กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
61
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 04:21:55 PM »
กำเนิดของโลก
โลกเป็นสมาชิกหนึ่งของระบบสุริยะ โดยมีดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางของระบบ สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับกำเนิดของระบบสุริยะนั้น มีหลายทฤษฎีที่กล่าวไว้เช่น

-พ.ศ.2339 คานท์ และ ลาพลาส ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดระบบสุริยะไว้ โดยเขาเชื่อว่าดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์และสิ่งต่าง ๆ ในระบบสุริยะมีกำเนิดมาจาก กลุ่มแก๊สที่ร้อนจัด และหมุนอยู่แรงเหวี่ยงจากการหมุน ทำให้ เกิดเป็นลักษณะ วงแหวนหมุนกระจายออกจากจุดศูนย์กลาง ต่อมาบริเวณศูนย์กลางของวงแหวน ก็กลายเป็นดวงอาทิตย์ ส่วนกลุ่มแก๊สในแต่ละวงแหวนก็จะรวมตัวกันแล้วหดตัว กลายเป็นดาวเคราะห์ และสิ่งอื่น ๆ ในระบบสุริยะ ซึ่งรวมทั้งโลก ที่เราอาศัยอยู่นี้ด้วยแต่ ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริงเมื่อดาวเคราะห์ต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ดวงอาทิตย์ก็ควร จะหมุนเร็วขึ้นแต่กลับปรากฏว่า ดวงอาทิตย์นั้นหมุนช้ามาก ทฤษฎีนี้จึงต้องมีการปรับปรุง

-พ.ศ 2493 เฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดระบบสุริยะขึ้นอีก โดยอาศัยทฤษฎ๊ของลาพลาส และหลักฐานจากการศึกษาปรากฏการณ์ท้องฟ้าเพิ่มเติม ซึ่งสรุปความได้ว่ามีดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน จากการรวมตัวของกลุ่มแก๊สและฝุ่นละออง ต่อมาดวงอาทิตย์ที่เกิดใหม่นี้เริ่มมีแสงสว่าง และยังคงมีกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองห้อมล้อมอยู่ โดยหมุนไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ กลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองเหล่านี้ถูกดึงดูดให้อัดตัวแน่นขึ้น และรวมตัวเป็นก้อนขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นก้อนวัตถุขนาดใหญ่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งก็คือดาวเคราะห์นั่นเอง

ให้สังเกตข้อแตกต่างของทั้งสองทฤษฏีนี้ ซึ่งดูเผินๆจะเหมือนกัน แค่ความจริงต่างกัน

-ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์ พ.ศ.2444 กล่าวว่า มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ ทำให้มวลบางส่วนของดาวฤกษ์และดวงอาทิตย์หลุดออกมากลายเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ รวมทั้งโลกและวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ
ทฤษฎีเจม ยีนส์ ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือเท่าไร

*  แต่ที่สำคัญปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใด

แต่ก็พอสรุปคร่าวๆ พอเข้าใจได้ง่ายๆ ได้ว่า
"โลกรวมทั้งระบบสุริยะจักรวาลเกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่นขนาดยักษ์ที่เรียกว่า “เนบิวล่า” (Nebular)"

โลกที่เกิดขึ้นในยุคแรก ๆ จะเป็นกลุ่มก๊าซ ฝุ่นละออง และแร่ธาตุที่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันทำให้โลกไม่มีการแยกชั้นเหมือนในปัจจุบัน แต่เพราะแรงดึงดูดมหาศาลทำให้ก๊าซ ฝุ่นละออง แร่ธาตุต่าง ๆ มีการรวมตัวกันมากขึ้นจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ การชนกัน, การอัดตัวของสสารต่าง ๆ และการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีภายในโลกก่อให้เกิดความร้อนขึ้น

เมื่อโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีมากที่สุดในโลกหรือประมาณ 1 ใน 3 ของมวลโลก จะหลอมละลายแล้วรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่จมลงสู่ใจกลางโลกกลายเป็น “แก่นโลก” ส่วนสสารที่เบากว่าจำพวกหินแข็งจะลอยขึ้นสู่ด้านบน และเย็นตัวลงกลายเป็น ”เปลือกโลก” และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่โลกเริ่มแบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ รวม 3 ชั้น ทีนี้เราไปทำความรู้จักกันดีกว่าว่าแต่ละชั้นที่ว่านั้นเป็นอย่างไร

