กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
11
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / 2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 27, 2011, 02:15:39 PM »
19 กุมภาพันธ์ 2550วรเชษฐ์                                                                                                บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)

ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส 2547 ถึงปีใหม่ 2548 ขณะที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทยกำลังประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ท่ามกลางความสนใจของสื่อมวลชนและผู้คนทั่วโลกที่พุ่งเป้าไปที่ภัยพิบัติครั้งนั้น อีกมุมหนึ่งนักดาราศาสตร์หลายคนกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษกับดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งที่บ่งบอกว่ามันอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อโลกได้ในอนาคตอันใกล้

ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (99942 Apophis) ซึ่งขณะนั้นถูกเรียกว่า 2004 เอ็มเอ็น 4 (2004 MN4) ถูกพบครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 แต่ไม่สามารถติดตามสังเกตการณ์ต่อได้ กลับมาพบอีกครั้งในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ข้อมูลวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ชี้ว่าวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572 (ค.ศ. 2029) ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะผ่านใกล้โลกและมีโอกาสชนโลกด้วยอัตราส่วน 1 ใน 38 ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับบรรดาดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้โลกดวงอื่น ๆ ที่ได้ค้นพบไปก่อนหน้านั้น

แม้อัตราส่วนดังกล่าวคือโอกาสประมาณ 2.6 เปอร์เซนต์ แต่คำว่า "มีโอกาส" ไม่ว่าจะน้อยหรือมากมีความหมายอย่างเดียวกัน คือ นักดาราศาสตร์ไม่สามารถฟันธงได้ว่าปี 2572 โลกจะเผชิญกับหายนะจากดาวเคราะห์น้อยดวงนี้หรือไม่ อะโพฟิสจึงเข้าไปอยู่ในรายชื่อดาวเคราะห์น้อยที่ต้องจับตามองโดยอัตโนมัติ
ไม่กี่วันถัดมาหลังจากได้ข้อมูลวงโคจรเบื้องต้นของอะโพฟิส นักดาราศาสตร์ได้ไปค้นหาภาพถ่ายในคลังภาพของท้องฟ้าบริเวณที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้น่าจะเคลื่อนผ่าน เจฟฟ์ ลาร์เซน และ แอนน์ เดสเคอร์ พบอะโพฟิสในภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.9 เมตรของหอดูดาวคิตต์พีก แอริโซนา มันช่วยให้คำนวณวงโคจรได้แม่นยำขึ้น สามารถบอกได้ว่าดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสจะไม่ชนโลกและดวงจันทร์อย่างแน่นอน แต่เฉียดผ่านโลกด้วยระยะห่างประมาณ 64,400 กิโลเมตร

ผลจากเรดาร์

วันที่ 27-30 มกราคม 2548 ทีมนักดาราศาสตร์นำโดย แลนซ์ เบนเนอร์ แห่งห้องปฏิบัติการขับดันไอพ่น (เจพีแอล) ขององค์การนาซาได้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสด้วยเรดาร์ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุอะเรซิโบที่ตั้งอยู่ที่เปอร์โตริโก การส่งคลื่นวิทยุไปสะท้อนกับพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยทำให้ทราบข้อมูลตำแหน่ง รวมทั้งความเร็วในการเคลื่อนที่ได้ดีกว่าการคำนวณก่อนหน้านี้ที่อาศัยเพียงภาพถ่าย
ข้อมูลจากเรดาร์สรุปได้ในที่สุดว่าวันที่ 13 เมษายน 2572 อะโพฟิสจะเฉียดผ่านโลกด้วยระยะห่าง 36,350 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 5.7 เท่าของรัศมีโลก ใกล้กว่าดวงจันทร์เกือบ 11 เท่า และใกล้กว่าดาวเทียมค้างฟ้า

มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

การเข้าใกล้โลกอย่างมากของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสในช่วงสงกรานต์ พ.ศ. 2572 ทำให้เรามีโอกาสสังเกตเห็นมันในเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบตะวันตกของทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และแอฟริกา ไม่ต้องใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่แถบชานเมืองและที่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ อะโพฟิสจะปรากฏเหมือนดาวทั่วไปบนท้องฟ้าแต่เคลื่อนที่ได้และเร็ว นักดาราศาสตร์เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งเดียวในรอบสหัสวรรษ
ที่ผ่านมามีดาวเคราะห์น้อยผ่านใกล้โลกหลายดวง แต่ไม่เคยมีดวงใดที่สว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่นนี้มาก่อน นักดาราศาสตร์คะเนว่าเหตุการณ์ทำนองนี้มีโอกาสเกิดขึ้นทุก ๆ 1,300 ปีหรือนานกว่านั้น

