กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: [1] 2 3 ... 10
1
ท้องฟ้าจำลอง / เราภูมิใจนำเสนอ ท้องฟ้าจำลอง
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ ตุลาคม 19, 2011, 09:23:10 AM »
เราเป็นผู้แทนจำหน่ายของบริษัท Digitalis Education Solutions จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องฉายดาว หรือ เครื่องทำ  ท้องฟ้าจำลอง แบบดิจิตอล (Digital Planetarium System) ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก

-ใช้งานง่าย การใช้งานเราใช้  รีโมทคอนโทรล  ในการคอบคุม  ทำให้การสอนและการเรียนรู้ทำได้ง่ายขึ้น
ไม่ใช่เรื่องยาก  ที่จะต้องมานั่งคำนวณว่า ตอนนี้  ดาวพฤหัสบดี อยู่ตรงนั้นตรงนี้  เพราะว่า Software
ได้คำนวณให้เรียบร้อยแล้ว 

-แทบไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรม  เนื่องจาก การใช้งานเครื่อง  เรามีคู่มือให้  สามารถที่จะฝึกการใช้งานได้ง่ายมาก

-ติดตั้ง และใช้งานง่าย  รวมทั้งการ  Maintenance  เครื่อง  ไร้กังวลกับเรื่องเล่านี้  เพราะว่า  เรามีคู่มือการติดตั้ง
และคู่มือในการใช้งานที่ง่ายๆ  แบบภาษาอังกฤษและภาษาไทยๆ  ให้ท่าน  เพื่อนำไปใช้งาน 
ส่วนเรื่องของการ Maintenance  แทบจะไม่มีการ Maintenance อะไร
เพราะเครื่องของเรามีสภาพที่คงทน  ยากต่อการเสียหาย  ทั้ง Hardware และ Software 

-สามารถฉายได้เต็มท้องฟ้า  เครื่องทำ  ท้องฟ้าจำลอง ของเรา  สามารถฉายภาพยนตร์  แบบ Full Dome ได้

-ความเชื่อถือ และ ความไว้วางใจ  วางใจได้  เมื่อท่านซื้อเครื่องทำ  ท้องฟ้าจำลอง  จากเรา
เรารับประกัน  ไร้ปัญหาเรื่องเครื่องร้อน 

-หมดกังวลเรื่อง ซอฟ์ทแวร์   เราอนุญาตให้ upgrade software ได้ตลอดเวลา
โดยผ่านเครือข่าย internet  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เข้ามา  เพื่อให้ท่านได้ใช้งาน
และได้ศึกษาดาราศาสตร์อย่างง่ายดาย

เราขอนำเอาภาพสัก 2-3 ภาพ  ซึ่งเป็นภาพบางส่วนเท่านั้น (ยังมีมากกว่านี้) นำมาให้ท่านได้ดู  เพื่อให้เห็นว่าเครื่องทำ  ท้องฟ้าจำลอง ของเรา ทำได้และมีอยู่จริง

นี่คือภาพของดาว Io (ดวงจันทร์ไอโอ)  ดวงจันทร์ไอโอเป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี


นี่คือภาพของ  เนบิวลา Southern Ring


นี่คือภาพของ กลุ่มดาว โอไรอัน (Orion) ซึ่งได้ขยายภาพ (Zoom in) จากเครื่องทำ  ท้องฟ้าจำลอง เพื่อเห็นภาพได้อย่างชัดๆ


สนใจ  ข้อมูลเพิ่มเติม  http://www.in-budget.net หรือ http://www.in-budget.net/favorite_info_id_2.html หรือ http://www.in-budget.net/digitarium_sub_id_1.html

ติดต่อ  http://www.in-budget.net/digitarium_contact_us_id_1.html


2
ท้องฟ้าจำลอง / เราขาย เครื่องทำ ท้องฟ้าจำลอง
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ ตุลาคม 19, 2011, 08:24:11 AM »
ที่นี่เราขาย เครื่องทำ ท้องฟ้าจำลอง

ทั้งแบบดิจิตอล (Digital Planetarium System) ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบติดตั้งกับที่ (Portable and Fixed Systems)

เครื่องทำ  ท้องฟ้าจำลอง  ของเรา  สามารถฉายดาวฤกษ์, ดาวเคราะห์และบริวารของดาวเคราะห์ (ดวงจันทร์), ดาวเคราะห์น้อย, กลุ่มดาวต่างๆ, เนบิวลา, แกแล็คซี่ และอื่นๆ อีกมากมายในจักรวาล  เพื่อประกอบการศึกษาดาราศาสตร์

ท้องฟ้าจำลอง  ของเรา  สามารถที่จะเล่นไฟล์ Video เช่น  ไฟล์ .mpg, .avi ได้

ท้องฟ้าจำลอง  ของเรา  สามารถเขียน Script  ซึ่งเราใช้ภาษา StratoScript  เป็นภาษาในการเขียน  เพื่อที่จำทำ Animation  หรือเขียน Script เพื่อนำไปใช้ประกอบกับแผนการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาเกิดความสนใจ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ท้องฟ้าจำลอง  ของเรา  สามารถเล่นภาพยนตร์ Full Dome ได้

ภาพตัวอย่างบางส่วนของ  ท้องฟ้าจำลอง ของเรา















สนใจ  ข้อมูลเพิ่มเติม  http://www.in-budget.net หรือ  http://www.in-budget.net/favorite_info_id_2.html

ติดต่อ  http://www.in-budget.net/digitarium_contact_us_id_1.html

3
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus)

          ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เป็นปรากฏการณ์ที่คนบนโลกเห็นดาวศุกร์เป็นวงกลมเล็ก ๆ ดำ ๆ บนดวงอาทิตย์ โดยจะเห็นวงกลมเล็ก ๆ นี้เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ช้า ๆ จากขอบด้านตะวันออกไปยังขอบด้านตะวันตกของดวงอาทิตย์ สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าแต่จะต้องผ่านแสงกรอบแว่นพิเศษ เห็นในเวลากลางวันเป็นเวลาหลายชั่วโมง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นคู่ห่างกัน ๘ ปี แต่ละคู่เกิดห่างกันกว่า ๑๒๐ ปี ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งสุดท้ายเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ หรือเมื่อกรุงเทพฯ มีอายุครบ ๑๐๐ ปี ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จึงเป็นปรากฏการณ์ที่นาน ๆ จึงจะเกิดขึ้นซึ่งหลายคนไม่มีโอกาสได้เห็น เพราะไม่เกิดปรากฏการณ์นี้ในขณะพวกเขายังมีชีวิตอยู่

          ผู้แสดงของปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ คือ ดาวศุกร์และดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ทุกคนรู้จักดี เพราะเป็นดาวที่นำชื่อมาตั้งเป็นวันศุกร์ เป็นดาวที่สว่างที่สุดบนฟ้า สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เท่านั้น วงโคจรของดาวศุกร์เล็กกว่าของโลก เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วกว่าโลก ดังนั้น เมื่อมองดูดาวศุกร์จากโลก จึงมองเห็นดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน ๔๘ องศา โดยอาจเห็นอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ หากเห็นอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์จะขึ้นหลังและตกหลังดวงอาทิตย์ ดังนั้น จึงเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ในกรณีเช่นนี้เราเรียกดาวศุกร์ว่า “ดาวประจำเมือง”

          ดาวศุกร์เป็นดาวประจำเมืองหลายเดือนก่อนที่จะไปอยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ เมื่อดาวศุกร์อยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์จะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ในเวลาใกล้รุ่งทางตะวันออก ในกรณีนี้เราเรียกดาวศุกร์ว่า “ดาวรุ่ง” หรือ “ดาวประกายพรึก” โดยจะเห็นดาวรุ่งประมาณกว่า ๙ เดือนก่อนจะกลับมาเป็นดาวประจำเมือง

          เป็นที่น่าสังเกตว่าดาวศุกร์จะกลับมาเป็นดาวประจำเมืองเหมือนเดิมในเวลาเดิมทุก ๆ ๘ ปี ขาดไป ๒.๕ วัน เช่น ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๙.๐๐ น. ดาวศุกร์อยู่สูงเป็นมุมเงย ๑๕ องศาทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางทิศเหนือ ๒๐ องศา อีก ๘ ปีขาดไป ๒.๕ วัน คือวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ดาวศุกร์จะอยู่สูงเป็นมุมเงย ๑๕ องศา ทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางทิศเหนือ ๒๐ องศา ซึ่งหมายความว่า ดาวศุกร์จะอยู่ในกลุ่มดาวเดิม ตำแหน่งเดิมเหมือนที่เคยเป็นเมื่อ ๘ ปี (ขาดไป ๒.๕ วัน) ก่อน

          ดาวศุกร์ขณะผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะอยู่ใกล้โลกที่สุด เพราะอยู่ในตำแหน่งที่อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์พอดี ขณะนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่ดาวศุกร์ปรากฏเคลื่อนที่ถอยหลัง นั่นคือเคลื่อนจากตะวันออกไปตะวันตก ทั้งนี้เพราะเมื่อดูจากโลกจะเห็นดาวศุกร์เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกช้ากว่าโลก ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จึงเห็นดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์จากขอบตะวันออกไปยังขอบตะวันตกของดวงอาทิตย์

          ขนาดปรากฏของดาวศุกร์ขณะผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะเป็นดวงกลมโตที่สุด โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม ๑ ลิปดา สำหรับดวงอาทิตย์มีขนาดเชิงมุมประมาณ ๓๐ ลิปดา

          ดังนั้น ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์จึงมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าดาวศุกร์ประมาณ ๓๐ เท่า ทำให้สามารถสังเกตดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ง่าย เพราะถ้าฉายภาพดวงอาทิตย์บนฉากโดยให้ภาพดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ภาพดาวศุกร์จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร

เกิดเป็นปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เมื่อใด

          ที่กรุงเทพฯ การแสดงของดาวศุกร์กับดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ โดยดาวศุกร์เริ่ม
          (๑) สัมผัสขอบดวงอาทิตย์ครั้งแรก เมื่อเวลา ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๗ นาที
          (๒) สัมผัสครั้งที่ ๒   เมื่อเวลา ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๕๗ นาที
          (๓) กึ่งกลางของการเกิด   เมื่อเวลา ๑๕.๐๐ น. ๑๕.๕๑ นาที
          (๔) สัมผัสครั้งที่ ๓   เมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น. ๐๑.๒๓ นาที
          (๕) สัมผัสครั้งที่ ๔   เมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น. ๒๐.๓๖ นาที
           รวมเวลาผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ๖ ชั่วโมง ๗ นาที

          ดาวศุกร์สัมผัสครั้งแรกตรงขอบตะวันออกเฉียงไปทางใต้ประมาณ ๓๐ องศาของดวงอาทิตย์ และสัมผัสครั้งสุดท้ายตรงขอบตะวันตกเฉียงไปทางใต้ประมาณ ๖๐ องศา




ดูดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์อย่างไรจึงจะปลอดภัย

          การดูดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์อย่างปลอดภัยต้องดูแบบเดียวกับการสังเกตสุริยุปราคา บางส่วนคือดูทางอ้อมและดูโดยตรง

          การดูทางอ้อมต้องมีอุปกรณ์เพื่อนำภาพดวงอาทิตย์ให้ปรากฏบนฉาก แล้วดูดวงอาทิตย์และดาวศุกร์บนฉาก อุปกรณ์ที่จะนำภาพดวงอาทิตย์มาปรากฏบนฉากที่ดีคือ กล้องโทรทรรศน์ หากเอาฉากไว้ในที่มืดจะเห็นภาพปรากฏการณ์ชัดเจนมาก และเห็นได้พร้อม ๆ กันหลายคน กล้องรูเข็ม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ไม่ยาก โดยเฉพาะหากมีโรงเรือนหลังคาสูง ๆ อาจเจาะรูหลังคาเท่าปลายนิ้วก้อย เพื่อให้ภาพดวงอาทิตย์มาปรากฏบนพื้นห้องก็ได้ ขนาดของภาพจะใหญ่ขึ้นตามความสูงของหลังคา

  ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
 จาก T1 บนโลก เห็นดาวศุกร์อยู่ที่ V1 ชนดวงอาทิตย์
 จาก T2 บนโลก เห็นดาวศุกร์อยู่ที่ V2 ชนดวงอาทิตย์
  วัด µ จากระยะ V1 V2 บนดวงอาทิตย์
  หา b จาก T1 และ T2 บนโลก


          ๑. คำนวณ d จาก T1 T2 V ซึ่งมีมุมยอด µ
          ๒. คำนวณระยะห่างของดาวศุกร์จากดวงอาทิตย์ (a) โดยใช้กฎข้อ ๓ ของเคปเลอร์
          ๓. ระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เท่ากับ d + a