1. ชั้นแรกนี้เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลก เรียกว่า ชั้นแก่นโลก (Core) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ แก่นโลกชั้นนอก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโลหะหลอมเหลว จำพวกเหล็กและนิกเกิล ชั้นนี้มีอุณหภูมิสูงประมาณ 2,200 องศาเซลเซียส

และแก่นโลกชั้นใน มีสภาพเป็นโลหะแข็ง และมีอุณหภูมิสูงมากถึง 7,000 องศาเซลเซียส!!! ในชั้นนี้มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กและนิเกิลเหมือนแกนโลกชั้นนอก แต่มีสภาพเป็นโลหะแข็ง เนื่องจากได้รับแรงดันที่กดลงจากด้านบนมากที่สุด

2. ชั้นที่สองเรียกกันว่า เนื้อโลก หรือชั้นแมนเทิล (Mantle) มีสภาพส่วนใหญ่เป็นหินหลอมเหลว เนื่องจากได้รับความร้อนจากแก่นโลกที่มีอุณหภูมิสูงมาก หินหลอมเหลวที่อยู่ในชั้นนี้ มีชื่อที่คุ้นหูว่า แมกมา (Magma) แต่เมื่อแมกมาปะทุขึ้นมาบนเปลือกโลกจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด จะเรียกว่า ลาวา (Lava) นั่นเอง

3. ชั้นที่สามเป็นชั้นที่อยู่นอกสุด เรียกว่า ชั้นเปลือกโลก (Crust) บางส่วนของเปลือกโลกเกิดจากการเย็นตัวของลาวาแล้วกลายสภาพเป็นหินแข็ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิต และหินบะซอลต์ เปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่เหนือหินหลอมเหลวหรือแมกมา ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้แผ่นเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3,500 ล้านปีมาแล้วมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมนุษย์เราสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวนี้ได้จากการเกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว



ที่มา:
http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20071106205458AAnS7bg
http://www.ethailander.com/index.php/-othermenu-24/92-2010-10-11-12-16-41
http://www.suriyothai.ac.th/th/node/1385
http://forpetroleum.blogspot.com/2009/07/blog-post_11.html
http://student.nu.ac.th/Angwara_edu/lesson1.html
http://koogan.ob.tc/-View.php?N=80
http://www.vcharkarn.com/vcafe/9627


62
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ดาราจักร
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 04:09:57 PM »
ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (อังกฤษ: galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias [γαλαξίας] หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง โคจรรอบศูนย์กลางมวลจุดเดียวกัน ในดาราจักรหนึ่ง ๆ ยังประกอบไปด้วยระบบดาวหลายดวง กระจุกดาวจำนวนมาก และเมฆระหว่างดาวหลายประเภท ดวงอาทิตย์ของเราเป็นหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์ในดาราจักรทางช้างเผือก เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะซึ่งมีโลกและวัตถุอื่น ๆ โคจรโดยรอบ

ในอดีตมีการแบ่งดาราจักรเป็นชนิดต่าง ๆ โดยจำแนกจากลักษณะที่มองเห็นด้วยตา รูปแบบที่พบโดยทั่วไปคือดาราจักรรี (elliptical galaxy) ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นรูปทรงรี ดาราจักรชนิดก้นหอย (spiral galaxy) เป็นดาราจักรรูปร่างแบนเหมือนจาน ภายในมีแขนฝุ่นเป็นวงโค้ง ดาราจักรที่มีรูปร่างไม่แน่นอนหรือแปลกประหลาดเรียกว่าดาราจักรแปลก (peculiar galaxy) ซึ่งมักเกิดจากการถูกรบกวนด้วยแรงโน้มถ่วงของดาราจักรข้างเคียง อันตรกิริยาระหว่างดาราจักรในลักษณะนี้อาจส่งผลให้ดาราจักรมารวมตัวกัน และทำให้เกิดสภาวะที่ดาวฤกษ์มาจับกลุ่มกันมากขึ้นและกลายสภาพเป็นดาราจักรที่สร้างดาวฤกษ์ใหม่อย่างบ้าคลั่ง เรียกว่าดาราจักรชนิดดาวกระจาย (starburst galaxy) นอกจากนี้ดาราจักรขนาดเล็กที่ปราศจากโครงสร้างอันเชื่อมโยงกันก็มักถูกเรียกว่าดาราจักรไร้รูปแบบ (irregular galaxy)