วงโคจร

ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยวงโคจรต่างจากดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ที่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก (ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี) วงโคจรของมันอยู่ใกล้วงโคจรโลก เส้นทางส่วนใหญ่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกและเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 323 วัน
แม้ว่าอะโพฟิสจะไม่ชนโลกในปี 2572 แต่นักวิทยาศาสตร์ก็กระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนป้องกันไว้ เพราะแรงโน้มถ่วงของโลกจะเบนวงโคจรของอะโพฟิส ส่งผลให้การคาดหมายวงโคจรในอนาคตมีความแม่นยำน้อยลง ผลการคำนวณล่าสุดระบุว่าวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2579 อะโพฟิสจะเข้าใกล้โลกอีกครั้งและมีโอกาสชนโลก 1 ใน 45,000 หรือ 0.002% นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นทั้งที่พบแล้วและยังไม่พบที่มีโอกาสเป็นอันตรายต่อโลกได้ในอนาคต ดังนั้นการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/apophis/apophis.html

12
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / การเกิดซูเปอร์โนวา
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 27, 2011, 02:08:27 PM »
ซูเปอร์โนวาเป็นการระเบิดอย่างรุนแรงของดาวซึ่งมีแหลายแบบ ที่เกิดกับซูเปอร์โนวา 1987 เอ เกิดจากกับยุบตัวของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่า (อย่างน้อย 8 เท่า) ดาวฤกษ์ทุกดวงคงอยู่ได้ด้วยสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงของตัวมันเองที่พยายามดึงเนื้อสารของดาวเข้าหาศูนย์กลางกับแรงต้านที่เกิดจากความร้อนด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใจกลาง แต่ดาวฤกษ์ทุกดวงมีเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในปริมาณที่จำกัด ดาวดวงที่หนักกว่าส่องสว่างมากกว่าและใช้เชื้อเพลิงเหล่านั้นหมดไปรวดเร็วกว่าดาวที่มีมวลน้อยกว่า ดวงอาทิตย์ของเราคงอยู่มาได้ราว 4,600 ล้านปีมาแล้ว และจะหมดอายุขัยในอีกประมาณ 5,000 ล้านปี
ในทางกลับกันดาวที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 10 เท่ากลับมีอายุเพียง 10 ล้านปีเท่านั้น เมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้ถึงวาระสุดท้ายของวิวัฒนาการ เชื้อเพลิงไม่เหลือมากพอที่จะทำให้ดาวคงอยู่ได้อีกต่อไป มันจะเกิดธาตุหนักที่แกนกลาง ความโน้มถ่วงของดาวทำให้ดาวยุบตัวลงอย่างฉับพลันและระเบิดอย่างรุนแรง การระเบิดครั้งหนึ่งอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันจนสว่างที่สุด พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากซูเปอร์โนวาอาจเทียบได้กับพลังงานที่ดวงอาทิตย์ของเราผลิตออกมาในรอบหนึ่งปีนับหมื่นล้านเท่า ขณะที่ซูเปอร์โนวาเปล่งแสงสว่างที่สุด อาจสว่างกว่าดาราจักรที่มันอยู่ด้วยซ้ำไป
ซูเปอร์โนวาเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในดาราจักรทางช้างเผือกที่มีสมาชิกเป็นดาวฤกษ์ราวหนึ่งแสนล้านดวง นักดาราศาสตร์คะเนว่ามีซูเปอร์โนวาเกิดขึ้นราว 3-4 ครั้งต่อศตวรรษ แต่เราเห็นมันได้น้อยครั้งกว่านี้มาก เป็นเพราะส่วนใหญ่ซูเปอร์โนวาถูกบดบังโดยเมฆหมอกของฝุ่นและแก๊สระหว่างดาว เราจึงเห็นซูเปอร์โนวาในดาราจักรของเราได้เฉพาะที่อยู่ห่างจากเราไม่มากนัก ส่วนกรณีของซูเปอร์โนวา 1987 เอ อยู่ในดาราจักรเพื่อนบ้าน สามารถมองเห็นได้เพราะมันอยู่ในทิศทางห่างจากแนวระนาบทางช้างเผือก จึงไม่มีฝุ่นมืดระหว่างดาวมาบดบัง

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/sn1987a/sn1987a.html

13
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / กล้องโทรทรรศน์คืออะไร?
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 27, 2011, 11:24:46 AM »
กล้องโทรทรรศน์คืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่ทำหน้าที่ดึงภาพจากระยะไกลให้ปรากฏเหมือนกับอยู่ใกล้ ๆ ใช้สำหรับส่องดูวัตถุไกล ๆ เช่น ดวงดาว ตามนิยามเดิมในภาษาอังกฤษ จะระบุด้วยว่ากล้องจะต้องเป็นวัตถุทรงกระบอก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์พัฒนาไปมาก จนสามารถสร้างกล้องจนมีรูปร่างหลากหลายมากขึ้นจนบางชนิดอาจไม่เป็นทรงกระบอกก็ได้






วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq0083.html

14
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / การพยากรณ์พายุสุริยะ
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 26, 2011, 02:55:14 PM »
การพยากรณ์พายุสุริยะ
     ดังจะเห็นได้ชัดแล้วว่า ลมสุริยะหรือพายุสุริยะมีฤทธิ์เดชและอิทธิพลต่อโลกมากพอสมควร และสามารถสร้างความเสียหายแก่โลกได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการเฝ้าติดตามดวงอาทิตย์เพื่อพยากรณ์พายุที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดจากลมสุริยะได้อย่างทันท่วงที

     เราสามารถคาดการณ์สภาพลมฟ้าอากาศบนโลกและบรรยากาศชั้นล่างได้ จากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ถึงแม้ว่าวิทยาการด้านอุตุนิยมวิทยามีการพัฒนามาเป็นเวลานานและมีความก้าวหน้าความแม่นยำสูงมาก แต่สำหรับการพยากรณ์ลมฟ้าอากาศในชั้นบรรยากาศเบื้องสูงหรือสภาพต่าง ๆ เหนือชั้นบรรยากาศของโลกไปนั้น ยังเป็นศาสตร์ที่เพิ่งเริ่มต้นตั้งไข่เท่านั้น ประสิทธิภาพในการพยากรณ์ขึ้นอยู่กับความเข้าใจกลไกทั้งหมดของระบบบรรยากาศเบื้องสูงและสภาพเหนือบรรยากาศโลกขึ้นไปรวมทั้งปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพยากรณ์บรรยากาศชั้นสูงในปัจจุบันนี้จึงเป็นการสังเกตการณ์จากการเกิดแฟลร์และโพรงคอโรนาเป็นสำคัญ

     ตามที่เราได้ทราบแล้วว่า การประทุของลมสุริยะจะเกิดจากแฟลร์ขนาดใหญ่ที่มักเกิดบริเวณกระจุกของจุดดำหรืออาจเกิดจากคอโรนัลแมสอีเจกชัน ดังนั้นการจะรู้ว่าจะมีลมสุริยะรุนแรงพัดมาถึงโลกอาจพอคาดการณ์ได้จากแฟลร์ขนาดใหญ่หรือกระจุกจุดดำ หากกระจุกจุดดำมีตำแหน่งที่จะพาดผ่านหน้าดวงอาทิตย์ และหากมีการปะทุของแฟลร์ในช่วงที่หันมาทางโลกพอดี ก็มีโอกาสมากที่โลกจะถูกกระหน่ำโดยพายุสุริยะ

     สัญญาณอันตราย เมื่อใดที่พบแฟลร์มีการบิดตัวเป็นรูปตัวเอส (S) อย่างนี้บนดวงอาทิตย์ มักจะตามมาด้วยการปะทุอย่างรุนแรงของลมสุริยะ

     รูปร่างของแฟลร์บริเวณกระจุกจุดดำก็อาจถือเป็นสิ่งบอกเหตุได้ว่าจะทำให้เกิดการระเบิดใหญ่ นักดาราศาสตร์ได้สังเกตพบว่า เมื่อใดที่แฟลร์มีการบิดตัวอย่างรุนแรง อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดขาดและลัดวงจรของสนามแม่เหล็ก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการระเบิดอย่างรุนแรงได้
     ขณะนี้มีดาวเทียมหลายดวงที่มีหน้าที่คอยเฝ้าสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ตลอดเวลา ทำให้สามารถแจ้งเหตุการกระโชกของลมสุริยะที่เกิดจากคอโรนัลแมสอีเจกชันล่วงหน้าได้ประมาณ 1 หรือ 2 วันก่อนที่จะพัดมาถึงโลก ส่วนลมสุริยะที่แรงและเร็วที่สุดจะสามารถเตือนล่วงหน้าได้ประมาณครึ่งชั่วโมง เวลาเท่านี้ถือว่าเพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้าที่จะเตรียมการระบบจ่ายไฟหรือระบบป้องกันฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับความแปรปรวนที่จะเกิดขึ้นจากสนามแม่เหล็ก และยังนานพอที่จะเตือนนักดาราศาสตร์และประชาชนให้ตื่นขึ้นมาดูแสงเหนือ-แสงใต้ได้

     ระยะเวลาล่วงหน้าของการพยากรณ์นี้ถูกจำกัดจากหลายปัจจัย เช่นโดยธรรมชาติที่มีอายุสั้นของแฟลร์ และโดยความที่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงกลไกการเกิดแฟลร์และคอโรนัลแมสอีเจกชัน ตำแหน่งการสังเกตการณ์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการพยากรณ์อีกด้วย การสังเกตการณ์จากโลกและดาวเทียมบริเวณโลกจะมองเห็นผิวของดวงอาทิตย์ได้เฉพาะด้านที่หันเข้าสู่โลกเท่านั้น แต่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวดวงอาทิตย์ด้านตรงข้ามได้เลย หากสามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ฝั่งตรงข้ามได้แล้ว นักดาราศาสตร์คงจะสามารถพยากรณ์การเกิดพายุสุริยะล่วงหน้าได้นานขึ้น