ผู้เขียน  : นายนิพนธ์ ทรายเพชร  ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาดาราศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์
ที่มา :  จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๕๗, มิถุนายน ๒๕๔๗

Reference : http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1046
4
เกิดจากการหักเหของบรรยากาศโลก ขณะที่โลกบังแสงที่ตกกระทบดวงจันทร์นั้น แสงอาทิตย์ส่วนหนึ่งที่แฉลบบรรยากาศโลกไปกระทบดวงจันทร์และจะถูกดูดกลืนแสงสีฟ้าไป แสงอาทิตย์ส่วนนั้นจึงมีสีค่อนไปทางแดง ส่งผลให้ดวงจันทร์ในขณะเกิดจันทรุปราคามีสีแดงน้ำตาล สภาวะบรรยากาศโลกจึงมีผลต่อสีของจันทรุปราคาโดยตรง

เมื่อปี 2534 ได้เกิดภูเขาไฟระเบิดขนาดใหญ่ที่ประเทศฟิลิปปินส์และเกิดที่ญี่ปุ่นในเวลาไล่เลี่ยกัน ส่งผลให้มีเขม่าจากภูเขาไฟทั้งสองปนอยู่ในบรรยากาศทั่วโลก ต่อมาในปลายปีนั้นได้เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (มองเห็นในประเทศไทย) ปรากฏว่าจันทรุปราคาในครั้งนั้นมีสีเทาหม่น ๆ แทนที่จะเป็นสีแดงเข้มตามปรกติ ซึ่งเกิดจากผลของเขม่าภูเขาไฟระเบิดในบรรยากาศนั่นเอง
________________________________________

วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq0053.html
5
ไม่มีใครในแวดวงดาราศาสตร์ไม่รู้จักกลุ่มดาว นักดูดาวก็เริ่มต้นด้วยการดูกลุ่มดาว นักดูดาวมือฉมังก็ต้องรู้จักกลุ่มดาวเพื่อใช้ในการบอกตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าอย่างคร่าว ๆ นักดาราศาสตร์ก็ใช้กลุ่มดาวซึ่งมีการกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจนในการอ้างอิงถึงพื้นที่บนผืนฟ้า

กลุ่มดาวที่ยอมรับกันเป็นสากลกำหนดโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล มี 88 กลุ่ม มีชื่อเรียกสากล เป็นภาษาละติน แต่ละชาติแต่ละภาษาเมื่อนำไปใช้ ก็จะแปลงชื่อกลุ่มดาวภาษาละตินเหล่านี้ให้เป็นภาษาของประเทศตน ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ก็ถอดไปเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีแปลความหมายบ้าง ทับศัพท์บ้าง เช่น Orion ก็แปลงไปเป็น Hunter, Telescopium ก็แปลงเป็น Telescope ส่วน Perseus ไม่แปลง ใช้ Perseus ตามภาษาละตินไปเลย

ของไทยเราก็เช่นเดียวกัน ชื่อกลุ่มดาวสากลเหล่านั้นก็มีชื่อไทย ๆ เหมือนกัน แต่น่าแปลกใจอยู่ไม่น้อยที่ชื่อกลุ่มดาวภาษาไทยนี้ยังไม่มีการกำหนดกันเป็นมาตรฐาน แม้แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ยังไม่มีบัญญัติไว้ มีเพียงชื่อกลุ่มดาวไทยเท่านั้น ที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต่างแปลงเป็นไทยตามความเห็นของตน นักเขียนเรื่องดาราศาสตร์หลายคนก็แปลงกันเอาเอง บางครั้งนักเขียนจากค่ายเดียวกันหรือวารสารฉบับเดียวกันก็ยังมีแนวทางการแปลงชื่อกลุ่มดาวเป็นไทยต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ "ทางช้างเผือก" คงต้องยอมรับกันตรง ๆ ว่าใช้กันอย่างตามอำเภอใจจริง ๆ

สมาคมดาราศาสตร์ไทยมีโครงการใหญ่โครงการหนึ่งชื่อว่า "โครงการพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ อังกฤษ-ไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542" ซึ่งได้ดำเนินการมานานหลายปีแล้ว ขณะที่เขียนบทความนี้โครงการนี้ได้ดำเนินมาราวครึ่งทาง ในพจนานุกรมฉบับนี้ จะมีทั้งศัพท์บัญญัติดาราศาสตร์กว่าสามพันคำ คำอธิบายศัพท์ พร้อมทั้งภาพประกอบแพรวพราว แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งในศัพท์ในพจนานุกรมเล่มนี้ย่อมมีชื่อกลุ่มดาวรวมอยู่ด้วย การบัญญัติชื่อกลุ่มดาวเป็นชื่อไทยนี้ ได้มีการชำระระบบชื่อเดิม ๆ ที่เคยใช้กันมาใหม่ โดยอาศัยเหตุผลนานาประการ กลุ่มดาวหลายกลุ่มยังคงเป็นชื่อเดิมที่นักดูดาวหรือนักดาราศาสตร์คุ้นเคยดี บางกลุ่มดาวก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แน่นอนว่าแต่ละชื่อย่อมมีที่มาและเหตุผล แต่ในที่นี้จะขอเสนอเพียงชื่อกลุ่มดาวให้ทราบก่อน เนื่องจากมีการนำมาใช้กันจริงบ้างแล้ว โดยเฉพาะในคอลัมน์ปรากฏการณ์ท้องฟ้าและในโฮมเพจของสมาคมดาราศาสตร์ไทย สำหรับที่มาและเหตุผลนั้น "ทางช้างเผือก" จะนำเสนอในโอกาสต่อไปพร้อม ๆ กับที่มาของศัพท์บัญญัติดาราศาสตร์อื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับค่อนทศวรรษเล่มนี้ด้วย

ตารางข้างล่างนี้แสดงชื่อกลุ่มดาวภาษาละติน ภาษาอังกฤษ และกลุ่มดาวภาษาไทยตามการบัญญัติใหม่ กลุ่มดาวบางกลุ่มมีมากกว่าหนึ่งชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มดาวจักรราศี ซึ่งจะมีทั้งชื่อทั่วไปและชื่อที่มาจากราศีประจำกลุ่มนั้นด้วย ลำดับของชื่อไทยมีนัยสำคัญ โดยปรกติจะใช้ชื่อแรกไปใช้มากกว่าชื่อหลัง และเมื่อมีการสร้างคำประสมที่มีชื่อกลุ่มดาว ก็มักนำเพียงชื่อแรกไปประสมเท่านั้น

หวังด้วยเหตุผลที่สนับสนุนอยู่จะทำให้ชื่อกลุ่มดาวชุดนี้เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง ส่วนจะได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมมากเพียงใด หรืออาจจะตายไปในวังวนของภาษา ผู้ใช้เท่านั้นที่จะเป็นผู้ตัดสิน

                            รายชื่อกลุ่มดาว 88 กลุ่ม
ชื่อภาษาละตินชื่อภาษาอังกฤษชื่อภาษาไทย
AndromedaAndromedaกลุ่มดาวแอนดรอเมดา
AntliaAir Pumpกลุ่มดาวเครื่องสูบลม
ApusBird of Paradiseกลุ่มดาวนกการเวก
AquariusWater Carrierกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ, กลุ่มดาวกุมภ์
AquilaEagleกลุ่มดาวนกอินทรี
AraAltarกลุ่มดาวแท่นบูชา
AriesRamกลุ่มดาวแกะ, กลุ่มดาวเมษ
AurigaCharioteerกลุ่มดาวสารถี
BoötesBean Driverกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
CaelumChiselกลุ่มดาวสิ่ว
CamelopardalisGiraffeกลุ่มดาวยีราฟ
CancerCrabกลุ่มดาวปู, กลุ่มดาวกรกฎ
Canes VenaticiHunting Dogsกลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ
Canis MajorGreat Dog, Big Dogกลุ่มดาวหมาใหญ่
Canis MinorLittle Dog, Lesser Dogกลุ่มดาวหมาเล็ก
CapricornusSea Goatกลุ่มดาวแพะทะเล, กลุ่มดาวมกร
CarinaKeelกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
CassiopeiaCassiopeiaกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย
CentaurusCentaurกลุ่มดาวคนครึ่งม้า
CepheusCepheusกลุ่มดาวซีฟิอัส
CetusSea Monster, Whaleกลุ่มดาวซีตัส,กลุ่มดาววาฬ
ChameleonChameleonกลุ่มดาวกิ้งก่าคะมีเลียน
CircinusCompassesกลุ่มดาววงเวียน
ColumbaDoveกลุ่มดาวนกเขา
Coma BerenicesBerenice s Hairกลุ่มดาวผมเบเรนิซ
Corona AustralisSouthern Crownกลุ่มดาวมงกุฎใต้
Corona BorealisNorthern Crownกลุ่มดาวมงกุฎเหนือ
CorvusCrowกลุ่มดาวนกกา
CraterCupกลุ่มดาวถ้วย
CruxSouthern Cross, Crossกลุ่มดาวกางเขนใต้
CygnusSwanกลุ่มดาวหงส์
DelphinusDolphinกลุ่มดาวโลมา
DoradoSwordfishกลุ่มดาวปลากระโทงแทง
DracoDragonกลุ่มดาวมังกร
EquuleusLittle Horseกลุ่มดาวม้าแกลบ
EridanusRiverกลุ่มดาวแม่น้ำ
FornaxFurnaceกลุ่มดาวเตาหลอม
GeminiTwinsกลุ่มดาวคนคู่, กลุ่มดาวมิถุน, กลุ่มดาวเมถุน
GrusCraneกลุ่มดาวนกกระเรียน
HerculesHerculesกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส
HorologiumClockกลุ่มดาวนาฬิกา
HydraSea serpent, Monsterกลุ่มดาวงูไฮดรา
HydrusWater Snakeกลุ่มดาวงูไฮดรัส
IndusIndian, American Indianกลุ่มดาวอินเดียนแดง
LacertaLizardกลุ่มดาวกิ้งก่า
LeoLionกลุ่มดาวสิงโต, กลุ่มดาวสิงห์
Leo MinorLittle Lion, Lion Cubกลุ่มดาวสิงโตเล็ก
LepusHareกลุ่มดาวกระต่ายป่า
LibraScalesกลุ่มดาวตาชั่ง, กลุ่มดาวตุลย์
LupusWolfกลุ่มดาวหมาป่า
LynxLynxกลุ่มดาวแมวป่า
LyraLyreกลุ่มดาวพิณ
MensaTable Mountainกลุ่มดาวภูเขา
MicroscopiumMicroscopeกลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์
MonocerosUnicornกลุ่มดาวยูนิคอร์น
MuscaFlyกลุ่มดาวแมลงวัน
NormaRuleกลุ่มดาวไม้ฉาก
OctansOctantกลุ่มดาวออกแทนต์
OphiuchusSerpent Bearerกลุ่มดาวคนแบกงู
OrionHunterกลุ่มดาวนายพราน
PavoPeacockกลุ่มดาวนกยูง
PegasusWinged Horseกลุ่มดาวม้าบิน
PerseusPerseusกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส
PhoenixPhoenixกลุ่มดาวนกฟีนิกซ์
PictorPainterกลุ่มดาวขาตั้งภาพ
PiscesFishesกลุ่มดาวปลา, กลุ่มดาวมีน
Pisces AustrinusSouthern Fishกลุ่มดาวปลาใต้
PuppisPoop, Sternกลุ่มดาวท้ายเรือ
PyxisCompassกลุ่มดาวเข็มทิศ
ReticulumNetกลุ่มดาวตาข่าย
SagittaArrowกลุ่มดาวลูกศร
SagittariusArcherกลุ่มดาวคนยิงธนู, กลุ่มดาวธนู
ScorpiusScorpionกลุ่มดาวแมงป่อง, กลุ่มดาวพิจิก
SculptorSculptorกลุ่มดาวช่างแกะสลัก
ScutumShieldกลุ่มดาวโล่
SerpensSerpentกลุ่มดาวงู
SextansSextantกลุ่มดาวเซกซ์แทนต์
TaurusBullกลุ่มดาววัว, กลุ่มดาวพฤษภ
TelescopiumTelescopeกลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์
TriangulumTriangleกลุ่มดาวสามเหลี่ยม
Triangulum AustraleSouthern Triangleกลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้
TucanaToucanกลุ่มดาวนกทูแคน
Ursa MajorGreat Bear, Big Bearกลุ่มดาวหมีใหญ่
Ursa MinorLittle Bearกลุ่มดาวหมีเล็ก
VelaSailกลุ่มดาวใบเรือ
VirgoVirginกลุ่มดาวหญิงสาว, กลุ่มดาวกันย์
VolansFlying Fishกลุ่มดาวปลาบิน
VulpeculaFoxกลุ่มดาวหมาจิ้งจอก


ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/newconstellation/newconstellation.php
6
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ตามล่าหาน้ำบนดวงจันทร์
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 27, 2011, 04:24:28 PM »
วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)

     ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ กาลิเลโอได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่เขาสร้างขึ้นส่องสังเกตดวงจันทร์ เขาคิดว่าบริเวณที่เป็นสีคล้ำของดวงจันทร์ที่เห็นในกล้องโทรทรรศน์ของเขานั้นคือ ทะเลสาบ ดังเราจะเห็นว่ามีชื่อของทะเลมากมายบนดวงจันทร์ อย่างเช่นทะเลแห่งความเงียบสงบ ทะเลแห่งฝน มหาสมุทรแห่งพายุ ฯลฯ แม้ว่านักดาราศาสตร์ได้ทราบมาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของยุคอวกาศแล้วว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นเพียงที่ราบต่ำที่เคยถูกลาวาเอ่อท่วมเท่านั้น แต่ก็ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางคนที่ยังคาดหวังเกี่ยวกับเรื่องของน้ำบนดวงจันทร์อยู่ เพราะถ้าสามารถสกัดน้ำได้บนดวงจันทร์ ก็หมายความว่าในการเดินทางไปดวงจันทร์เพื่อปฏิบัติภารกิจต่างๆ ไม่ต้องพกน้ำไปมากมาย ซึ่งจะประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงไปได้อย่างมาก อีกทั้งความฝันที่จะอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ก็จะมีความเป็นไปได้มากขึ้น


     แต่โครงการอะพอลโลก็ได้ให้คำตอบอย่างชัดเจนว่าดวงจันทร์นั้น แห้งสนิท จากตัวอย่างหินที่นำกลับมายังโลกทั้งหมดล้วนแต่ไม่ให้ความหวังใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะพบสนิมบนหินที่มากับอะพอลโล ๑๖ แต่ก็เชื่อว่าเป็นสนิมที่เกิดขึ้นหลังจากที่นำกลับมายังโลกแล้ว มิได้เกิดบนดวงจันทร์

     ความหวังมิใช่จะมอดหมดไปเสียทีเดียว ทุกโครงการที่ไปสำรวจดวงจันทร์ล้วนแต่สำรวจบริเวณไม่ใกล้ไม่ไกลไปจากเส้นศูนย์สูตรทั้งนั้น แทบจะไม่มีโครงการใดไปสำรวจที่บริเวณขั้วทั้งสองของดวงจันทร์เลย ที่ขั้วของดวงจันทร์นี้แหละที่จะมีน้ำอยู่ ความคิดนี้เริ่มต้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โจฮันน์ แมดเลอร์ เขาอธิบายว่า ดวงจันทร์นั้นหมุนรอบตัวเองเทียบกับดวงอาทิตย์นั้นนาน ๒๙.๕ วัน ดังนั้นบริเวณส่วนใหญ่ของดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ เป็นเวลา ๑๔.๗๕ วัน ย่อมไม่แปลกที่จะไม่มีความชื้นหลงเหลืออยู่ แต่ดวงจันทร์มีแกนเอียงเพียง ๑.๕ องศาเมื่อเทียบกับระนาบของระบบสุริยะ ดังนั้นบริเวณที่เป็นหุบเหวต่าง ๆ ใกล้ขั้วดวงจันทร์ จะไม่มีโอกาสถูกแสงอาทิตย์เลย เป็นดินแดนที่ตกอยู่ในความมืดมิดและเย็นยะเยือกตลอดกาล จึงเป็นไปได้ที่ไอน้ำจะสามารถสะสมทีละเล็กทีละน้อยจนเป็นผืนน้ำแข็งที่นี่และจะคงอยู่ได้นานนับล้านปี

     ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอเนียได้แสดงแบบจำลองและอธิบายว่า ไอน้ำที่ระเหยออกมาจากผิวของดวงจันทร์จะถูกกักเก็บไว้ด้วยอุณหภูมิ ๑๐๐ เคลวิน (-๑๗๓ องศาเซลเซียส) หรือต่ำกว่า และจะคงอยู่ตลอดชั่วอายุของดวงจันทร์เลยทีเดียว

ดวงจันทร์ไม่มีฝน แล้วจะเอาน้ำมาจากไหน?
     น้ำนั้นอาจจะมาจากดาวหางซึ่งมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งพุ่งเข้ามาชน หรืออาจมาจากใต้พื้นของดวงจันทร์เองก็ได้ เพราะดวงจันทร์เองก็มีปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่นภูเขาไฟ และการปะทุต่าง ๆ ที่มักจะนำเอาน้ำขึ้นมาจากใต้พื้นดวงจันทร์ด้วย มีการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ บนผิวดวงจันทร์ที่เรียกกันว่า ปรากฏการณ์ชั่วขณะของดวงจันทร์ (Lunar Transient Phenomena (LTP)) ซึ่งบ่งบอกว่ายังมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างเนือง ๆ บนดวงจันทร์ แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าน้ำส่วนใหญ่น่าจะมาจากดาวหางชนมากกว่า ปริมาณน้ำที่มาจากดาวหางครั้งหนึ่ง ๆ อาจเท่ากับปริมาณน้ำมีมาจากใต้ผิวดวงจันทร์สะสมรวมกันนานนับพันล้านปี นักดาราศาสตร์ประมาณว่าในช่วงเวลา ๒ พันล้านปีที่ผ่านมา ได้มีดาวหางแวะเวียนกันเอาน้ำมาทิ้งไว้บนดวงจันทร์กว่า ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ กิโลกรัม!


     สมมติว่าน้ำสามารถมาสะสมที่ขั้วดวงจันทร์ได้จริง น้ำนั้นจะคงสภาพอยู่นานสักเท่าใด? อุณหภูมิมิใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น บนผิวดาวอันเปลือยเปล่าของดวงจันทร์ยังต้องเผชิญกับพายุของอนุภาคประจุไฟฟ้าและรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับลมสุริยะ ซึ่งลมสุริยะนี้มิได้มีทิศทางเดียวแบบแสงอาทิตย์ แต่จะพุ่งเข้าถล่มดวงจันทร์จากทุกทิศทุกทางเหมือนกับฝนตก หุบเหวอันมืดมิดนี้ก็หนีไม่พ้น พลังงานจากอนุภาคและรังสีนี้จะทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัวเป็นอะตอมของธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน และหลุดลอยออกจากดวงจันทร์ไป นอกจากนี้ อนุภาคประจุไฟฟ้าที่จะมาทำลายโมเลกุลของน้ำบนดวงจันทร์ก็อาจมาจากโลกเช่นกัน สนามแม่เหล็กโลกนั้นมีรูปร่างบิดเบี้ยวเป็นรูปหยดน้ำหันออกไปจากดวงอาทิตย์ (คล้ายกับดาวหางแต่เป็นหางแม่เหล็ก ไม่ใช่หางฝุ่นแบบดาวหาง) อนุภาคจากลมสุริยะบางส่วนจะถูกดักไว้ในหางนี้ ซึ่งโดยมากก็จะเป็นอนุภาคไฮโดรเจนอิออน ระหว่างที่ดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกก็เคลื่อนที่ผ่านหางนี้เช่นกัน เป็นการเร่งให้ขบวนการทำลายน้ำบนดวงจันทร์เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งถ้ากระบวนการทำลายนี้ดำเนินไปเร็วกว่ากระบวนการสะสม ก็หมายความว่าหมดหวังที่จะไปหาน้ำบนผิวดวงจันทร์

     แม้ว่าแอ่งมืดมิดตลอดกาลจะพบได้ทั่วไปบริเวณใกล้ขั้วดวงจันทร์ แต่ว่าหลุมส่วนใหญ่นี้จะเป็นแบบหลุมรูปถ้วยและมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า ๒๐ กิโลเมตร ซึ่งที่ก้นหลุมประเภทนี้ จะมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า ๑๐๐ เคลวิน (ยกเว้นที่ละติจูดสูงกว่า ๘๕ องศา) เนื่องจากได้รับรังสีอินฟราเรดที่แผ่มาจากผนังของหลุมนั้น ส่วนเครเตอร์ที่มีพื้นแบบแบนกลับดีเสียกว่า จากการคำนวณพบว่าที่ละติจูดสูงกว่า ๘๐ องศามีพื้นที่ที่เป็นเครเตอร์แบบพื้นแบนมากและเย็นพอที่จะเป็นที่เก็บสะสมน้ำแข็งได้

ใช่ว่าไม่มีแสงอาทิตย์ แล้วน้ำจะคงอยู่ได้ตลอด
     ในวิชาธรณีวิทยาเราทราบดีว่าแผ่นดินของโลกนั้นมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา เราเคยพบฟอสซิลของพืชเมืองร้อนใต้แผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลก ในขณะที่แผ่นดินบริเวณฮาวายก็พบว่าเคยเป็นขั้วโลกมาก่อน จากการสำรวจดวงจันทร์ นักดาราศาสตร์ก็พบการเปลี่ยนตำแหน่งของลักษณะพื้นผิวดวงจันทร์เหมือนกัน ถ้าเปลือกของดวงจันทร์มีการเคลื่อนตัวแบบเดียวกับเปลือกโลก บริเวณที่เป็นขั้วดวงจันทร์ก็คงไม่ใช่ที่ที่มืดชั่วนิรันดร์จริง ๆ เสียแล้ว แผ่นบริเวณที่เคยเป็นขั้วดวงจันทร์เมื่อหลายพันล้านปีก่อนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสได้รับน้ำมากกว่าเพราะเป็นช่วงที่ระบบสุริยะยังปั่นป่วนอยู่มากอาจจะเคลื่อนออกมาห่างจากขั้วมาอยู่แถวเส้นศูนย์สูตรในปัจจุบัน อย่างนี้น้ำที่เคยสะสมมานานก็จะถูกแสงแดดแผดเผาระเหยหายไปเสียหมด

     ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจดาวพุธโดยใช้เรดาร์ เขาได้พบบริเวณที่สว่างจ้าที่อยู่ที่ขั้วเหนือของดาวพุธ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเมื่อใช้เรดาร์สำรวจดาวอังคาร เขาเชื่อว่าอาจเป็นไปได้ว่าที่ขั้วของดาวพุธก็อาจจะมีน้ำแข็งเหมือนกับดาวอังคารเหมือนกัน ซึ่งถ้าเป็นจริง ก็เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการมีน้ำบนดวงจันทร์ได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าดาวพุธที่ร้อนขนาดนั้นยังมีน้ำแข็งได้ ดวงจันทร์ซึ่งเย็นกว่าก็น่าจะมีน้ำแข็งได้เช่นกัน

     บางทีอาจเป็นเพราะเราเห็นว่าดวงจันทร์เป็นของใกล้ตัวนี้กระมัง จึงไม่ค่อยมีโครงการอวกาศใดที่สำรวจขั้วดวงจันทร์โดยเฉพาะ ในช่วงที่มีการแข่งขันสำรวจดวงจันทร์เมื่อเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมานั้น มีเพียงยานลูนาร์ออร์บิเตอร์ ๔ และ ๕ เท่านั้นที่มีการโคจรผ่านและสำรวจขั้วดวงจันทร์ แต่นั่นก็เป็นเพียงการถ่ายรูปพื้นผิวดวงจันทร์อย่างหยาบ ๆ เพื่อทำแผนที่ดวงจันทร์สำหรับหาทำเลลงจอดของยานอะพอลโลเท่านั้น ยานลูนาร์ออร์บิเตอร์ไม่มีเครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ และหลังจากยุคของการสำรวจดวงจันทร์สิ้นสุดไปพร้อมกับโครงการอะพอลโลไปแล้ว ก็ไม่มีโครงการอวกาศใดไปสำรวจดวงจันทร์อีกเลย จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ยานกาลิเลโอได้เดินทางผ่านโลกและได้ถ่ายรูปด้านหลังและขั้วดวงจันทร์เอาไว้ได้ทำให้เราได้เห็นภาพของขั้วดวงจันทร์ได้อีกครั้ง

     แต่ยานกาลิโลโอนั้นเป็นยานสำรวจดาวพฤหัสบดีโดยเฉพาะ เครื่องมือต่าง ๆ บนยานเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับสำรวจชั้นเมฆของดาวพฤหัสบดี แต่ไม่มีเครื่องมืออย่างสเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมาที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีน้ำหรือไม่ สมมติว่ามีน้ำแข็งอยู่ใต้ดิน น้ำแข็งจะหน่วงนิวตรอนให้ช้าลง ซึ่งนิวตรอนนี้สามารถจะตรวจจับโดยสเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมานี้ได้ อุปกรณ์บนยานกาลิโลโอบอกได้เพียงองค์ประกอบของแร่ต่าง ๆ เท่านั้น