เชื่อกันว่าในเอกภพที่สังเกตได้มีดาราจักรอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านแห่ง ดาราจักรส่วนใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1,000 ถึง 100,000 พาร์เซก และแยกห่างจากกันและกันนับล้านพาร์เซก (หรือเมกะพาร์เซก) ช่องว่างระหว่างดาราจักรประกอบด้วยแก๊สเบาบางที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่ำกว่า 1 อะตอมต่อลูกบาศก์เมตร ดาราจักรส่วนใหญ่จะจับกลุ่มเรียกว่ากระจุกดาราจักร (cluster) ในบางครั้งกลุ่มของดาราจักรนี้อาจมีขนาดใหญ่มาก เรียกว่ากลุ่มกระจุกดาราจักร (supercluster) โครงสร้างขนาดมหึมาขึ้นไปกว่านั้นเป็นกลุ่มดาราจักรที่โยงใยถึงกันเรียกว่า ใยเอกภพ (filament) ซึ่งกระจายอยู่ครอบคลุมเนื้อที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของเอกภพ

แม้จะยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก แต่ดูเหมือนว่าสสารมืดจะเป็นองค์ประกอบกว่า 90% ของมวลในดาราจักรส่วนใหญ่ ข้อมูลจากการสังเกตการณ์พบว่าหลุมดำมวลยวดยิ่งอาจอยู่ที่บริเวณใจกลางของดาราจักรจำนวนมาก แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด มีข้อเสนอว่ามันอาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นของนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (active galactic nucleus: AGN) ซึ่งพบที่บริเวณแกนกลางของดาราจักร ดาราจักรทางช้างเผือกเองก็มีหลุมดำเช่นว่านี้อยู่ที่นิวเคลียสด้วยอย่างน้อยหนึ่งหลุม

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B5
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3
http://www.astronomybp.ob.tc/andromeda%20galaxy.htm
http://www.vcharkarn.com/vcafe/34832/2




63
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ทางช้างเผือก
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 04:01:22 PM »
ทางช้างเผือก ( Milky Way ) เป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาวในท้องฟ้าที่คาดไปรอบทรงกลมฟ้า เกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ระบบสุริยะของเราเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร

แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรก้นหอยแบบมีแกนเสียมากกว่า (ดังภาพ)

เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก

คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลพิษทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศโลก

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81
http://www.tps.ac.th/~lop/astro/index_files/page0002.htm
64
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / เนบิวลา
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 03:53:49 PM »
เนบิวลา (อังกฤษ: Nebula - มาจากภาษาละติน nebula (พหูพจน์ nebulae) หมายถึง "หมอก") เป็นกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก (ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยเรียกดาราจักรแอนดรอเมดาว่าเนบิวลาแอนดรอเมดา)

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2
https://mrvop.wordpress.com/tag/nebula/
http://landofsmileseal.9.forumer.com/a/welcome-to-nebulas-guild_post20.html
http://news.nationalgeographic.com/news/2007/04/070412-square-nebula.html
65
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / วงโคจร
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 03:43:44 PM »
วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี

ความเข้าใจในปัจจุบันของกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ( Albert Einstein) ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอเดสิก (geodesics)

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%A3
http://www.pookazza.com/pookazza/index.php?option=com_content&view=article&id=12:2010-01-11-11-22-59&catid=30:horoscope&Itemid=4&lang=th
http://daejeonastronomy.exteen.com/20110108/our-solar-system-1
http://www.saintnic.ac.th/stdwork/s_oct10/Web-solarsystem/images/800px-Solar_sys.jpg

66
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ฝนดาวตก
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 03:27:27 PM »
ฝนดาวตก คือดาวตกหลายดวงที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้าในช่วงเวลาเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้ามาในบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง แต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า "ธารสะเก็ดดาว" หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกัน โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกันของแต่ละปี ทำให้เกิดฝนดาวตก

การที่สะเก็ดดาวในธารเดียวกัน เคลื่อนที่ขนานกันและมีอัตราเร็วเท่ากัน ดาวตกที่เราเห็นจึงดูเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันในท้องฟ้า ซึ่งเป็นผลจากทัศนมิติ (perspective) เปรียบเหมือนกับที่เราเห็นรางรถไฟไปบรรจบกันที่ขอบฟ้า เมื่อยืนดูจากกลางราง

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%81
http://www.teenkan.com/news2.php?id_news=196
http://www.rd1677.com/rd_sarabury/open_sarabury.php?id=75062
67
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / วัตถุท้องฟ้า
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 03:16:32 PM »
วัตถุท้องฟ้า หมายถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง ฯลฯ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ใช้คำว่า "เทห์ฟากฟ้า" หรือ "เทห์ฟ้า" แต่ในวงการดาราศาสตร์นิยมใช้คำว่า "วัตถุท้องฟ้า"

