แถลงข่าวที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเมืองซานตาครูสว่า ดาวดวงนี้มีที่ตั้งอยู่ใจกลางเขตที่เรียกกันว่าเขตมีชีวิต หรือ โกลดิล็อคโซน
ซึ่งไม่เหมือนกับดาวเคราะห์อีกเกือบ 500 ดวงที่นักดาราศาสตร์ค้นพบนอกระบบสุริยะของโลก

นักดาราศาสตร์บอกว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากดาวฤกษ์ ซึ่งเป็นดาวแม่ของมัน และมันอาจจะมีน้ำในสถานะที่เป็นของเหลวด้วย

นอกจากนั้น ตัวดาวเองก็ไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อเรื่องของพื้นผิว แรงโน้มถ่วง และชั้นบรรยากาศของดาว

นายอาร์. พอล บัตเลอร์ จากสถานบันคาร์เนอกี้ กรุงวอชิงตัน หนึ่งในผู้ร่วมค้นพบดาวดวงนี้บอกว่า
ก่อนหน้านี้เราพบดาวเคราะห์มากมาย แต่ส่วนมากถ้าไม่อยู่ในเขตที่หนาวเกินไป ก็อยู่ในเขตที่ร้อนเกินไปเมื่อวัดระยะห่างจากดาวแม่ แต่ในที่สุดเราก็เจอดาวที่อยู่ในระดับกึ่งกลางพอดี

ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลมากกว่าโลกราว 3 เท่า มันมีความกว้างกว่าโลกเล็กน้อย แต่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ของมันมากกว่าโลก
โดยมันอยู่ใกล้เพียง 22.5 ล้านกิโลเมตร ขณะที่โลกอยู่ห่างถึง 150 ล้านกิโลเมตร ทำให้มันโคจรรอบดาวแม่ในเวลาแค่ 37 วัน
นอกจากนั้นมันก็ไม่ค่อยหมุนรอบตัวเองมากนัก เพราะด้านหนึ่งมักจะสว่างอยู่เสมอ

สำหรับอุณหภูมิพื้นผิวก็อาจจะสูงถึง 71 องศาเซลเซียส หรือเย็นถึงลบ 4 องศาเซลเซียส
แต่บริเวณระหว่างกึ่งกลางของทั้งสองโซน อาจจะมีสภาพอากาศสบายๆ ได้

ดาวดวงนี้โคจรรอบดาวแม่ที่ชื่อ กลีซ 581 จึงมีชื่อว่า กลิซ 581 จี มันอยู่ห่างจากโลกเราถึง 195 ล้านล้านกิโลเมตร
ซึ่งแม้จะดูเหมือนว่าไกล แต่หากเทียบกับขนาดของจักรวาล ก็ถือได้ว่ามันอยู่ใกล้โลกมาก

ที่มา:
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5ec10f027f1cbc9c
http://blog.eduzones.com/hanger/1786

56
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ดาวหาง
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2011, 02:54:58 PM »
ดาวหาง (อังกฤษ: Comet) คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร

คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน

นับถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 มีรายงานการค้นพบดาวหางแล้ว 3,648 ดวง ในจำนวนนี้หลายร้อยดวงเป็นดาวหางคาบสั้น การค้นพบยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนที่ค้นพบแล้วเป็นแค่เศษเสี้ยวเพียงเล็กน้อยของจำนวนดาวหางทั้งหมดเท่านั้น วัตถุอวกาศที่มีลักษณะคล้ายกับดาวหางในระบบสุริยะรอบนอกอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านล้านชิ้น ดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีปรากฏโดยเฉลี่ยอย่างน้อยปีละหนึ่งดวง ในจำนวนนี้หลายดวงมองเห็นได้เพียงจาง ๆ เท่านั้น