วีรกรรมของยานอวกาศผู้ล่วงลับ

     แต่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่กลับมาจากยานอวกาศลำเล็ก ๆ ที่ชื่อ คลีเมนไทน์ ยานลำนี้ได้สำรวจดวงจันทร์ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๗ อุปกรณ์สำรวจของยานคลีเมนไทน์นี้ประกอบด้วยกล้อง ๓ ตัวที่ทำงานในย่านความยาวคลื่นต่างกันตั้งแต่อินฟราเรดจนถึงอัลตราไวโอเลต ภาพถ่ายที่ได้จากยานลำนี้มีคุณภาพและความละเอียดสูงกว่าภาพที่ได้จากยานกาลิเลโอมาก หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลนานถึง ๒ ปี เราได้หลักฐานที่เชื่อได้ว่ามีน้ำแข็งบนดวงจันทร์จริง ๆ โดยทราบจากสัญญาณเรดาร์ที่สะท้อนมาจากก้นแอ่ง โดยทะเลสาบนี้มีความกว้างหลายพันตารางกิโลเมตรและมีความลึกร่วมสิบเมตร


     ถ้ามีน้ำแข็งอย่างมากมายที่ขั้วดวงจันทร์จริง ๆ บริเวณนี้คงจะเป็นเป้าหมายหลักของมนุษย์ที่จะไปตั้งรกรากอยู่บนดวงจันทร์ เราสามารถสกัดน้ำออกจากก้อนดินด้วยเตาไมโครเวฟเพื่อใช้ดำรงชีวิตหรือใช้ในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังเป็นที่ที่สามารถรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา และมีแอ่งถาวรที่เป็นเสมือนตู้เย็นขนาดยักษ์สำหรับเก็บจรวจหรือน้ำแข็งหรือสิ่งอื่น ๆ ได้

     การค้นพบน้ำบนดวงจันทร์ครั้งนี้ ทำให้ความฝันของมนุษย์ที่จะสร้างถิ่นฐานบนดวงจันทร์ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น เชื่อว่าภายในศตวรรษหน้า มนุษย์จะสามารถตั้งอาณานิคมบนดวงจันทร์ได้แล้ว เราจะมีเหมืองแร่ มีโรงงานอุตสาหกรรม อาจจะมีบริษัททัวร์นำเที่ยวดวงจันทร์ เมื่อนั้น คู่สมรสคงจะได้ไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์บนดวงจันทร์จริง ๆ นั่งชมโลกลับขอบฟ้าที่ริมทะเลสาบอันแสนโรแมนติก

* บทความจากวารสารทางช้างเผือก ฉบับมกราคม-เมษายน 2540

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/lunarlak/lunarlak.html

7
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / อาหารอวกาศ
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 27, 2011, 03:25:05 PM »
เวลาที่เราดูข่าวหรือสารคดีเกี่ยวกับนักบินอวกาศของนาซาและรัสเซียที่ออกเดินทางไปกับกระสวยอวกาศและที่อาศัยอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งโคจรอยู่ในวงโคจรรอบโลก ท่านผู้อ่านเคยนึกสงสัยไหมครับว่านักบินอวกาศบนนั้นจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหารที่ดูเหมือนเป็นสิ่งยากลำบากในสภาวะไร้น้ำหนักเช่นนั้น

ความเป็นมา
นับจากจอห์น เกลน นักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐฯ ที่เดินทางไปกับจรวดในภารกิจอวกาศมาจนถึงเหล่านักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติในทุกวันนี้ งานค้นคว้าวิจัยด้านโภชนาการสำหรับโครงการอวกาศพัฒนามาจนถึงจุดที่นักบินอวกาศมีอาหารที่มีรสชาติถูกปาก บรรจุในหีบห่อที่สะดวกในการรับประทาน
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการของการเตรียมอาหารอวกาศ เราต้องนึกย้อนไปถึงนักสำรวจในยุคอดีตที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ขณะเดินทางไกลทั้งทางบกและทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นการบรรทุกอาหารให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการ อาหารต้องพร้อมที่จะรับประทานได้อยู่เสมอตลอดการเดินทาง และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดวิตามิน เช่น โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ที่เกิดจากการได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ

ในต้นยุคประวัติศาสตร์ มนุษย์ค้นพบเทคนิคการถนอมอาหารด้วยการทำให้แห้งและเก็บในภาชนะที่แห้งและเย็น การขจัดน้ำออกจากอาหาร ทำโดยการแล่เนื้อ ปลา และผลไม้บางชนิดออกเป็นแผ่นบางแล้วนำไปผึ่งแดด นอกจากนี้ก็มีการถนอมอาหารโดยการดองด้วยการคลุกกับเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือ เป็นต้น
เทคนิควิธีการถนอมอาหารพัฒนาต่อมาเป็นการเก็บอาหารในภาชนะปิดสนิท การพาสเจอร์ไรส์ (ใช้ความร้อนทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้) และการบรรจุลงในกระป๋อง ทำให้ปัจจุบันมีอาหารหลายชนิดที่สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน เทคโนโลยีล่าสุดในการถนอมอาหาร คือ การแช่เย็น และการแช่แข็งอย่างฉับพลัน (quick-freezing) ซึ่งทำให้สามารถคงสภาพของรสชาติและสารอาหารอยู่ได้

รูปแบบการถนอมและการบรรจุอาหารดังที่กล่าวมานี้ใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพสำหรับเราๆ ท่านๆ บนพื้นโลก แต่ยังไม่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการใช้งานในอวกาศ มีข้อจำกัดบางประการที่ต้องคำนึงถึงในขั้นตอนการขนส่ง คือ น้ำหนักและปริมาตร นอกจากนั้นอุปสรรคที่ใหญ่กว่า คือ สภาวะไร้น้ำหนัก (ถ้าให้ถูกต้อง น่าจะเรียกว่าสภาวะความโน้มถ่วงต่ำ) จึงต้องมีกระบวนการพิเศษในการเตรียมอาหาร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการเก็บรักษา

โครงการเมอร์คิวรี
โครงการเมอร์คิวรีเป็นโครงการทดสอบการบินในยุคแรกของโครงการอวกาศ การขึ้นบินแต่ละครั้งใช้เวลาไม่นาน อาจเพียงไม่กี่นาทีจนถึงไม่เกินหนึ่งวัน ภารกิจที่สั้นเช่นนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมอาหารสำหรับทุกๆ มื้อ อย่างไรก็ดี นักบินในโครงการเมอร์คิวรีได้กลายเป็นหนูทดลองในการทดสอบสรีรวิทยาการกินของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมที่มีความโน้มถ่วงต่ำ เช่น การเคี้ยว การดื่ม การกลืนอาหารทั้งอาหารปกติและอาหารเหลว
อาหารสำหรับนักบินอวกาศในยุคแรก เป็นอาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป และอาหารกึ่งเหลวที่บรรจุในหลอดทำจากอะลูมิเนียมคล้ายหลอดยาสีฟัน ภายในหลอดมีการฉาบวัสดุพิเศษ ป้องกันการก่อตัวของแก๊สไฮโดรเจนซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างผิวโลหะกับอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำแอปเปิล หลอดอะลูมิเนียมที่ใช้ในยุคแรกมักมีน้ำหนักมากกว่าอาหารที่บรรจุอยู่ภายใน ต่อมาจึงมีการพัฒนาเป็นหลอดพลาสติกน้ำหนักเบา จะว่าไปแล้วนักบินอวกาศไม่ค่อยพิสมัยกับอาหารแบบนี้นัก เพราะส่วนมากมีรสชาติไม่น่ารับประทาน และยุ่งยากในการเติมน้ำให้กับอาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป

ในช่วงปลายของโครงการ เริ่มมีการผลิตและทดสอบอาหารที่ทำให้แห้งและอัดเป็นก้อน มีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมพอดีคำ ไม่ต้องกัดหรือหั่นขณะรับประทาน อาหารจะนิ่มลงโดยการเคี้ยวในปาก (ไม่ต้องผสมน้ำก่อนรับประทาน) ยิ่งไปกว่านั้น อาหารก้อนยังถูกฉาบด้วยวุ้นเพื่อไม่ให้แตกเป็นชิ้นๆ ป้องกันไม่ให้มีชิ้นส่วนของอาหารหลุดลอยออกไป ซึ่งอาจเข้าไปอุดตันในอุปกรณ์ต่างๆ บนยาน หรือแม้กระทั่งเป็นอันตรายกับนักบินได้หากเผลอสูดผ่านจมูกเข้าไปในปอด ส่วนภาชนะบรรจุเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกห่อหุ้มด้วยระบบสุญญากาศ นอกจากใช้บรรจุอาหารแล้วยังช่วยป้องกันความชื้น รักษากลิ่นและรสชาติ รวมทั้งถนอมอาหารให้อยู่ได้นาน

โครงการเจมินี
อาหารอวกาศมีการพัฒนารูปแบบไปมากในโครงการเจมินี ทั้งในแง่ความหลากหลายของอาหารและบรรจุภัณฑ์ มีกระบวนการขจัดน้ำออกจากอาหาร ทำให้อาหารอวกาศในยุคนั้นมีลักษณะใกล้เคียงกับอาหารสด ทั้งสีและรสชาติ เช่น น้ำองุ่น น้ำส้ม น้ำแอปเปิล ขนมปังปิ้ง ช็อกโกแลต ซุปไก่ เนื้อตุ๋น ข้าว ไก่งวงและน้ำเกรวี เป็นต้น

การขจัดน้ำออกจากอาหารเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นเองได้สำหรับคนในประเทศเขตร้อน แต่ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นต้องอาศัยกระบวนการที่เรียกว่า การทำแห้งเยือกแข็ง (freeze drying) เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในโครงการอวกาศ เริ่มจากการแล่อาหารให้เป็นชิ้นบางๆ หั่นเป็นก้อนเล็กๆ หรือละลายให้เป็นของเหลว เพื่อย่นระยะเวลาในการปรุง จากนั้นอาหารที่ปรุงเสร็จจะผ่านการแช่แข็งอย่างฉับพลัน อาหารที่ได้จะถูกวางบนถาดแล้วใส่ในห้องสุญญากาศที่มีการลดความดันอากาศลง มีการเพิ่มอุณหภูมิด้วยแผ่นความร้อน

ภายใต้ภาวะความดันต่ำและอุณหภูมิสูง ผลึกน้ำแข็งในอาหารที่ผ่านการแช่แข็งมาก่อนหน้านี้จะระเหยเป็นไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จะกลับเป็นผลึกน้ำแข็งอีกครั้งบนแผ่นความเย็น เนื่องจากมีเพียงน้ำเท่านั้นที่ออกมาจากอาหาร อาหารแช่แข็งที่ได้จะยังคงมีไขมันและรสชาติเช่นเดิม โดยเนื้อของอาหารจะมีรูพรุนขนาดเล็ก (ที่เดิมเป็นที่อยู่ของน้ำ) สามารถดูดซึมน้ำที่นักบินจะฉีดเข้าไปผสมก่อนรับประทานในอวกาศ

อาหารอวกาศที่ผ่านขั้นตอนการทำแห้งเยือกแข็ง มีประโยชน์ คือ ช่วยลดน้ำหนักบรรทุกของอาหารลงเนื่องจากน้ำถูกขจัดออกไป ทำให้อาหารมีอายุยาวนานขึ้น และสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยังมีรสชาติและลักษณะภายนอกละม้ายคล้ายคลึงกับอาหารสด เมื่อการบินในอวกาศใช้เวลานานขึ้น สิ่งที่นาซาต้องคำนึงถึงอีกอย่าง คือ สารอาหารที่นักบินควรจะได้รับ นักบินแต่ละคนจะได้รับอาหารประมาณ 0.58 กิโลกรัมต่อวัน มีการวางแผนเมนูอาหารล่วงหน้า โดยเมนูจะวนมาซ้ำเดิมทุกๆ 4 วัน

โครงการอะพอลโล
โครงการอะพอลโลใช้รูปแบบการบรรจุอาหารอวกาศในภาชนะแบบเดียวกับโครงการเจมินี แต่มีความหลากหลายของชนิดอาหารให้นักบินอวกาศมีโอกาสได้เลือกรับประทานมากขึ้น อาหารกึ่งสำเร็จรูป (ที่ต้องเติมน้ำก่อนรับประทาน) บรรจุในถุงพลาสติกอัดความดัน ก่อนรับประทานต้องเติมน้ำอุ่นด้วยกระบอกฉีดผ่านช่องที่ก้นถุง เมื่ออาหารได้รับน้ำ ปากถุงจะเปิดออก รับประทานโดยการใช้ช้อนตัก อาหารที่มีลักษณะกึ่งเหลวจะติดอยู่กับช้อน เวลาทานให้ความรู้สึกคล้ายกับรับประทาน