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2
http://sites.google.com/site/thinkstars/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3/karchnthiyingh-ybnthxngfa
http://thaiastro.nectec.or.th/report/report40.html
http://www.parmote2009.ob.tc/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%81.htm

68
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ดาวฤกษ์
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 19, 2011, 02:16:48 PM »
ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์

ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้

ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า

ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้

ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C
http://server.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/science03/08/p1.html
http://www.astronomybp.ob.tc/star.htm
http://www.bangkokbiznews.com/2006/02/23/s009_79878.php?news_id=79878


69
AU หมายถึง หน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ เทียบจากระยะทางระหว่างโลก และดวงอาทิตย์
หรืออาจจะพูดให้ง่ายขึ้นคือ ระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ คือ 149,597,900,000 เมตร

หน่วย AU (Astronomical Unit) เหมาะสำหรับดาวฤกษ์ที่อยู่ไม่ไกลมากนัก โดย 1 AU =  1.496 x 108 กิโลเมตร

ที่มา:
http://www.thaispaceweather.com/IHY/Stars/star.htm
70
Nightshade / Coordinates System (ระบบพิกัด) ในทางดาราศาสตร์
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 18, 2011, 04:41:32 PM »
Coordinates (โค-ออ-ดิ-เนท) หรือระบบพิกัด  เป็นระบบที่ใช้สำหรับอ้างอิงตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า ในทางดาราศาสตร์นิยมใช้กันอยู่ 2 แบบคือ
 1. ระบบขอบฟ้า (The Horizontal system) หรือ บางทีเรียกว่าระบบอัลติจูดและอะซิมุท (Altitude and Azimuth system)
       อัลติจูด (Altitude) หรือ มุมเงย เป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้า คือ 0 องศา ขี้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ Zenith คือ 90 องศา
       อะซิมุท (Azimuth) เป็นทิศทางตามแนวเส้นขอบฟ้า Horizontal Line เริ่มต้นจากทิศเหนือ 0 องศา ไปตามแนวทิศ ตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก กลับมาที่ทิศเหนือ ครบรอบ 360 องศา
        การบอกตำแหน่งด้วยวิธีนี้ จะบอกเป็นค่ามุมเงย และ มุมอะซิมุท พร้อมกัน มีหน่วยเป็นองศา และการบอกตำแหน่งระบบนี้ จะใช้ได้กับผู้สังเกตุที่อยู่บนเส้นละติจูดเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ( ลองจิจูดเดียวกัน)  เท่านั้น เช่นขณะนี้ดาวหางอยู่ที่ตำแหน่ง มุมอัลติจูด 45 องศา มุมอะซิมุท 270 องศา เป็นต้น
2. ระบบศูนย์สูตร (Equatorial System) เป็นระบบที่จำลองมาจากการบอกตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยเส้น ละติจูด และ ลองจิจูด โดยที่บนท้องฟ้าเราจะบอกตำแหน่งเป็นค่า เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) และ ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A)     
   เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) เปรียบได้กับละติจูด มีหน่วยเป็นองศา ใช้บอกระยะเชิงมุมของดาวว่าอยู่ห่างจาก เส้นศูนย์สูตรฟ้า ( 0 องศา) ไปทางทิศเหนือ ระหว่าง 0 ถึง +90 องศา หรือ ไปทางทิศใต้ ระหว่าง 0 ถึง –90 องศา เป็นมุมเท่าใด
   ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A) เปรียบได้กับ ลองจิจูด ที่บอกหน่วยเป็น เวลา ชั่วโมง:นาที:วินาที โดยที่ 360 องศามีค่าเท่ากับ 24 ชั่วโมง หรือ 15 องศา มีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมง ในทำนองเดียวกันกับเส้นลองจิจูด จุดเริ่มต้น 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมง อยู่ที่เมืองกรีนิช ในประเทศอังกฤษ สำหรับ R.A ค่า 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมงจะเริ่มที่จุดอ้างอิง Vernal Equinox (เวอร์นัล อิควินอค) คือจุดที่แนวเส้นEcliptic ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า พอดี ในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ตรงตำแหน่งกลุ่มดาวปลา (PISCES) แล้วนับไปทางขวามือ (Right) เป็นชั่วโมง นาที วินาที หรือถ้าเราหันหน้า เข้าหาทิศเหนือให้นับไปทางทิศตะวันออก แต่เนื่องจากกลุ่มดาวปลา ไม่ค่อยสว่างบนท้องฟ้าจึงสังเกตลำบาก เราอาจจะให้กลุ่มดาวค้างคาวหาตำแหน่งที่ RA เท่ากับศูนย์ได้เช่นกัน 
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10