ดาวหางที่สว่างมากจนสามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้โดยง่ายมักเรียกว่าดาวหางใหญ่ (อังกฤษ: Great Comet) นอกจากนี้ยังมีดาวหางประเภทเฉียดดวงอาทิตย์ ซึ่งมักจะแตกสลายเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากๆ อันเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงมหาศาล เป็นที่มาของฝนดาวตกต่างๆ และดาวหางอีกจำนวนนับพันดวงที่มีวงโคจรไม่เสถียร

ชื่อและสัญลักษณ์
คำว่า "ดาวหาง" (comet) มีรากศัพท์จากภาษาละตินว่า แม่แบบ:Lang-gr''cometes'' ซึ่งมาจากคำภาษากรีก komē มีความหมายว่า "เส้นผมจากศีรษะ" อริสโตเติลเป็นคนแรกที่ใช้ชื่อ komētēs กับดาวหาง เพื่อบรรยายว่ามันเป็น "ดาวที่มีผม" สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์สำหรับดาวหางคือ  ซึ่งเป็นภาพวาดแผ่นกลมกับเส้นหางยาว ๆ เหมือนเส้นผม

วงโคจรและต้นกำเนิด
ดาวหางมีคาบการโคจรที่แตกต่างกันหลายแบบ นับตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี ไปจนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี ขณะที่ดาวหางบางดวงเชื่อว่าผ่านเข้ามาถึงระบบสุริยะชั้นในเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก่อนจะเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่ห้วงอวกาศระหว่างดาว เชื่อกันว่า ดาวหางคาบสั้นมีต้นกำเนิดมาจากแถบไคเปอร์หรือแถบหินกระจาย ซึ่งอยู่ไกลออกไปจากวงโคจรของดาวเนปจูน ดาวหางคาบยาวมาจากห้วงอวกาศที่ไกลกว่านั้น เช่นจากกลุ่มเมฆน้ำแข็งซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนเศษซากที่หลงเหลืออยู่หลังจากการรวมตัวกันของเนบิวลาสุริยะ เมฆเหล่านี้เรียกว่า เมฆออร์ต ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ แจน ออร์ต เมฆออร์ตอยู่ในระยะที่ไกลออกไปจากแถบไคเปอร์ ดาวหางเหวี่ยงตัวเองจากขอบนอกของระบบสุริยะเข้ามาหาดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงอันยุ่งเหยิงของบรรดาดาวเคราะห์รอบนอก (ในกรณีของวัตถุจากแถบไคเปอร์) หรือจากดาวฤกษ์อื่นใกล้เคียง (ในกรณีของวัตถุจากเมฆออร์ต) หรือเป็นผลจากการกระทบกันเองระหว่างวัตถุในย่านเหล่านี้

ดาวหางแตกต่างจากดาวเคราะห์น้อย โดยสามารถสังเกตได้จากโคมา และหาง แม้ว่าดาวหางที่เก่าแก่มากๆ จะสูญเสียความสามารถในการระเหยของธาตุในตัวไปจนหมด ทำให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อย ทั้งนี้ เชื่อกันว่าดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดที่แตกต่างไปจากกำเนิดของดาวหาง เพราะดาวเคราะห์น้อยน่าจะก่อตัวอยู่ในบริเวณระบบสุริยะชั้นใน มิได้มาจากส่วนนอกของระบบสุริยะ แต่จากการค้นพบไม่นานมานี้ ทำให้การแยกแยะระหว่างดาวเคราะห์น้อยกับดาวหางไม่ชัดเจนนัก (ดูเพิ่มที่ เซนทอร์ และ คำจำกัดความของดาวเคราะห์น้อย)

นับถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 มีรายงานการค้นพบดาวหางแล้วจำนวน 3,648 ดวง ในจำนวนนี้ 1,500 ดวงเป็นดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ตระกูลครอทซ์ และประมาณ 400 ดวงเป็นดาวหางคาบสั้น ตัวเลขนี้ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี นี่แสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรเพียงส่วนเล็กน้อยของจำนวนดาวหางทั้งหมดเท่านั้น วัตถุคล้ายดาวหางทั้งหมดที่มีในระบบสุริยะชั้นนอกน่าจะมีอยู่เป็นจำนวนล้านล้านดวง จำนวนดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเฉลี่ยแล้วมีประมาณปีละ 1 ดวง แม้ว่าส่วนมากจะค่อนข้างจางแสงมากและไม่สวยงามน่าชม เมื่อมีการพบดาวหางสว่างมากหรือสวยงามโดดเด่นในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีผู้มองเห็นเป็นจำนวนมากๆ มักจะเรียกดาวหางเหล่านั้นว่า ดาวหางใหญ่