อาหารบนพื้นโลก
บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารอวกาศแบบใหม่ที่นำมาใช้ในโครงการอะพอลโลเป็นถุงอาหารที่ไม่ต้องเติมน้ำอย่างแต่ก่อน เพราะมีน้ำบรรจุอยู่แล้ว แบ่งเป็น 2 แบบ อย่างแรกเป็นถุงพลาสติกหุ้มด้วยแผ่นอะลูมิเนียม อย่างที่สองเป็นอาหารกระป๋องคล้ายกับที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน (เทคโนโลยีหลายอย่างในชีวิตประจำวันของเรา มีต้นกำเนิดจากโครงการอวกาศ) ข้อเสียของอาหารกระป๋อง คือ กระป๋องเปล่ามีน้ำหนักมากกว่าอาหารที่บรรจุอยู่ภายในถึง 4 เท่า
รูปแบบการบรรจุอาหารแบบใหม่นี้ทำให้นักบินของโครงการอะพอลโลสามารถเห็นและได้กลิ่นอาหาร รวมทั้งใช้ช้อนในการรับประทานอาหารในอวกาศได้เป็นครั้งแรก ซึ่งก็ทำให้นักบินอวกาศมีความสุขกับการรับประทานมากกว่าแต่ก่อนที่ต้องดูดกินจากหลอดบรรจุอาหาร

ภารกิจของโครงการอะพอลโลที่ส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ นับเป็นความท้าทายอย่างมากในการออกแบบอาหารอวกาศ บรรจุภัณฑ์แบบที่ใช้ในโครงการเมอร์คิวรีถูกนำมาใช้ใหม่เพื่อเป็นระบบอาหารสำรอง มีเครื่องดื่มและอาหารหลายชนิดที่นักบินในยุคนั้นสามารถรับประทานในอวกาศได้ เช่น กาแฟ เนื้อหมูอบ คอร์นเฟล็กซ์ ไข่เจียว ขนมปังกรอบ แซนด์วิช ขนมพุดดิ้ง สลัดทูน่า เนยผสมถั่วลิสงบด เนื้อวัวตุ๋นในน้ำมัน สปาเกตตี และไส้กรอก

โครงการสกายแล็บ
สกายแล็บเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐฯ สถานีน้ำหนัก 75 ตัน อยู่ในวงโคจรรอบโลกระหว่างปี 1973-1979 มีนักบินไปเยือน 3 ครั้ง ในช่วงปี 1973-1974 มีความเสียหายเกิดขึ้นกับแผงกันสะเก็ดดาวและแผงเซลล์สุริยะขณะส่งยาน ทำให้นักบินชุดแรกต้องขึ้นไปซ่อมสถานีในเดือนพฤษภาคม 1973 นักบินชุดสุดท้ายกลับสู่โลกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1974 โดยสถานีอวกาศสกายแล็บค่อยๆ ดิ่งลงจนตกสู่บรรยากาศโลกในวันที่ 11 กรกฎาคม 1979
การรับประทานอาหารบนสถานีอวกาศสกายแล็บแตกต่างจากการรับประทานอาหารบนยานอวกาศในโครงการอื่นๆ ก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากสกายแล็บเป็นสถานีอวกาศที่มีตู้เย็น มีเครื่องแช่แข็ง ถาดอุ่นอาหาร และโต๊ะ เวลาพักรับประทานอาหารบนสกายแล็บจึงให้ความรู้สึกคล้ายกับการรับประทานอาหารที่บ้าน เมื่อเทียบกันแล้วความแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดระหว่างการทานอาหารบนสถานีอวกาศสกายแล็บกับที่บ้าน คือ สภาพแวดล้อมที่มีความโน้มถ่วงต่ำ
เสบียงอาหารบนสถานีอวกาศสกายแล็บออกแบบไว้สำหรับนักบินอวกาศ 3 คน ในภารกิจที่ยาวนานประมาณ 112 วัน เมนูอาหารออกแบบสำหรับนักบินแต่ละคนโดยเฉพาะ โดยมีการคำนวณความต้องการสารอาหารของแต่ละคนซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนักตัว และกิจกรรมที่ทำบนยาน

อาหารบนสถานีอวกาศสกายแล็บบรรจุในภาชนะที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ก่อนรับประทานนักบินต้องนำอาหารไปอุ่นบนถาดอุ่นอาหาร แต่ละมื้อประกอบด้วยอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อหมู พริก มันฝรั่ง สเต๊ก หน่อไม้ฝรั่ง รวมทั้งไอศกรีม

โครงการอะพอลโล-โซยุซ
โครงการอะพอลโล-โซยุซเป็นโครงการร่วมกันเป็นครั้งแรกระหว่างสหรัฐฯ และโซเวียต มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันระหว่างยานอวกาศของ 2 ชาติในวงโคจรรอบโลก เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1975 ระหว่างยานอะพอลโล 18 กับยานโซยุซ 9 และเป็นเที่ยวบินสุดท้ายของยานอวกาศในโครงการอะพอลโล (อะพอลโลลำสุดท้ายที่ไปลงดวงจันทร์ คือ อะพอลโล 17)

ยานอะพอลโลของสหรัฐฯ มีนักบิน 3 คน ขณะที่ยานโซยุซของโซเวียตมีนักบิน 2 คน ยานทั้งสองขึ้นจากพื้นโลกในวันที่ 15 กรกฎาคม เข้าเชื่อมต่อกันในวันที่ 17 กรกฎาคม โดย ทอม แสตฟฟอร์ด และ อะเลคซี เลโอนอฟ นักบินจากสองชาติ จับมือกันกลางอวกาศเป็นครั้งแรก ยานทั้งสองลำเชื่อมต่อกันนานเกือบ 2 วัน มีการแลกเปลี่ยนธงชาติและของที่ระลึก รับประทานอาหารร่วมกัน และทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันหลายอย่าง ก่อนจะแยกจากกันในวันที่ 19 กรกฎาคม
อาหารอวกาศในโครงการนี้เป็นอาหารแบบเดียวกับที่ใช้ในโครงการอะพอลโลและสกายแล็บ อาหารอวกาศของรัสเซียเป็นอาหารกระป๋องและอาหารที่ใส่ในหลอดอะลูมิเนียม ยานของแต่ละชาติมีเครื่องอุ่นอาหารขนาดเล็ก เมนูอาหารจัดไว้เฉพาะสำหรับนักบินแต่ละคน โดยทั่วไปแต่ละมื้อประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ขนมปัง เนยแข็ง ซุป ผลไม้แห้ง ถั่ว กาแฟ และขนมเค้ก

โครงการกระสวยอวกาศ
กระสวยอวกาศขององค์การนาซาหรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่าระบบขนส่งอวกาศ (Space Transportation System ---- STS) เป็นยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมโครงการแรกของโลกที่สามารถนำบางส่วนของยานกลับมาใช้งานใหม่ได้ สามารถบรรทุกสัมภาระที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นไปในวงโคจรรอบโลก ภารกิจสำคัญที่ผ่านมา เช่น การกู้ดาวเทียมที่หมดอายุกลับมายังโลก การรับ-ส่งนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ และภารกิจซ่อมบำรุงกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล รวมทั้งการทดลองต่างๆ ในอวกาศ

โครงการกระสวยอวกาศเริ่มต้นขึ้นในปลายยุค 1960 และมีบทบาทสำคัญในภารกิจอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมตลอดมา กระสวยลำแรกที่ใช้ทดสอบการบินและการร่อนลงจอดในโครงการนี้มีชื่อว่าคอนสติทิวชัน (Constitution) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกระสวยอวกาศเอ็นเตอร์ไพรส์ตามคำเรียกร้องของบรรดาแฟนภาพยนต์ซีรีส์สตาร์เทร็ก (Star Trek)

ต่อมานาซาจึงสร้างกระสวยอวกาศ 5 ลำที่ใช้งานได้จริง ทะยอยออกมาในระหว่างปี 1979-1991 ได้แก่ กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Columbia) กระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ (Challenger) กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Discovery) กระสวยอวกาศแอตแลนติส (Atlantis) และกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ในจำนวนนี้มี 2 ลำที่ระเบิดเสียหายขณะเดินทางอยู่เหนือพื้นโลก คือ กระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์และกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ปัจจุบันนี้นาซาระงับการส่งกระสวยอวกาศมานานเกือบ 2 ปีแล้วนับจากอุบัติเหตุการระเบิดของกระสวยอวกาศโคลัมเบียเมื่อต้นปี ค.ศ. 2003 แต่กำลังมีแผนที่จะส่งกระสวย

อวกาศขึ้นไปอีกครั้งในปีหน้า
กระสวยอวกาศสามารถรองรับนักบินได้ถึง 10 คน แต่โดยมากแต่ละครั้งจะมีนักบิน 5-7 คน นักบินบนกระสวยอวกาศมีเมนูอาหารให้เลือกถึง 74 ชนิด เครื่องดื่มอีก 20 ประเภท การเพิ่มขึ้นของเมนูอาหารในโครงการกระสวยอวกาศนี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากมีนักบินอวกาศที่เดินทางไปกับกระสวยอวกาศจำนวนมากขึ้น นาซาเองก็มีกำหนดการที่แน่นอนในการส่งกระสวยอวกาศแต่ละลำขึ้นไปปฏิบัติภารกิจล่วงหน้า

นักบินอวกาศแต่ละคนสามารถเลือกหรือออกแบบมื้ออาหารได้เอง ขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย อาหารแต่ละมื้อบนกระสวยอวกาศจะมีการตระเตรียมภายในห้องครัว มีท่อน้ำและเตาอบ ท่อน้ำสามารถจ่ายน้ำร้อน น้ำอุ่น และน้ำเย็น สำหรับเติมน้ำให้กับอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ผ่านการอบแห้งมาจากพื้นโลก

เตาอบที่ใช้บนกระสวยอวกาศเป็นเตาอบที่อาศัยกระบวนการพาความร้อน อาหารมื้อหนึ่งสำหรับนักบิน 4 คน จะใช้เวลาในการเตรียมเพียง 5 นาที แต่หากต้องมีการอุ่นอาหารอาจใช้เวลา 20-30 นาที ถาดใส่อาหารจะทำหน้าที่เป็นจานอาหารไปในตัว เวลารับประทานนักบินจะใช้เข็มขัดผูกติดกับที่นั่ง เครื่องมือที่ใช้ก็เหมือนกับการรับประทานอาหารบนโลก คือ มีด ช้อน และส้อม แต่ที่ขาดไม่ได้คือกรรไกร! สำหรับตัดปากถุงบรรจุอาหารนั่นเอง

นอกจากอาหาร สิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ก็มีการพัฒนาจากเดิมเพื่อลดน้ำหนักและปริมาตรของสัมภาระที่เป็นเสบียง เช่น มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มขึ้นใหม่ ในปี 1991 นาซาหันไปใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบา นอกจากนี้ยังออกแบบเครื่องอัดขยะเพื่อลดปริมาตรของขยะลงด้วย


สถานีอวกาศนานาชาติ
สถานีอวกาศนานาชาติกำเนิดขึ้นหลังจากความสำเร็จของสถานีอวกาศสกายแล็บของสหรัฐฯ และสถานีอวกาศมีร์ของรัสเซีย เป็นโครงการร่วมกันระหว่างแคนาดา ยุโรป ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐฯ นับจากเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน มีนักบินอวกาศสลับสับเปลี่ยนกันขึ้นไปประจำการอยู่บนสถานีคราวหนึ่งอย่างน้อย 2 คน ส่วนใหญ่เป็นนักบินอเมริกันและรัสเซีย บางคราวก็มีนักบินจากชาติอื่นๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวอีก 2 คน
ปัจจุบันสถานีอวกาศยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ อุบัติเหตุที่เกิดกับกระสวยอวกาศโคลัมเบียทำให้แทบทุกอย่างหยุดชะงักลง โมดูลส่วนอื่นๆ ที่ต้องนำขึ้นไปเชื่อมต่อล้วนมีน้ำหนักมาก ขณะนี้สถานีอวกาศนานาชาติโคจรอยู่ที่ระดับความสูง 355-367 กิโลเมตร วนรอบโลกครบหนึ่งรอบในเวลาประมาณ 92 นาที มีน้ำหนักรวมทั้งสถานี 187 ตัน

กระสวยอากาศใช้เซลล์เชื้อเพลิงให้พลังงานไฟฟ้าโดยมีน้ำเป็นผลพลอยได้ ซึ่งนำไปใช้ในอาหารและเครื่องดื่มสำหรับนักบินอวกาศ แต่บนสถานีอวกาศนานาชาติ พลังงานไฟฟ้าสร้างขึ้นจากแผงเซลล์สุริยะ จึงไม่มีน้ำเกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ น้ำบนสถานีอวกาศนานาชาติผ่านกระบวนการรีไซเคิลจากหลายแหล่งแต่ไม่เพียงพอสำหรับในมาใช้ในอาหาร ดังนั้นอาหารที่ใช้บนสถานีอวกาศจึงเป็นอาหารแช่แข็ง หรืออาหารที่ผ่านกระบวนการคงอุณหภูมิมาแล้ว คือ ผ่านกระบวนการทางความร้อน นำมาบรรจุกระป๋อง และเก็บที่อุณหภูมิห้อง ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำผสมก่อนบริโภค