     ความหวังของนักดาราศาสตร์เริ่มสดใสขึ้นเมื่อดาวเทียมโซโฮ (SOHO) สามารถมองเห็นสภาพของดวงอาทิตย์ฝั่งตรงข้ามได้ ทั้ง ๆ ที่ตัวดาวเทียมเองอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับโลก

     เคล็ดลับของโซโฮอาศัยหลักการว่า ลมสุริยะที่พัดออกจากดวงอาทิตย์จะพัดพาอะตอมไฮโดรเจนที่กระจัดกระจายอยู่บริเวณสุริยะชั้นในไปรวมตัวเป็นชั้นของไฮโดรเจนโดยรอบ จนดูเหมือนกับว่ามีฟองก๊าซไฮโดรเจนล้อมรอบระบบสุริยะชั้นใน ฟองไฮโดรเจนนี้มีความหนาแน่นประมาณ 100 อะตอมต่อลิตร ถึงแม้ว่าจะเบาบางมาก แต่ก็ยังหนาแน่นพอที่จะเรืองแสงอัลตราไวโอเลตได้ เมื่อรังสีที่ปล่อยจากบริเวณกลุ่มจุดดำหรือแฟลร์บนดวงอาทิตย์กระทบถูกผนังของฟองนี้ จะกระตุ้นให้มีการเรืองแสงอัลตราไวโอเลตบริเวณที่ตรงกับด้านที่เกิดแฟลร์บนดวงอาทิตย์ซึ่งตรวจจับได้โดยกล้องสวอน (SWAN-Solar Wind Anisotropies) ของโซโฮ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่เราสามารถรับรู้ถึงการปะทุของแฟลร์บนดวงอาทิตย์ที่อยู่ด้านตรงข้ามกับโลกได้ โดยการสังเกตการเรืองแสงของฟองไฮโดรเจนนี้ ภาพของจุดเรืองแสงที่ปรากฏบน "จอ" นี้จะเคลื่อนที่ไปตามการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์


ดาวเทียมโซโฮอาศัยการสังเกตการเรืองแสงอัลตราไวโอเลตที่ผิวของฟองไฮโดรเจนที่ล้อมรอบระบบสุริยะชั้นใน ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นบริเวณปั่นป่วนของดวงอาทิตย์ได้ตั้งแต่ตอนที่ยังอยู่ที่ด้านไกลของดวงอาทิตย์

     ภาพชุดนี้เป็นภาพถ่ายในย่านรังสีอัลตราไวโอเลตที่ถ่ายโดยกล้อง SWAN ของโซโฮ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งท้องฟ้า วงกลมสีฟ้าทางขวาคือภาพท้องฟ้าซีกฟ้าที่ตรงกับด้านหลังของดวงอาทิตย์ วงกลมสีฟ้าทางซ้ายคือภาพท้องฟ้าซีกที่ตรงกับด้านหลังโลก ส่วนวงกลมสีเขียวทางขวา เป็นภาพดวงอาทิตย์ด้านใกล้โลกในขณะนั้นที่ถ่ายโดยกล้อง EIT (Extreme ultraviolet Imaging Telescope)


     ภาพชุดถ่ายเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2539 ในภาพนี้ วงกลมซ้ายซึ่งแสดงซีกท้องฟ้าไกลของดวงอาทิตย์มีการเรืองแสงอัลตราไวโอเลต แสดงว่ามีรังสีอัลตราไวโอเลตเข้มข้นถูกสาดออกจากแฟลร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านไกลของดวงอาทิตย์ ในขณะเดียวกันที่ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ (สีเขียว) ยังไม่เห็นแฟลร์ใหญ่นี้เลย


     ภาพถ่ายท้องฟ้าและดวงอาทิตย์ที่ถ่ายเมื่อ 10 วันหลังจากนั้น (ภาพชุดล่าง) บริเวณเรืองแสงของท้องฟ้าที่เคยปรากฏทางด้านไกลของดวงอาทิตย์ได้เคลื่อนมาอยู่ที่ด้านใกล้ของดวงอาทิตย์แล้ว ในขณะเดียวกันภาพถ่ายโดยตรงของดวงอาทิตย์ (สีเขียว) ก็ปรากฏแฟลร์ขนาดใหญ่ที่เป็นต้นกำเนิดของการเรืองแสงนั้นได้หมุนมาปรากฏอยู่ที่ด้านหน้าของดวงอาทิตย์พอดี


     ภาพของฉากหลังของฟองไฮโดรเจน ถ่ายเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวหางเฮล-บอพพ์เข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ชั้นไฮโดรเจนขนาดใหญ่ดาวหางได้บังรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์เอาไว้ จึงปรากฏเงาของดาวหางเฮล-บอพพ์ในภาพนี้ด้วย (ขีดยาวสีดำด้านบน)