ลักษณะทางกายภาพ

ลักษณะทางกายภาพของดาวหางสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนนิวเคลียส โคม่าและหาง
นิวเคลียสของดาวหางมีขนาดตั้งแต่ 0.5 กิโลเมตรไปจนถึง 50 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยหินแข็ง ฝุ่น น้ำแข็ง และแก๊สแข็งเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และแอมโมเนีย[11] องค์ประกอบนี้มักนิยมเรียกกันว่า "ก้อนหิมะสกปรก" แม้จากการสังเกตเมื่อไม่นานมานี้พบว่าพื้นผิวของดาวหางนั้นแห้งและเป็นพื้นหิน สันนิษฐานว่าก้อนน้ำแข็งซ่อนอยู่ใต้เปลือก ในดาวหางยังมีสารประกอบอินทรีย์ปรากฏอยู่ด้วย นอกเหนือจากแก๊สหลายชนิดดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเมทานอล ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ฟอร์มัลดีไฮด์ เอทานอล และอีเทน บางทีก็มีโมเลกุลที่ซับซ้อนมากขึ้นเช่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนห่วงโซ่ยาว และกรดอะมิโน นอกจากนี้ จากการศึกษาดาวหางในย่านความถี่อัลตราไวโอเลต พบว่ามีชั้นของไฮโดรเจนห่อหุ้มดาวหางอีกชั้นหนึ่ง ไฮโดรเจนเหล่านี้เกิดจากไอน้ำที่แตกตัวอันเนื่องมาจากรังสีจากดวงอาทิตย์ นิวเคลียสของดาวหางมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นทรง เพราะมันไม่มีมวล (ซึ่งแปรผันกับแรงโน้มถ่วง) มากพอที่จะกลายเป็นทรงกลมได้

ในระบบสุริยะรอบนอก ดาวหางจะคงสภาพแช่แข็งและไม่สามารถสังเกตได้จากโลกหรือสังเกตได้ยากมาก เนื่องจากมันมีขนาดเล็กมาก (แต่ก็มีนิวเคลียสดาวหางบางดวงในแถบไคเปอร์ที่สามารถมองเห็นได้) เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้ามาสู่ระบบสุริยะรอบใน ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้น้ำแข็งและแก๊สแข็งระเหิดเป็นไอ และปล่อยแก๊สออกมาเกาะกลุ่มกับฝุ่นผงในอวกาศกลายเป็นม่านทรงกลมขนาดมหึมาล้อมรอบนิวเคลียส เรียกว่า โคม่า ซึ่งโคม่าอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึงหลายล้านกิโลเมตรก็ได้ แรงดันจากรังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์และลมสุริยะจะกระทำต่อโคม่านี้ ทำให้เกิดเป็นละอองขนาดใหญ่ลากยาวออกไปเป็นหาง ในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์

กระแสฝุ่นและแก๊สทำให้เกิด "หาง" ในรูปแบบที่แตกต่างกัน คือ หางแก๊ส หรือ หางพลาสมา หรือ หางไอออน ประกอบด้วยไอออน และโมเลกุลที่ส่องสว่างโดยการเรืองแสง ถูกผลักออกไปโดยสนามแม่เหล็กในลมสุริยะ ดังนั้นความผันแปรของลมสุริยะจึงมีผลต่อการเปลี่ยนรูปร่างของหางแก๊สด้วย หางแก๊สจะอยู่ในระนาบวงโคจรของดาวหาง และชี้ไปในทิศเกือบตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดี หางอีกชนิดหนึ่งคือ หางฝุ่น ประกอบด้วยฝุ่นหรืออนุภาคอื่น ๆ ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ถูกผลักออกจากดาวหางด้วยแรงดันจากการแผ่รังสี กลายเป็นหางที่มีรูปทรงห่อโค้งไปด้านหลัง ในขณะที่ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ หางของมันอาจยาวได้ถึงหลายร้อยล้านกิโลเมตร ความยาวของหางแก๊สเคยบันทึกได้สูงสุดมากกว่า 1 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร)