* บทความจากวารสารทางช้างเผือก ฉบับกุมภาพันธ์ 2548
วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
3 ตุลาคม 2548

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/spacefood/spacefood.html

8
สว่างไสวยิ่งกว่าซูเปอร์โนวาครั้งใดที่มนุษย์ยุคใหม่เคยพบเห็น
มองเห็นได้แม้เวลากลางวัน
ส่องสว่างอยู่นานกว่า 2 ปี

ยามค่ำคืน เมื่อเรามองไปที่กลุ่มดาวนายพราน ตรงตำแหน่งใกล้ หัวของนายพราน ซึ่งเป็นเขตของดาวคนคู่ บริเวณนี้จะดูไม่มีอะไรเป็นพิเศษนอกจากมีแถบทางช้างเผือกพาดผ่าน แต่เมื่อประมาณ 340,000 ปี ก่อน ได้เกิดซูเปอร์โนวาครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นที่บริเวณนี้ ให้ความสว่างไสวรุนแรงยิ่งกว่าซูเปอร์โนวาครั้งใดที่มนุษย์ยุคใหม่เคยพบเห็น มองเห็นได้แม้เวลากลางวันและส่องสว่างอยู่นานกว่า 2 ปี ลองจินตนาการดูว่าบรรพบุรุษของเราจะรู้สึกเช่นไรเมื่อต้องพบกับปรากฏการณ์เช่นนั้น

ในปี ค.ศ. 1973 อเมริกาได้ส่งดาวเทียมชื่อ SAS-2 ออกไปในอวกาศ ในระหว่างปฏิบัติภารกิจนานเจ็ดเดือนของ SAS-2 ของนาซาสามารถตรวจจับรังสีแกมมาได้กว่า 8,000 ครั้ง โดยเฉลี่ยหนึ่งครั้งต่อทุก ๆ 40 นาที แม้ว่ารังสีเกือบทั้งหมดที่ตรวจพบจะมาจากก๊าซในอวกาศที่แผ่รังสีแกมมาออกมาเนื่องจากถูกกระตุ้นจากรังสีคอสมิก แต่ในจำนวนนี้มีอยู่หลายร้อยครั้งที่พบว่ามาจากแหล่งกำเนิดคล้ายดาวโดยตรงตรงสามแหล่ง สองในสามนี้เป็นพัลซาร์ที่นักดาราศาสตร์รู้จักกันดี ดวงหนึ่งคือพัลซาร์ในกลุ่มดาวใบเรือ และอีกดวงหนึ่งคือพัลซาร์ที่อยู่ในเนบิวลารูปปูในกลุ่มดาววัว ส่วนแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาแหล่งที่สามมีความเข้มข้นของรังสีมากเป็นอันดับสองของท้องฟ้า อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ไม่สามารถมองเห็นได้จากย่านความถี่อื่น ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นแสงขาวหรือแม้แต่คลื่นวิทยุ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามันน่าจะเป็นพัลซาร์เหมือนกันแม้ว่ายังไม่พบพัลส์ของรังสีก็ตาม

หลังจากนั้นชื่อของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาลึกลับนี้ก็ถูกบันทึกลงในหนังสือรายการวัตถุท้องฟ้าด้วยพิกัดดาราจักร 2CG195+04 จากความล้มเหลวในการเสาะหาครั้งแล้วครั้งเล่านักดาราศาสตร์เริ่มตั้งชื่อมันว่า เจมินกา (Geminga) ตั้งโดยนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ โจวันนี บิกนามี คำนี้เป็นภาษาท้องถิ่นของมิลานแปลว่า "ไม่มี" หรือ "ไม่อยู่" ซึ่งฟังดูจะคล้องจองกันดีกับคำว่า เจมิไน ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มดาวที่มันอยู่ (คนคู่)

ความพยายามในการค้นหาเจมินกาด้วยย่านความถี่อื่นที่ต่ำกว่ารังสีแกมมาเพิ่งจะสัมฤทธิ์ผลในปี ค.ศ. 1979 ด้วยกล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ไอน์สไตน์ของนาซา ภาพจากกล้องนี้แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งที่แม่นยำของเจมินกา ขนาดเชิงมุมที่วัดได้คือ 6 พิลิบดา เมื่อทราบตำแหน่งที่แน่นอนแล้ว การตรวจจับในย่านความยาวคลื่นของแสงที่ตามองเห็นและความถี่วิทยุยังคงล้มเหลวแม้ว่าจะใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอารีซีโบที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 เมตร ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลกแล้วก็ตาม ส่วนกล้องโทรทรรศน์ที่ตรวจจับแสงที่ตามองเห็นดาวจาง ๆ 3 ดวงที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งที่ได้มาจากกล้องโทรทรรศน์ไอน์สไตน์นั้น ด้วยกำลังกล้องโทรทรรศน์เฮลขนาด 5 เมตรที่พาร์โลมา จึงบอกได้ว่าดวงที่จางที่สุดของสามดวงนี้คือเจมินกา มีอับดับความสว่าง (โชติมาตร) 25.5 ซึ่งแทบจะเป็นวัตถุที่จางที่สุดเท่าที่เคยค้นพบเห็นกันมาในขณะนั้นเลยที่เดียว

ในปี ค.ศ. 1991 ดาวเทียมโรแซต (ROSAT) ซึ่งสำรวจย่านรังสีเอกซ์ ได้สำรวจเจมินกาในระหว่างการโคจรรอบโลก 10 รอบ ได้ผลสรุปออกมาว่า เจมิกามีคาบของพัลส์เท่ากับ 0.237097 วินาที ในที่สุดความสงสัยอันยาวนาน 18 ปี ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า เจมินกาเป็นพัลซาร์จริง ๆ

เมื่อตรวจสอบกับข้อมูลที่ได้จากยานที่ส่งไปสำรวจก่อนหน้านี้จำนวน 3 ลำก็พบว่ารังสีแกมมาจาก เจมินกานี้มีพัลส์ด้วย นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเก่าที่เก็บไว้ได้พบสิ่งสำคัญอีกย่างหนึ่งคือ อัตราการหมุนของพัลซาร์ช้าลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับอัตราการหมุนของพัลซาร์ในตอนกำเนิดตามทฤษฎีแล้วก็จะทราบอายุโดยประมาณของพัลซาร์นี้คือ 340,000 ปี

แม้ว่าจะทราบอายุของพัลส์ซาร์นี้แล้วแต่ระยะห่างจากโลกนั้นยังเป็นปริศนาอยู่ มีเพียงหลักฐานบางอย่าง ที่บ่งบอกว่าเจมินกาอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากโลกเรานี้นัก ประการแรกคือ การเคลื่อนที่เฉพาะ (proper motion) ที่ค่อนข้างเร็วของเจมินกา ซึ่งทราบได้จากการเปลี่ยนตำแหน่งในภาพถ่ายที่ถ่ายเอาไว้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือมีการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณปีละ 0.17 พิลิบดา ด้วยความเร็วเท่านี้จะสามารถเคลื่อนที่เป็นมุมเท่ากับขนาดของดวงจันทร์เต็มดวงในเวลา 10,000 ปี (เร็วพอ ๆ กับของดาวฤกษ์ที่ใกล้โลกที่สุด ) เนื่องจากนักดาราศาสตร์ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมในย่านความยาวเคลื่อนของแสงที่ตามองเห็น ดังนั้นสรุปได้ว่ามีทิศทางการเคลื่อนไปทางขวาง (ไม่ได้เคลื่อนที่เข้าหาโลกหรือเฉียงออกจากโลกหรือเฉียงเข้าหานอกโลก) เมื่อย้อนรอยไปในอดีตก็พบว่า ตำแหน่งที่เกิดซูเปอร์โนวาเป็นต้นกำเนิดของเจมินกานี้อยู่เหนือจุดกึ่งกลางระหว่างดาวเบลลาทริกซ์กับดาวเบเทลจุดนั่นคือบริเวณหัวนายพราน

อีกหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่ามันอยู่ไม่ไกลคือจากรังสีเอกซ์ โดยปกติแล้วอะตอมของก๊าซที่อยู่ในอวกาศจะดูดกลืนรังสีเอกซ์ แต่รังสีเอกซ์ที่ตรวจวัดได้จากเจมินกามีร่องรอยการดูดกลืนน้อย ซึ่งประมาณได้ว่าเจมินกาน่าจะอยู่ไม่ไกลไปกว่า 450 ปีแสงจากโลก

ประการสุดท้ายก็คือความสว่างของเจมินกาเอง การที่จะมีความสว่างขนาดนี้ได้จะต้องมีระยะห่างไม่เกิน 1,300 ปีแสง แม้ว่าไม่มีหลักฐานใดบอกระยะห่างที่แน่นอนได้ แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมจากแหล่งข้อมูลทั้งสามเข้าด้วยกันก็จะได้ระยะห่างที่แคบเข้าคืออยู่ในช่วง 300 ถึง 1,300 ปีแสง ซึ่งเชื่อว่าระยะห่างจริงน่าจะค่อนมาทางตัวเลขน้อยกว่า

หากเจมินกาเคลื่อนที่ไปในอวกาศด้วยความเร็วเท่า ๆ กับพัลส์ซาร์ทั่วไป ก็น่าจะเคลื่อนมาเป็นระยะทางประมาณ 150 ปีแสง ถึง 300 ปีแสงจากตำแหน่งที่ระเบิด ซึ่งอาจอยู่ใกล้กว่า 100 ปีแสงหาได้

ในขณะที่ข้อมูลของเจมินกาเองบ่งบอกขีดจำกัดสูงสุดของระยะห่าง โลกเรานั้นแม้จะมีบรรยากาศห่อหุ้มซึ่งคอยปกป้องรังสีเอกซ์อยู่ก็ตาม แต่หาการระเบิดอยู่ใกล้โลกเพียง 1 ปีแสง รังสีเอกซ์และรังสีแกมมาจะเข้มข้นมากจนทำลายบรรรยากาศเหนือ 50 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกทั้งหมด และทิ้งร่องรอยการระเบิดไว้นบโลกแต่เมื่อไม่พบหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงซูเปอร์ต้องเกิดห่างจากโลก 1 ปีแสง

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าถ้าซูเปอร์โนวาอยู่ห่างจากโลกมากกว่า 1 ปีแสง แล้วโลกจะปลอดภัยจากรังสี เมื่อใดที่มีการดูดกินรังสีเอกซ์หรือแกมมาที่บรรยากาศชั้นสูงของโลก จะเกิดปฎิกริยาเคมีทำลายโอโซนขึ้น หากว่าซูเปอร์โนวา หากว่าซูเปอร์ในวาเกิดขึ้นใกล้กว่า 30 ปีแสง ความเข้มของรังสกจะมากพอที่จบล้างโอโซนทั้งหมดภายในเวลาไม่ไอโซลล์ ความเข้มข้นของรังสีมากพอที่จะลบล้างโอโซนภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งนั่นหมายความว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกด้ายทั้งหมดที่จะลบล้างโอโซนบนโลกได้ทั้งหมดภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งหมายความ

มีสิ่งมีชีวิตบนโลกต้องๆได้รับอันตรายอย่างแน่นอนเป็น อันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ไม่ใช่จากซูเปอร์โนวาโดยตรง แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยพบรายงานทางชีววิทยาที่แสดงถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเลยในช่วง 340,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่าซูเปอร์โนวาต้องเกิดขึ้นห่างจากโลกมากกว่า 30 ปีแสง

บางทีหลักฐานที่ชี้ชัดถึงระยะห่างจากซูเปอร์โนวาเป็นเท่าใดอาจจะอยู่ที่ " ฟอง "ที่ห่อหุ้มเราอยู่ นักดาราศาสตร์ได้ทราบมาเป็นเวลานานแล้วว่า ระบบสุริยะเรานี้ถูกห่อหุ้มด้วยฟองก๊าซอันเบาบาง(กรุณานึกถึงภาพของฟองควันจากการระเบิดหรือจากปลายกระบอกปืน อย่านึกถึงภาพฟองก๊าซในขวดน้ำอัดลมหรือฟองของผงซักฟอก) เมื่อประมาณสิบปีก่อน ดอน ค็อกซ์ กับรอน เรย์โนลด์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งคอนซิล ได้เสนอแนวคิดใหม่ว่า ฟองก๊าซที่ห่อเราอยู่นี้น่าจะมาจากซูเปอร์โนวาซึ่งระเบิดขึ้นเพียงไม่กี่แสนปีก่อน และได้คำนวณอายุของซูเปอร์โนวาเอาไว้ด้วยซึ่งผลการคำนวณของเขาก็เท่ากับอายุของเจมินกาอย่างพอดิบพอดี