คาดหมายความเสียหายที่จะเกิดในรอบนี้

     ในขณะนี้ (ต้นปี 2543) จำนวนจุดดำบนดวงอาทิตย์กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นตามลำดับตามวัฎจักรของดวงอาทิตย์ ช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะจะกินระยะเวลายาวนานพอสมควร โดยอาจจะนานหลายเดือนหรืออาจเกิน 1 ปี สำหรับช่วงสูงสุดในครั้งนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2543 จนถึงกลางปี 2544

     คาดว่าการขึ้นถึงจุดสูงสุดของวัฎจักรรอบนี้น่าจะเป็นครั้งที่สร้างความเสียหายมากที่สุด แต่สาเหตุไม่ใช่เพราะว่าความปั่นป่วนของดวงอาทิตย์จะมีความรุนแรงมากกว่ารอบอื่น หากเป็นเพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมายที่อ่อนไหวต่อลมสุริยะมากกว่าเมื่อ 11 ปีที่แล้วมาก อาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุติดตามตัว ระบบนำร่องด้วยจีพีเอส เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ ล้วนต้องพึ่งพาระบบดาวเทียมสื่อสาร ซึ่งลอยตัวอยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลกนับหมื่นกิโลเมตร หากดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานอยู่เกิดเสียหายหรือขัดข้องจากการถูกโจมตีของลมสุริยะ ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและในด้านความปลอดภัย ดังนั้นผู้ที่ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมจึงจำเป็นต้องมีแผนสำรองเอาไว้ในช่วงเวลาดังกล่าวเผื่อระบบดาวเทียมเกิดขัดข้องจริง ๆ นักเดินเรืออาจจะต้องพกแผนที่กับเข็มทิศออกเดินเรือด้วย เพราะวิธีบอกตำแหน่งแบบโบราณอย่างนี้อาจจำเป็นต้องนำมาใช้ หากระบบจีพีเอสขัดข้องในระหว่างเดินเรือ เป็นต้น

     จะเห็นว่า ผลเสียที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นกับดาวเทียมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลก แต่จะไม่มีผลร้ายโดยตรงกับร่างกายหรือชีวิตของมนุษย์ที่อยู่บนพื้นโลก เพราะอนุภาคอันตรายจากดวงอาทิตย์ไม่สามารถทะลุทะลวงเข้ามาถึงพื้นโลกได้ เนื่องจากโลกของเรามีเกราะกำบังหลายชั้น ทั้งวงแหวนแวนอัลเลนและบรรยากาศของโลก แม้แต่นักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บนอวกาศ ก็ยังคงปลอดภัยจากลมสุริยะเพราะมียานอวกาศและชุดอวกาศเป็นสิ่งคุ้มกันอย่างดีอยู่แล้ว

     ถึงตอนนี้เราได้รู้จักกับลมสุริยะ พายุสุริยะ ตลอดจนปรากฏการณ์ข้างเคียงต่าง ๆ รวมถึงธรรมชาติของดวงอาทิตย์ได้ในระดับหนึ่ง หวังว่าเราคงจะประเมินภาพคร่าว ๆ ของผลกระทบจากพายุสุริยะที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2543-44 นี้ได้พอสมควร และสามารถพิจารณาได้ว่าควรจะตื่นกลัวหรือตื่นเต้นกับปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้มากน้อยเพียงใด

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/solarstormfacts/solarstormfacts4.html


15
วรเชษฐ์ บุญปลอด                                                                                                                                             
23 เมษายน 2554

     ฤดูร้อนของประเทศไทยอยู่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม หลายคนอาจเข้าใจว่าประเทศไทยมีอากาศร้อนมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนเพราะดวงอาทิตย์ใกล้โลกที่สุด นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด แท้จริงแล้วสาเหตุมาจากการที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงวัน โดยทำมุมตั้งฉากกับพื้นดิน จึงได้รับรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์เต็มที่

     ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ซึ่งหมายถึงพื้นที่ระหว่างเส้นสำคัญทางภูมิศาสตร์ 2 เส้น ได้แก่ เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (Tropic of Cancer) กับเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น (Tropic of Capricorn) เส้นแรกอยู่ในแนวละติจูดประมาณ 23.5 องศาเหนือ ลากผ่านหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย ตอนใต้ของจีน อีกเส้นอยู่ในแนวละติจูดประมาณ 23.5 องศาใต้ ผ่านประเทศออสเตรเลีย ปารากวัย ชิลี อาร์เจนตินา บราซิล แอฟริกาใต้ เป็นต้น

     ในแต่ละปี ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนจะมีวันที่ดวงอาทิตย์ผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะมากที่สุด 2 วัน กรุงเทพฯ อยู่ในราววันที่ 27 เมษายน และ 16 สิงหาคม เดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมจึงมักเป็นช่วงที่กรุงเทพฯ มีอากาศร้อนที่สุด ส่วนในเดือนสิงหาคมแม้ว่าดวงอาทิตย์จะผ่านจุดเหนือศีรษะเช่นกัน แต่กลับไม่ค่อยร้อนมาก เพราะเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน

     หากอยู่ในกรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์จะผ่านเหนือศีรษะในวันที่ 27 เมษายน เวลา 12:16 น. (วันและเวลาใกล้เคียงกันทุกปี อาจคลาดเคลื่อนไปจากนี้ได้ 1 วัน ในบางปี) ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเวลานั้น เสาที่ตั้งฉากกับพื้นดินจะไม่ปรากฏเงาของตัวเสาให้เห็น แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจะเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะไม่พร้อมกัน แผนที่ด้านล่างนี้ใช้สำหรับค้นหาวันและเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะครั้งแรกของปี เส้นแนวนอนบอกวัน เส้นโค้งที่อยู่ในแนวตั้งบอกเวลาตามเวลามาตรฐานประเทศไทย เราสามารถหาวันและเวลาได้โดยดูว่าตำแหน่งที่เราสนใจอยู่ ณ จุดตัดของเส้นใด ตัวอย่างเช่น จ.ภูเก็ต แนวนอนอยู่ตรงกับวันที่ 10 เมษายน แนวตั้งอยู่ใกล้เคียงกับเวลาประมาณ 12:28 น. ดังนั้นดวงอาทิตย์จึงผ่านจุดเหนือศีรษะของคนภูเก็ตในวันและเวลาดังกล่าว


     จากแผนที่จะสังเกตได้ว่าดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะของคนในภาคใต้ก่อน เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน จากนั้นจะค่อย ๆ ไล่ขึ้นมาทางเหนือ ขอยกตัวอย่างในบางจังหวัด ดังนี้

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 8 เมษายน เวลา 12:20 น.
อ.เมืองนครศรีธรรมราช วันที่ 12 เมษายน เวลา 12:21 น.
อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 21 เมษายน เวลา 12:20 น.
กรุงเทพมหานคร วันที่ 27 เมษายน เวลา 12:16 น.
อ.เมืองนครราชสีมา วันที่ 1 พฤษภาคม เวลา 12:09 น.
อ.เมืองอุบลราชธานี วันที่ 2 พฤษภาคม เวลา 11:58 น.
อ.เมืองพิษณุโลก วันที่ 7 พฤษภาคม เวลา 12:16 น.
อ.เมืองเชียงใหม่ วันที่ 15 พฤษภาคม เวลา 12:20 น.

     หลังจากช่วงที่ดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะครั้งแรกของปีไปแล้ว ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนไปทางทิศเหนือมากยิ่งขึ้น เราจะสังเกตได้ว่าในเวลาเที่ยงวัน ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงและเบนไปทางทิศเหนือ ไม่เหมือนกับฤดูหนาวที่ดวงอาทิตย์เบนไปทางทิศใต้ หากมีประตูหรือหน้าต่างที่หันไปทางทิศเหนือและใต้ ก็จะพบว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามาในบ้านได้เปลี่ยนทิศทางไปจากเดิม

     สำหรับวันและเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะครั้งที่ 2 ของปี จะเริ่มต้นที่ภาคเหนือก่อน แล้วลงไปทางใต้ ขอยกตัวอย่างในบางจังหวัด ดังนี้

อ.เมืองเชียงใหม่ วันที่ 29 กรกฎาคม เวลา 12:31 น.
อ.เมืองพิษณุโลก วันที่ 6 สิงหาคม เวลา 12:25 น.
อ.เมืองอุบลราชธานี วันที่ 11 สิงหาคม เวลา 12:06 น.
อ.เมืองนครราชสีมา วันที่ 12 สิงหาคม เวลา 12:17 น.
กรุงเทพมหานคร วันที่ 16 สิงหาคม เวลา 12:22 น.
อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 22 สิงหาคม เวลา 12:24 น.
อ.เมืองนครศรีธรรมราช วันที่ 1 กันยายน เวลา 12:20 น.
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 5 กันยายน เวลา 12:17 น.


ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/zenithsun/zenithsun.html

16
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / สสารมืด
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 26, 2011, 11:38:17 AM »
สสารมืด

        ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมานักดาราศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องว่าสสารที่เรารู้จัก จับต้องได้ สังเกตได้ อาจจะไม่ใช่สสารที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเอกภพ ... เอาเข้าจริงๆ สสารที่เรารู้จักกลับกลายเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของมวลรวมของเอกภพ คือเพียง 4% เท่านั้น ส่วนอีก 96% ปัจจุบันนักดาราศาสตร์เชื่อว่าประกอบด้วยสสารมืด (Dark Matter) 22% กับพลังงานมืด (Dark Energy) อีก 74% ในครั้งนี้เรามาเริ่มกันด้วยสิ่งที่เข้าใจง่ายกว่า คือ สสารมืด

ภาพ Coma Cluster
(ที่มา : http://apod.nasa.gov/apod/ap020203.html)

        ถึงจะเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายกว่าแต่ปัจจุบันสสารมืดก็ยังเป็นปัญหาปลายเปิดที่ใหญ่ที่สุดปัญหาหนึ่งในวิชาดาราศาสตร์ เราเริ่มรู้จักสสารมืดเมื่อปี ค.ศ. 1933 เมื่อฟริตซ์ ซวิกกี นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันสังเกตกระจุกดาราจักรโคมา ซึ่งเป็นกระจุกดาราจักรขนาดใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกดาราจักรกว่าพันดวงอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 320 ปีแสงทางกลุ่มดาวเส้นผมของเบเรนิส กระจุกดาราจักรโคมาเป็นกระจุกดาราจักรที่อยู่ในระยะห่างพอดิบพอดีที่เราจะศึกษาการเคลื่อนที่ของแต่ละดาราจักรในกระจุกได้ ไม่ใกล้เกินไปจนเรามองไม่เห็นภาพรวมและไม่ห่างเกินไปจนยากที่จะศึกษา ซวิกกีศึกษาความเร็วที่ดาราจักรสมาชิกของกระจุกดาราจักรเวอร์โกโคจรรอบศูนย์กลางกระจุกดาราจักรและพบว่าดาราจักรสมาชิกแต่ละดวงนั้นโคจรเร็วกว่าที่ควรจะเป็นมาก หากมวลรวมของกระจุกดาราจักรโคมามีอยู่เพียงเท่ากับมวลของดาราจักรทั้งหมดรวมกันแล้ว ดาราจักรแต่ละดวงโคจรด้วยความเร็วเท่าที่วัดได้ สมาชิกของโคมาก็จะพุ่งไปคนละทิศคนละทางไม่อยู่รวมกันเป็นกระจุกเว้นแต่ว่าจะมี “มวลที่มองไม่เห็น” ดึงดูดดาราจักรสมาชิกเข้าไว้ด้วยกัน ซวิกกีประมาณว่าโคมาจะต้องประกอบด้วยมวลที่มองไม่เห็นอีกกว่า 400 เท่าของมวลกาแล็กซีที่มองเห็นได้ทั้งหมดรวมกันกระจุกดาราจักรจึงจะยึดรวมกันอยู่ได้อย่างที่เป็น ปัญหาคือมวลอีก 400 เท่านั้นจะมาจากไหน?


        นั่นคือจุดที่นักดาราศาสตร์เริ่มรู้จักสสารมืด แต่หลักฐานที่มีในระยะแรกก็ยังค่อนข้างคลุมเครือและการค้นพบของซวิกกีก็ไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างนัก จวบจนเวลาล่วงเลยมา 40 ปี ในปี ค.ศ. 1975 นักดาราศาสตร์จึงได้ค้นพบหลักฐานสำคัญอีกประการหนึ่งที่บ่งชี้ว่ามีมวลที่มองไม่เห็นในเอกภพ ครั้งนี้นักดาราศาสตร์ไม่ได้ศึกษากระจุกดาราจักรทั้งกระจุก แต่ศึกษาดาราจักรกังหันใกล้ๆ หลายดาราจักรที่สามารถศึกษาการหมุนรอบตัวได้อย่างละเอียด หากมวลส่วนใหญ่ของ     ดาราจักรอยู่ในตัวดาราจักรที่เราสังเกตได้หรือคืออยู่ตรงกลางๆ ของตัวดาราจักร ความเร็วการหมุนรอบตัวเองของแต่ละส่วนของกังหันก็ควรจะลดลงตามระยะห่างจากศูนย์กลางดาราจักร เหมือนกับระบบสุริยะที่มวลส่วนใหญ่อยู่ตรงกลาง (คือดวงอาทิตย์) ความเร็วที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ก็จะลดหลั่นไปตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ ดาวพุธโคจรเร็วกว่าโลก โลกโคจรเร็วกว่าดาวอังคาร ดาวอังคารโคจรเร็วกว่าดาวพฤหัส ฯลฯ แต่สิ่งที่พบจากการสังเกตดาราจักรกังหันกลับเป็นว่าความเร็วในการหมุนรอบตัวเอง ณ จุดต่างๆ ของแขนกังหันมีความเร็วค่อนข้างคงที่ไม่ว่าจะออกห่างจากศูนย์กลางไปเท่าใด นักดาราศาสตร์มีทางเลือกสองแนวทางที่จะอธิบายปรากฏการณ์นี้ ทางแรกคือกลศาสตร์นิวตันที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าแม่นยำขนาดส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ได้ อาจจะใช้การไม่ได้กับระบบที่ใหญ่ขนาดดาราจักร ซึ่งฟังดูไม่เข้าท่า เพราะจะนำไปสู่คำถามใหญ่กว่าที่ว่าทำไมกลศาสตร์นิวตันถึงใช้ไม่ได้กับระบบขนาดใหญ่ ทางที่สองคือยอมรับว่ามวลราว 90% ของดาราจักรไม่ได้อยู่ตรงกลางตัวดาราจักรที่สังเกตได้ แต่อยู่โดยรอบดาราจักรในบริเวณที่เราส่องกล้องไปเท่าไหร่ก็พบแต่ความว่างเปล่า มองทะลุไปเห็นดาวเบื้องหลังได้ราวกับว่าไม่มีอะไรอยู่ตรงที่นั้น ซึ่งก็น่าอึดอัดไม่แพ้ทางเลือกแรก แต่ก็ยังฟังดูเป็นไปได้มากกว่า การค้นพบนี้เป็นการยืนยันแนวคิดเรื่องสสารที่มองไม่เห็นในเอกภพของซวิกกี