ทั้งโคม่าและหางจะเรืองแสงได้จากดวงอาทิตย์ และสามารถมองเห็นได้จากโลกเมื่อดาวหางเคลื่อนเข้ามาสู่ระบบสุริยะชั้นใน ฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ได้โดยตรง ขณะที่กลุ่มแก๊สเรืองแสงได้ด้วยการแตกตัวเป็นไอออน ดาวหางส่วนใหญ่จะมีความสว่างเพียงจาง ๆ ซึ่งจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ แต่ก็มีดาวหางจำนวนหนึ่งที่มีความสว่างพอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผ่านเข้ามาใกล้ทุก ๆ ทศวรรษ บางครั้งก็มีการระเบิดใหญ่ขึ้นแบบฉับพลันในกลุ่มแก๊สและฝุ่น ทำให้ขนาดของโคม่าขยายตัวขึ้นมากชั่วขณะหนึ่ง เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2550 กับดาวหางโฮมส์

ข้อมูลที่น่าพิศวงคือ นิวเคลียสของดาวหางนับเป็นวัตถุอวกาศที่มืดที่สุดพวกหนึ่งในบรรดาวัตถุในระบบสุริยะ ยานจอตโตพบว่านิวเคลียสของดาวหางฮัลเลย์มีความสามารถสะท้อนแสงเพียง 4% เท่านั้น ส่วนยานดีปสเปซ 1 พบว่าพื้นผิวของดาวหางโบร์เรลลีสามารถสะท้อนแสงได้ราว 2.4 ถึง 3% ขณะที่พื้นผิวยางมะตอยสามารถสะท้อนแสงได้ 7% คาดกันว่าสารประกอบอินทรีย์อันซับซ้อนของนิวเคลียสเหล่านั้นเป็นวัสดุที่มีพื้นผิวมืด ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้องค์ประกอบที่ระเหยง่ายกลายเป็นไอหายไป เหลือแต่สารประกอบอินทรีย์แบบห่วงโซ่ยาวซึ่งเป็นสสารมืดเหมือนอย่างน้ำมันดินหรือน้ำมันดิบ พื้นผิวที่มืดของดาวหางทำให้มันสามารถดูดซับความร้อนได้ดีและยิ่งระเหิดได้ง่ายขึ้น

ในปี พ.ศ. 2539 มีการค้นพบว่าดาวหางปลดปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาด้วย ซึ่งทำให้เหล่านักวิจัยพากันประหลาดใจ เพราะไม่เคยคาดกันมาก่อนว่าจะมีการปล่อยรังสีเอกซ์จากดาวหาง เชื่อว่ารังสีเอกซ์เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างดาวหางกับลมสุริยะ ขณะที่ประจุไฟฟ้าศักย์สูงเคลื่อนผ่านบรรยากาศรอบดาวหางแล้วเกิดปะทะกับอะตอมและโมเลกุลของดาวหาง ในการปะทะนั้นไอออนได้จับกับอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่ง แล้วปล่อยรังสีเอกซ์รวมถึงโฟตอนที่ความถี่ระดับอัลตราไวโอเลตไกล


ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87
57
การเกิดสุริยุปราคาในประเทศไทยที่เคยมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของวงการดาราศาสตร์
ครั้งที่ 1 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ตรงตามเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณไว้ ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกของไทย
ครั้งที่ 2 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418
ครั้งที่ 3 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2472
ครั้งที่ 4 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในหลายจังหวัด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2498
ครั้งที่ 5 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในเขต 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดพิจิตร และ จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ส่วนสุริยุปราคาเต็มดวง ที่จะเห็นในประเทศไทยครั้งต่อไป จะเกิดในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2#.E0.B8.AA.E0.B8.B8.E0.B8.A3.E0.B8.B4.E0.B8.A2.E0.B8.B8.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B2.E0.B8.84.E0.B8.B2.E0.B9.83.E0.B8.99.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B9.80.E0.B8.97.E0.B8.A8.E0.B9.84.E0.B8.97.E0.B8.A2
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1385552
http://www.oknation.net/blog/benyoparn/2009/07/23/entry-3
http://www.suriyothai.ac.th/th/node/313?page=0,3
58
สุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เป็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้คำนวณปรากฎการณ์ดังกล่าวไว้ล่วงหน้าถึงสองปี และทรงเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนี้กับราชอาคันตุกะยังบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนได้ชื่อว่า "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ส่วนประชาคมดาราศาสตร์สากลได้เรียกสุริยุปราคาในครั้งนี้ว่า "King of Siam's eclipse" (อุปราคาของพระเจ้ากรุงสยาม) เหตุการณ์ดังกล่าวยังนำไปสู่การค้นพบธาตุฮีเลียม โดย ปิแอร์ จองส์ชอง กัปตันบุลล็อกได้สเก็ตช์ลักษณะของโคโรนาของดวงอาทิตย์ ขณะสังเกตการณ์จากทะเลเซลีเบส

การคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การคำนวณสุริยุปราคาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.คำนวณหาตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ โดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาในต่างประเทศ
2.คำนวณเพื่อตรวจสอบว่า จะมีโอกาสเกิดอุปราคาได้หรือไม่
3.คำนวณว่าการเกิดอุปราคาจะมีลักษณะอย่างไร จะเห็นได้ที่ไหน และเวลาเท่าไรถึงเท่าไรตามระบบเวลามาตรฐาน

พระองค์ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึงสองปี ว่าเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ ตำบลหว้ากอ ตรงละติจูด 11 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 99 องศา 39 ลิปดาตะวันออก สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นนานที่สุดอยู่ตรงเชิงเขาหลวง โดยที่พระองค์ทรงคำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีอยู่ในหลักฐานการคำนวณของหอดูดาวกรีนิซแต่อย่างใด ฝ่ายการคำนวณของกรีนิซนั้นแสดงเฉพาะแนวศูนย์กลางของการพาดผ่านของเงามืดเพียงเส้นเดียว แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยากรณ์ว่าอุปราคานั้นจะเห็นมืดทั้งดวงตั้งแต่ชุมพรถึงปราณบุรี นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งก็ได้ทำนายสุริยุปราคาคราวนี้ด้วยเช่นกัน แต่คำนวณผิดพลาดไป 2 นาที

การค้นพบฮีเลียม
นักดาราศาสตร์ ปิแอร์ จองส์ชอง สังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้จากคุนตูร์ รัฐไอเดอราบัด ประเทศอินเดีย นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแดงนับตั้งแต่ทฤษฎีของเคอร์ชอฟฟ์ซึ่งเสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2402 ว่า เส้นฟรอนโฮเฟอร์ในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์มีความสัมพันธ์กับแถบเปล่งแสงของธาตุเคมีต่างชนิดที่มีอยู่ในดวงอาทิตย์ จองส์ชองสังเกตการณ์สุริยุปราคาดังกล่าวด้วยสเปกโตรมิเตอร์ เขาสังเกตพบแถบสีเหลืองสว่าง (ความยาวคลื่น 587.49 นาโนเมตร) ในสเปกตรัมของเปลวสุริยะซึ่งไม่อาจเป็นธาตุโซเดียมอย่างที่เคยสันนิษฐานไว้เดิมได้ และในภายหลัง ก็สามารถสังเกตพบแถบเดิมโดยไม่จำเป็นต้องสังเกตในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาขึ้นก่อน ผลแบบเดียวกันยังถูกพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ นอร์แมน ล็อกเยอร์ และทั้งการสื่อสารของจองส์ชองและล็อกเยอร์ถูกนำเสนอไปยังสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2411

บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา   6 นาที 47 วินาที
พิกัด   10.6N 102.2E
ความกว้างของเงามืด   245 กิโลเมตร


ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87_18_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2411

59
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / สุริยุปราคา
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2011, 01:09:57 PM »
สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก
โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ
เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้
ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง
โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้
สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548
และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชนิดของสุริยุปราคา
สุริยุปราคามี 4 ชนิด ได้แก่
สุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse) : ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
สุริยุปราคาบางส่วน (partial eclipse) : มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
สุริยุปราคาวงแหวน (annular eclipse) : ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
สุริยุปราคาผสม (hybrid eclipse) : ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
สุริยุปราคาจัดเป็นอุปราคาประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ
การที่ขนาดของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์เกือบจะเท่ากันถือเป็นเหตุบังเอิญ ดวงอาทิตย์มีระยะห่างเฉลี่ยจากโลกไกลกว่าดวงจันทร์ประมาณ 390 เท่า และเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ก็ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ประมาณ 400 เท่า ตัวเลขทั้งสองนี้ซึ่งไม่ต่างกันมาก ทำให้ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อมองจากโลก คือปรากฏด้วยขนาดเชิงมุมราว 0.5 องศา
วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรีเช่นเดียวกันกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงไม่คงที่[3][4] อัตราส่วนระหว่างขนาดปรากฏของดวงจันทร์ต่อดวงอาทิตย์ขณะเกิดคราสเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าสุริยุปราคาอาจเป็นชนิดใด ถ้าคราสเกิดขึ้นระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด (perigee) อาจทำให้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่มากพอที่จะบดบังผิวสว่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่าโฟโตสเฟียร์ได้ทั้งหมด ตัวเลขอัตราส่วนนี้จึงมากกว่า 1 แต่ในทางกลับกัน หากเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุด (apogee) คราสครั้งนั้นอาจเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ อัตราส่วนนี้จึงมีค่าน้อยกว่า 1 สุริยุปราคาวงแหวนเกิดได้บ่อยกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าจะบดบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด

การสังเกตสุริยุปราคา
การมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าไม่ว่าจะมองในเวลาใดก็ตามส่งผลเสียต่อดวงตา แม้แต่มองดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคา แต่สุริยุปราคาก็เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสนใจและศึกษาอย่างมาก การใช้อุปกรณ์ช่วยในการมอง เช่นกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ก็ยิ่งทำให้เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นไปอีก
ดังนั้นการดูดวงอาทิตย์จึงต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยกรองรังสีบางชนิดที่จะเข้าสู่ดวงตา การใช้แว่นกันแดดในการมองเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถป้องกันสิ่งที่เป็นอันตราย รวมทั้งรังสีอินฟราเรดที่มองไม่เห็นซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเรตินาได้ การสังเกตจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถมองดูดวงอาทิตย์ได้ตรง ๆ

การสังเกตที่ปลอดภัยมากที่สุด คือการฉายแสงจากดวงอาทิตย์ผ่านอุปกรณ์อื่น เช่น กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ แล้วใช้กระดาษสีขาวมารองรับแสงนั้น จากนั้นมองภาพจากกระดาษที่รับแสง แต่การทำเช่นนี้ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครมองผ่านอุปกรณ์นั้นโดยตรง ไม่เช่นนั้นจะทำอันตรายต่อดวงตาของคนนั้นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้ามีเด็กอยู่บริเวณนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม สามารถดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรงได้เฉพาะในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว สุริยุปราคาเต็มดวงยังสวยงามอีกด้วย ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจะเห็นบรรยากาศชั้นคอโรนาแผ่ไปรอบดวงอาทิตย์ บางครั้งอาจเห็นโครโมสเฟียร์ (chromosphere) และเปลวสุริยะ (prominence) ที่พุ่งออกมาจากขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ควรหยุดดูดวงอาทิตย์ก่อนที่จะสิ้นสุดสุริยุปราคาเต็มดวงเล็กน้อย