ฟองก๊าซที่ว่านี้เกิดจากซูเปอร์โนวาสลัดมวลสารที่อยู่ภายในดาวออกมาปริมาณสารเหล่านี้มีมวลรวมนับสิบเท่าของมวลดวงอาทิตย์และพุ่งออกมาด้วยความเร็วสูง 60,000 กิโลเมตรต่อวินาที เนื้อดาวที่อยู่ใกล้ผิวดาวที่สุดเมื่อก่อนการระเบิดก็จะถูกผลักออกด้วยความเร็วสูงสุด ส่วนเนื้อดาวที่อยู่ใกล้ใจกลางดาวก็จะมีความเร็วต่ำกว่าเล็กน้อยและวิ่งตามหลังไป เมื่อตอนเริ่มแรกเศษดาวเหล่านี้ขยายตัวออกอย่างอิสระพร้อมเก็บกวาดฝุ่นก๊าซที่อยู่รายรอบออกไปด้วย เมื่อก๊าซที่เป็นกำแพงหน้ากระทบกับก๊าซในอวกาศจะเสียพลังงานและเริ่มช้าลง แต่อย่างไรก็ตามคลื่นช็อกก็ยังคงพุ่งต่อไปพร้อมกับผลักมวลสารที่ขวางหน้าออกไปด้วยอุณหภูมินับล้านองศา

ในขณะที่มวลสารที่มาจากใจกลางดาวที่ตามหลังไปก็เริ่มตามทันมวลสารแถวหน้าที่เคลื่อนช้าลงและจนในที่สุดก็เกิดการชนกันอย่างรุนแรง ก๊าซส่วนใหญ่ที่ชนกันนี้ก็จะรวมเป็นชั้นเดียวและขยายวงกว้างออกไปพร้อม ๆ กันดังนั้นในขณะนี้ซูเปอร์โนวาจึงดูเหมือนลูกโป่งที่กำลังพองออก สสารส่วนใหญ่ ก็จะอยู่ที่เปลือกรอบนอกนี้เองซึ่งคลุกเคล้าไปด้วยเศษซากของดาวทั้งจากส่วนในใจกลางดาวและส่วนผิวดาว ธาตุใหม่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการระเบิด(nucleosynthesis) อีกทั้งฝุ่นก๊าซที่มันกวาดมาด้วย ในขณะที่ภายใน " ลูกโป่ง " นี้จะมีมวลสารอยู่เบาบางมาก ดังนั้นขณะนี้จึงเสมือนกับว่ามีโพรงในอวกาศที่เกิดขึ้นจากซูเปอร์โนวาแล้วซึ่งจะคงสภาพอยู่ได้นับล้านปี

จากการสำรวจของยานอวกาศพบว่าฟองที่ห่อหุ้มเราอยู่มีรูปร่างบิด ๆ เบี้ยว ๆ คล้ายลูกชมพู่ มีทิศทางตั้งฉากกับระนาบของดาราจักร ส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างประมาณ 200 ปีแสง ส่วนที่กว้างที่สุดมีความกว้างประมาณ 600-700 ปีแสง และส่วนที่อยู่ทางใต้ของระนาบดาราจักรมีความกว้างประมาณ 300 ปีแสง เหตุที่มีรูปร่างเช่นนี้ก็เพราะว่าบริเวณที่เป็นระนาบของดาราจักรมีความแน่นของก๊าซสูงกว่าส่วนเหนือและส่วนใต้ของระนาบนั่นเอง นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณว่าจุดศูนย์กลางของฟองก๊าซชมพู่นี้อยู่ห่างจากเราประมาณไม่ถึง 200 ปีแสง ในทิศทางของกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งก็ใกล้เคียงกับตำแหน่งของเจมินกาตอนระเบิดดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อคลื่นช็อกที่เป็นด้านหน้าของซูเปอร์โนวานี้ผ่านเข้ามาในระบบสุริยะน่าจะเกิดเหตุการณ์สำคัญบางอย่างละทิ้งร่องรอยเอาไว้ โลกและดาวเคราะห์วงในอาจจะไม่สัมผัสถูกลูกคลื่นนี้ แต่ดาวเคราะห์วงนอกละบริวารของมันอาจจะเคยถูกอาบด้วยกำแพงอันร้อนระอุนี้มาบ้าง ขึ้นอยู่กับสสารเหล่านี้มีปฏิกิริยาอย่างไรติ่ลมสุริยะซึ่งจะมีบทบาทป้องกันดาวเคราะห์จากสิ่งแปลกปลอมจากอวกาศ

ลมสุริยะนั้นเป็นสายธารของอนุภาคประจุไฟฟ้าคือโปรตอนและอิเลคตรอนที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วประมาณ 500 กิโลเมตรต่อวินาที เมื่อมีการกระทบกับอนุภาคที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศ ลมสุริยะนี้ก็จะค่อย ๆ ลดความเร็วลงจนกระทั่งสมดุลกับความดันก๊าซจากอวกาศภายนอก และหยุดลง ณ ที่นั่น เป็นเสมือนรั้วแสดงอิทธิพลของลมสุริยะและดวงอาทิตย์ซึ่งเรียกว่า เฮลิโอพอซ (Heliopause) ซึ่งนักดาศาสตร์คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 150 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์ จะเห็นว่าครอบครัวระบบสุริยะของเรามี ลานบ้าน ที่กว้างขวางมาก (รัศมีวงจรของดาวพลูโตประมาณ 40 หน่วยดาราศาสตร์)

แม้ว่าลมสุริยะจะยอมให้มีรังสีคอสมิคและอะตอมธรรมชาติบางส่วนเล็ดเข้ามาถึงระบบสุริยะวงในได้ก็ตามแต่มันก็แข็งแรงพอที่จะป้องกันมิให้อนุภาคเหล่านั้นเข้ามาถึงโลกเราได้แต่ลมสุริยะก็ไม่มีผลกับคลื่นช็อกที่มาจากซูเปอร์โนวาที่อยู่ใกล้เคียง

ความดันของก๊าซที่มากับคลื่นช็อกนั้นสูงกว่าความดันก๊าซที่อยู่ในอวกาศตามปกติมาก ดังนั้นลมสุริยะจึงถูกดันเข้ามา ซึ่งก็หมายถึงอาณาบริเวณที่ลมสุริยะปกป้องดาวบริวารก็จะแคบลงด้วยโลกของเรานั้นอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จึงยังคงปลอดภัยจากคลื่นยักษ์นี้ แต่สำหรับดาวเคราะห์ที่อยู่วงนอกรวมทั้งดาวบริวารของมันย่อมมีโอกาสที่จะอยู่นอกเขตคุ้มครองและได้ผลกระทบนี้อยู่เต็มที่ หากว่าคลื่นช็อกนี้รุนแรงมากพอที่จะทะลวงกำแพงลมสุริยะเข้ามาได้ใกล้กว่ารัศมีวงจรของดาวเคราะห์ดวงนั้น

ความรุนแรงของคลื่นช็อกนี้เกิดขึ้นกับตำแหน่งซูเปอร์โนวาเกิด สมมติว่าซูเปอร์โนวาเจมินกานี้เกิดห่างจากเราไปประมาณ 100 ปีแสง (จากค่าที่ประมาณไว้อยู่ระหว่าง 30 ถึง 200 ปีแสง ) ที่ระยะห่างขนาดนี้ จะมีความสว่างประมาณแมกจิจูด-16 หรือ ประมาณ 20 เท่าของดวงจันทร์วันเพ็ญ หลังจากประมาณ 9,000 ปีคลื่นช็อกก็เดินทางมาถึงระบบสุริยะเมื่อถึงขณะนี้ก็มีความเร็วเหลือเพียง 1,400 กิโลเมตรต่อวินาทีซึ่งจะสามารถบุกทะลวงระบบสุริยะเข้ามาได้ถึงประมาณ รัศมีวงจรของดาวพฤหัสบดีดังนั้นดวงเคราะห์และบริวารดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลไปกว่านั้นจะต้องถูกกระหน่ำด้วยพายุจากเจมินกาอย่างแน่นอน

ซูเปอร์โนวานี้จะต้องเกิดขึ้นที่ระยะใกล้กว่า 30 ปีแสง ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะปลอดภัย แต่สำหรับดาวยูเรนัส เนปจูนและพลูโต ลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ก็ยังไม่สามารถปกป้องไว้ได้ ดังนั้นย่อมสรุปได้ว่าต้องมีดาวเคราะห์บางดวงที่จะต้องเคยถูกโจมตีจากพายุเจมินกามาก่อน

นั่นหมายถึงข่าวดี เพราะพายุนี้จะพาเอาธาตุต่าง ๆ ที่เกิดจากซูเปอร์โนวามาทิ้งไว้บนพื้นผิวดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์วงนอกที่ไม่มีบรรยากาศเหล่านั้น และจะคงสภาพอยู่อย่างไม่แปรเปลี่ยนแม้ว่าระยะเวลาจะล่วงเลยมาถึง 340,000 ปีก็ตามหากโครงการอวกาศในอนาคตไปสำรวจเพื่อค้นหาธาตุเหล่านี้ ก็จะเป็นการศึกษาทางเคมีของซูเปอร์โนวาจากธาตุโดยตรงเป็นครั้งแรก ปริศนาความสัมพันธ์ระหว่างซูเปอร์โนวากับฟองอากาศที่ห่อหุ้มเรากำลังจะถูกไขในเร็ว ๆ นี้

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/geminga/geminga.html
9
คนแรกที่เสนอความคิดว่าดวงจันทร์เต็มไปด้วยภูเขาคือ ดีโมครีตัส นักปราชญ์ชาวกรีก มีอายุในช่วงปี 460-370 ปีก่อนคริสตกาล

คนแรกที่เขียนแผนที่ของดวงจันทร์คือ ดับเบิลยู กิลเบิร์ต ในช่วงราว ๆ ปี พ.ศ.2143 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2194 แผนที่นี้เขียนโดยการสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่า เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้น

ในปี 2535 พรรคนิวคาสเซิล กรีน ในอังกฤษ มีการกำหนดปฏิทินการประชุมพรรคโดยใช้ปฏิทินจันทรคติ โดยกำหนดให้ประชุมกันทุกวันจันทร์ดับ และปฏิบัติงานตามแผนทุกวันจันทร์เพ็ญ

คำว่า lunatic ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายว่า คนเพี้ยน คนไม่สมประกอบ เริ่มใช้ในประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1290 แต่มีการใช้มาตั้งแต่ยุคโรมันแล้ว คำนี้มีรากศัพท์เกี่ยวกับดวงจันทร์เนื่องจากคนในยุคนั้น (รวมถึงยุคนี้บางคน) เชื่อว่าดวงจันทร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมประหลาด ๆ ของมนุษย์คนดังอย่าง เจมส์ วัตต์, เบนจามิน แฟรงคลิน และอีกหลายคน เคยถูกเรียกว่า lunatic มาก่อน ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะว่าเป็นคนเพี้ยน แต่เป็นสมาชิกของสมาคมดวงจันทร์ (Lunar Society) ซึ่งเรียกสมาชิกของสมาคมว่า lunatic และสมาคมนี้ก็ไม่ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับดวงจันทร์ แต่เป็นสมาคมสำหรับอภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ มีการจัดประชุมทุกคืนวันจันทร์ก่อนวันเพ็ญ ด้วยเหตุผลที่ว่าแสงจันทร์ใกล้เพ็ญจะช่วยส่องทางยามค่ำคืนเมื่อสมาชิกกลับบ้าน จึงมีชื่อสมาคมว่า Lunar Society

แผนที่ดวงจันทร์ชิ้นแรกที่เขียนโดยการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เขียนโดย โธมัส แฮริออต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2262 ซึ่งแสดงรายละเอียดต่าง ๆ บนผิวดวงจันทร์ได้อย่างละเอียดและแม่นยำกว่าแผนที่ที่เขียนโดยกาลิเลโอในปี พ.ศ.2263 เสียด้วยซ้ำ

ภูเขาลูกแรกบนดวงจันทร์ที่มีการวัดความสูงกันคือ อัลเพนไนนส์ โดยกาลิเลโอ ในปี พ.ศ.2263

คนแรกที่อธิบายแสงจาง ๆ บนดวงจันทร์ด้านมืดในคืนจันทร์เสี้ยวคือ ลีโอนาร์โด ดา วินชี เขาอธิบายว่าแสงนั้นเกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากผิวโลกอีกทีหนึ่ง ซึ่งถูกต้องทุกประการ

ภาพถ่ายภาพแรกของดวงจันทร์ เป็นผลงานของ เจ ดับเบิลยู แดรเปอร์ ถ่ายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2383 ใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว เปิดหน้ากล้องนาน 20 นาที