ประโยชน์ของการสังเกตสุริยุปราคา
นักดาราศาสตร์ใช้การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในการสังเกตบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ซึ่งตามปกติจะถูกแสงที่สว่างจ้าของบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์กลบจนไม่สามารถมองเห็นได้

สุริยุปราคามีระยะเวลา หรือวงรอบของการเกิดที่แน่นอน ทำให้สามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาครั้งต่อไปได้โดยการคำนวณอย่างง่ายๆจากความเร็วในการเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ เปรียบเทียบตำแหน่งกับการที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=982.0
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1385552


60
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / จันทรุปราคา
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2011, 11:59:48 AM »
จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์

การเกิด จันทรุปราคา (เรียกได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน)  คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ)
เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์
ซึ่งลักษณะของจันทรุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์ที่เคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกในเวลานั้นๆ

จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก
จึงทำให้คนบนซีกโลกเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง
จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์

ส่วน “จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐ
ขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม

ผลกระทบ การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน
แต่มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อในหลายวัฒนธรรมมาช้านาน รวมทั้งของไทยด้วย
แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า
“ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น
ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้ เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”

ประเภทของจันทรุปราคา
- จันทรุปราคาเงามัว เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามัวของโลก จันทรุปราคาลักษณะนี้จะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- จันทรุปราคาเงามัวเต็มดวง เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามัวของโลกทั้งดวงแต่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์ด้านที่อยู่ใกล้เงามืดมากกว่าจะมืดกว่าด้านที่อยู่ไกลออกไป จันทรุปราคาลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
- จันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าสู่เงามืดของโลกทั้งดวง ดวงจันทร์จะอยู่ภายใต้เงามืดของโลกนานเกือบ 107 นาที เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วประมาณ 1 กิโลเมตรต่อวินาที แต่หากนับเวลาตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าสู่เงามืดจนออกจากเงามืดทั้งดวง อาจกินเวลาถึง 6 ชั่วโมง 14 นาที
- จันทรุปราคาบางส่วน เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน จันทรุปราคาเกิดจากประมาณว่าดวงจันทร์มาบังดวงอาทิตย์

ปัจจัยในการเกิดจันทรุปราคา
จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์และระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือจันทรุปราคาบางส่วนได้
ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์มีผลต่อความเข้มของจันทรุปราคาด้วย นอกจากนี้ หากดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) จะทำให้ระยะเวลาในการเกิดจันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
1 ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เพราะตำแน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดตลอดการโคจรรอบโลก
2 ดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกจะมีขนาดเล็ก จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปทีละน้อย ทำให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น
ในทุกๆ ปีจะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หากเก็บสถิติการเกิดจันทรุปราคาแล้ว จะสามารถทำนายวันเวลาในการเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปได้
การสังเกตจันทรุปราคาแตกต่างจากสุริยุปราคา จันทรุปราคาส่วนใหญ่จะสามารถสังเกตได้จากบริเวณใดๆ บนโลกที่อยู่ในช่วงเวลากลางคืนขณะนั้น ขณะที่สุริยุปราคาจะสามารถสังเกตได้เพียงบริเวณเล็กๆ เท่านั้น
หากขึ้นไปยืนอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ขณะที่เกิดจันทรุปราคาบนโลก ก็จะสามารถเห็นการเกิดสุริยุปราคาบนดวงจันทร์ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่โลกกำลังบังดวงอาทิตย์อยู่ในเวลานั้น


ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/sec04p01.html
http://www.space.mict.go.th/news.php?id=3
http://yoddiary.wordpress.com/2011/06/08/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E2%80%9C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E2%80%9D%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1/
http://www.thaispaceweather.com/July09.html



หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10