การวัดอุณหภูมิพื้นผิวของดวงจันทร์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2412 ผลของการวัดครั้งนั้นคือ 100 องศาเซลเซียส (ตัวเลขที่แท้จริงในปัจจุบันคือ -163 ถึง 117 องศาเซลเซียส)

การวัดการสะท้อนเรดาร์ของดวงจันทร์เพื่อวัดระยะห่างเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1946 โดย แซด เบย์ ที่ฮังการี

การวัดระยะทางของดวงจันทร์ที่แม่นยำที่สุดในขณะนี้คือการวัดการสะท้อนของแสงเลเซอร์ ระยะทางเฉลี่ยที่วัดได้คือ 353911.218 กิโลเมตร

ทะเลที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์ชื่อ ทะเลแห่งฝน (Mare Imbrium) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1300 กิโลเมตร ลึก 7 กิโลเมตร

ด้านไกลของดวงจันทร์มีทะเลขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นคือ ทะเลตะวันออก (Mare Orientale) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 กิโลเมตร

แอ่งที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์คือ South Pole-Aiken มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 2500 กิโลเมตร ลึก 13 กิโลเมตร ค้นพบโดยยานคลีเมนไทน์ ในปี พ.ศ.2537 เชื่อว่าแอ่งนี้มีอายุถึง 3800 ถึง 4300 ล้านปี เกิดจากอุกกาบาตที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 กิโลเมตร

เครเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์คือ เบลลี(Bailly) เส้นผ่านศูนย์กลาง 295 กิโลเมตร ลึก 3.96 กิโลเมตร

ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของโลกคือ เอเบิล 1 เป็นของสหรัฐอเมริกา ปล่อยจากฐานวันที่ 17 สิงหาคม 2501 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกที่ประสบผลสำเร็จคือ ลูนาร์ 1 ยานนี้ไม่ได้ลงจอด เพียงแต่ผ่านดวงจันทร์ไปและส่งข้อมูลกลับมายังโลก

ยานลำแรกที่ลงจอดบนดวงจันทร์คือ ยานลูนา 2 ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2502

ภาพถ่ายดวงจันทร์ด้านไกลภาพแรกถ่ายโดยยาน ลูนา 3 ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2502

ภาพยานอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์ที่สามารถถ่ายได้จากโลกคือ ภาพของยานออร์บิเตอร์ 5 ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2511 โดย J. Fountain, S. Larson และ G. Kuiper ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาด 100 นิ้วที่แคตาลีนา จุดของยานมีอันดับความสว่างประมาณ 12 ถึง 15

เที่ยวบินอวกาศเที่ยวบินแรกที่นำมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์คือ อะพอลโล 8 ในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2511

นักบินคนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คือ นีล อาร์มสตรอง ซึ่งเดินทางไปกับยานอะพอลโล 11 เขาได้เหยียบดวงจันทร์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2512 คนถัดมาก็คือเอ็ดวิน อัลดริน

ยานอวกาศลำแรกที่นำตัวอย่างหินจากดวงจันทร์กลับมายังโลกโดยไม่มีนักบินคือ ลูนา 16 ปล่อยจากฐานในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2513

ศาสตราจารย์ทางธรณีวิทยาคนแรกที่เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์คือ แฮริสัน ชมิทท์ เดินทางไปกับยานอะพอลโล 17 ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2515

นักบินอวกาศคนล่าสุดที่ได้เหยียบดวงจันทร์คือ ยูจีน เซอแนน นักบินอวกาศยานอะพอลโล 17

ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของญี่ปุ่นคือ ฮะโกะโมะโระ ปล่อยจากฐานไปเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2533

การสังเกตการณ์ดวงจันทร์ในขณะดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางที่สุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2515 โดยนาย อาร์. มอแรน จากแคลิฟอเนีย ด้วยกล้องสองตาขนาด 10 x 50 ในขณะนั้นดวงจันทร์มีอายุคาบเพียง 14 ชั่วโมง 53 นาที เท่านั้น

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/moontip/moontip.html
10
พิชิต อิทธิศานต์

ผู้เริ่มสนใจหรือนักดาราศาสตร์ขั้นต้นไม่จำเป็นต้องมีกล้องโทรทรรศน์ มีจำนวนไม่น้อยที่ซื้อกล้องราคาแพงก่อนที่จะรู้จักใช้อย่างเป็นประโยชน์หรือมีความพร้อมบางครั้งเจอปัญหาเจ้าของกล้องหงุดหงิด ท้อแท้เพราะใช้ไม่เป็น ในที่สุดก็เก็บกล้องไว้เฉย ๆ เลิกสนใจดาวไปเลยนับว่าน่าเสียดายที่เขาไม่มีโอกาสเห็นสิ่งสวยงามจำนวนมากรอเขาอยู่

เหตุผลสำคัญที่ผู้เริ่มต้นดูดาวยังไม่พร้อมที่จะใช้กล้องโทรทรรศน์คือ ยังไม่คุ้นเคยกับท้องฟ้า ยังดูดาวไม่เป็นบอกไม่ได้ว่าดาวดวงไหนเป็นดาวเคราะห์ ยังไม่ทราบว่ามีวัตถุอะไรบ้างที่ดูได้ดีในกล้องโทรทรรศน์และยังไม่ตระหนักว่ากล้องโทรทรรศน์ส่องเห็นบริเวณจุดเล็ก ๆ บนฟ้าเท่านั้น บางตนคิดว่ากล้องเล็ก ๆ จะส่องเห็นเนบิวลาหรือกระจุกดาวฤกษ์เหมือนภาพถ่ายในตำราซึ่งได้ยังไม่ตระหนักว่ากล้องโทรทรรศน์ส่องเห็นบริเวณจุดเล็ก ๆ จากกล้องขนาดใหญ่

เพราะฉะนั้นก่อนซื้อกล้องโทรทรรศน์ต้องดูดาวเป็นก่อน ต้องทราบว่ามีอะไรให้ดูบนฟ้าบ้างในฤดูต่าง ๆ ควรได้ส่องดูด้วยกล้องสองตาแล้ว นั่นก็หมายความว่า แผนที่ดาว มีคู่มือดูดาว รู้จักกลุ่มดาวต่าง ๆ รู้จักดาวฤกษ์ดวงสว่างทั้ง 21 ดวง และบอกชื่อตลอดทั้งตำแหน่งของดาวเคราะห์ที่เห็นด้วยตาเปล่าทั้ง 5 ดวงได้

ก่อนซื้อกล้องโทรทรรศน์ควรมีกล้องสองตาก่อนเอากล้องสองตาค้นหากาแลกซี หรือกระจุกดาวฤกษ์หรือเนบิวลาที่ปรากฏในแผนที่ดาว โดยเฉพาะเอ็ม 31 หรือกาแลกซีแอนโดรเมนดาในกลุ่มดาวแอนโดรเมนดา เอ็ม 13 ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลิส เป็นต้น

เมื่อพร้อมที่จะมีกล้องโทรทรรศน์ ก่อนซื้อควรมีข้อพิจารณาดังนี้

การเคลื่อนย้าย คงไม่เป็นต้องซื้อกล้องขนาดใหญ่ที่มีขาตั้งหนักเป็นต้น เพราะกล้องใหญ่เช่นนี้เหมาะที่จะอยู่กับที่ในหอดูดาว ควรซื้อกล้องที่เคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวก ติดตั้งไม่ยุ่งยากมากนัก พร้อมที่จะเอาออกมาตั้งในคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเสมอ
ใช้ง่าย กล้องที่ใช้ง่ายไม่สลับซับซ้อนเป็นกล้องที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น กล้องที่ต้องใช้เวลานานในการศึกษาก่อนนำไปใช้ยังไม่เหมาะในขั้นนี้ ผู้เริ่มต้นควรใช้กล้องเพื่อค้นหาวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ แทนที่จะเสียเวลามาเรียนวิธีตั้งกล้องอันวิจิตรพิสดาร
ราคา การลงทุนขั้นต้นเป็นข้อพิจารณาสำคัญของคนทั่วไป กล้องคุณภาพดีเป็นการลงทุนที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะถ้าใช้อย่างถูกต้อง ดูแลรักษาอย่างดีจะใช้ได้ตลอดชีวิต กล้องบางกล้องอายุยาวมากกว่าที่ยังใช้ได้ดีและเจ้าของก็ยังรักและหวงแหน โดยไม่ยอมขายต่อ ข้อควรระวังในเรื่องราคาคือ กล้องคุณภาพต่ำแต่ราคาแพง กล้องในท้องตลาดที่ขายตามห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศในราคา 400 เหรียญสหรัฐ หรือน้อยกว่าไม่ควรซื้อ เพราะจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า เนื่องจากคุณภาพยังไม่ดี แต่กล้องมือสองของสมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ผู้ซึ่งต้องการเปลี่ยนเป็นกล้องที่ใหญ่กว่าหรือเปลี่ยนเป็นกล้องประเภทอื่น จะเป็นกล้องที่ราคาเหมาะสมและคงจะเหมาะสำหรับผู้พร้อมที่ซื้อกล้องดูดาวเป็นกล้องแรก ราคาอาจเท่ากับหรือน้อยกว่าราคาของกล้องที่ขายตามห้างสรรพสินค้า
ความเหมาะสมกับการใช้งาน กล้องโทรทรรศน์แต่ละประเภทเหมาะสำหรับใช้งานต่าง ๆ กัน กล้องหักเหแสงขนาด 100 มม. อาจเป็นกล้องที่เหมาะมาก ๆ สำหรับดูพื้นผิวดวงจันทร์และดาวเคราะห์ที่สว่างมาก ๆ แต่ไม่เหมาะดูกาแลกซี ซึ่งริบหรี่มองไม่เห็น กล้องสะท้อนแสงขนาดใหญ่อาจเหมาะสำหรับกาแลกซีที่อยู่ไกล แต่อาจไม่ใช่กล้องที่ดีเพื่อดูรายละเอียดพื้นผิวดาวเคราะห์ มีข้อควรพิจารณาอีกมากมายถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกล้องซึ่งจะหาได้จากผู้มีประสบการณ์ในด้านนี้
สรุปคือ ท่านควรซื้อกล้องดูดาวเมื่อท่านรู้จักท้องฟ้าดีแล้ว รู้จักวัตถุท้องฟ้าได้โดยใช้กล้องสองตา ต่อไปนี้เป็นคำถามสำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อกล้องโทรทรรศน์ หากท่านผ่านด่านนี้ได้ก็ถึงเวลาที่จะมีกล้องดูดาวได้แล้ว

ท่านรู้จักกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าด้านเหนือถึง 12 กลุ่ม หรือยัง
ท่านรู้จักกลุ่มดาวในซีกฟ้าด้านใต้อย่างน้อย 12 กลุ่ม หรือยัง
ท่านสามรถบอกชื่อ หรือตำแหน่งของสิ่งต่อไปนี้ได้หรือยัง
3.1 ดาวคู่ 4 แห่ง
3.2 ดาวแปรแสง 4 ดวง
3.3 กระจุกดาวฤกษ์ 5 แห่ง
3.4 เนบิวลาหรือกาแล็กซี 5 แห่ง
ท่านได้เห็นวัตถุในข้อ 3 ด้วยตาเปล่าของท่านเองหรือยัง อาจจะเป็นการดูด้วยตาเปล่าหรือใช้กล้องสองตา
ท่าสามารถหาวัตถุท้องฟ้าในข้อ 3 ได้ด้วยตนเองหรือไม่โดยท่านอาจใช้กล้องสองตาช่วยด้วยหากจำเป็น
ท่านคุ้นเคยกับแผนที่โดยละเอียดอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ปรากฏในแผนที่ฟ้านี้หรือไม่
ท่านมั่นใจหรือไม่ว่า ท่านจะมีเวลาศึกษารายละเอียดของกล้องเพื่อพร้อมที่ใช้สังเกตวัตถุท้องฟ้าจำนวนมากซึ่งกำลังรอท่านอซึ่งกำลังรอท่านอยู่
หากคำตอบท่านเป็น " Yes " ของทุกข้อ จงเอาเงินไปซื้อไดเลย แต่โปรดอย่ารีบร้อนจนเกินไป ขอให้มีเวลาพุดคุยกับผู้ที่มีกล้องต่าง ๆ แล้วตัดสินใจว่าจะเอากล้องประเภทไหนจึงจะเหมาะงานของตน เมื่อซื้อกล้องมาแล้วสละเวลาเรียนรู้การใช้กล้องให้ถูกต้องและใช้กล้องอย่างมีประสิทธิภาพ ผลตอบแทนในภาพภาคหน้าของการใช้กล้องจะข้นอยู่กับการตัดสินใจที่ถูกต้องก่อนซื้อ

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/beforebuyingtelescope/beforebuyingtelescope.html

หน้า: [1] 2 3 ... 10