ภาพปรากฏการณ์เลนส์แรงโน้มถ่วง

(ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Gravitational_lensing)

        นับตั้งแต่นั้นมาเรื่องของมวลที่มองไม่เห็นหรือสสารมืดก็มีหลักฐานอื่นมายืนยันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสังเกตปรากฏการณ์เลนส์แรงโน้มถ่วง (Gravitational Lensing) รอบกระจุกดาราจักรมวลมากที่สามารถเบี่ยงเบนทิศทางการเดินทางของแสงจากดาราจักรที่อยู่ไกลออกไปให้รวมกันมายังผู้สังเกตได้เหมือนเลนส์นูนรวมแสง ยิ่งกระจุกดาราจักรมีมวลมากก็ยิ่งเบนทิศทางของแสงได้มาก การสังเกตนี้ทำให้พบว่ากระจุกดาราจักรขนาดใหญ่ทุกกระจุกมี “กำลังรวมแสง” มากกว่าที่มวลของดาราจักรที่เรามองเห็นจะรวมได้ เว้นแต่มีมวลที่มองไม่เห็นมาช่วยดึงทิศทางของแสงให้เบี่ยงมารวมกัน

 
        นักดาราศาสตร์จำนวนมากได้พยายามศึกษาสสารมืดด้วยหลายแนวทาง ในช่วงแรกเรายังไม่แน่ใจว่าสสารมืดนั้นเป็นวัตถุท้องฟ้าจำพวกที่ตรวจพบได้ยากมากจนไม่มีใครมองเห็นหรือไม่ เช่นอาจจะเป็นดาวแคระน้ำตาลหรือเศษดาวเคราะห์น้อยที่ส่องสังเกตได้ยาก หรืออาจจะเป็นวัตถุเย็นอื่นที่แผ่รังสีน้อยมาก และต่อมาก็สันนิษฐานว่าสสารมืดอาจจะเป็นดาวมืดๆ ขนาดเล็กๆ แต่มวลมากที่โคจรอยู่รอบดาราจักรในระยะไกลๆ และไม่แผ่รังสี แต่การค้นหาที่ผ่านมาตลอดกว่า 20 ปีมานี้ก็พบว่าสสารมืดไม่น่าจะเป็นวัตถุจำพวกที่กล่าวมา ย้ำว่าคำว่า “มืด” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ามวลที่มองไม่เห็นนั้นมีสีดำ แต่หมายถึงว่าเราไม่รู้จริงๆ ว่ามันคืออะไร คล้ายกับนักสำรวจยุคโบราณเรียกทวีปอาฟริกาว่า กาฬทวีป เพราะไม่ค่อยมีใครบุกป่าฝ่าดงเข้าไปสำรวจเลยไม่มีใครรู้จักคุ้นเคย หากสสารมืดเป็นวัตถุที่มีสีดำนักดาราศาสตร์ก็คงค้นพบไปแล้วโดยรอให้สสารมืดโคจรผ่านหน้าวัตถุที่สว่างๆ แล้วดูเงาดำๆ ที่เคลื่อนที่ผ่านหน้า แต่ด้วยความที่มวลที่มองไม่เห็นนี้โปร่งแสงโดยสมบูรณ์ การสังเกตด้วยกล้องทุกชนิดตั้งแต่กล้องวิทยุจนถึงรังสีแกมมาที่ใช้สังเกตคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงไม่สามารถใช้ค้นหาสสารมืดได้


        ถึงขณะนี้นักดาราศาสตร์แบ่งออกเป็นสองค่าย ค่ายแรกคือพวกที่เชื่อว่าสสารมืดน่าจะมีจริง และน่าจะอยู่ในรูปของ “อนุภาคมูลฐานขนาดใหญ่ที่ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร” (Weakly interacting massive particles หรือ WIMP) ซึ่งต้องอยู่ในรูปของอนุภาคที่มีมวลมากที่เรายังไม่รู้จักและไม่ทำปฏิกริยากับอนุภาคอื่นใดเลยแม้แต่กับแสง จึงเดินทางท่องไปในจักรวาลได้อย่างเสรีรวมทั้งเดินทางผ่านร่างกายของเราได้โดยไม่ชนกับอะไรเลย นักดาราศาสตร์จำนวนไม่น้อยในค่ายนี้หวังว่าการทดลองลาร์จ แฮดรอน คอไลเดอร์ อาจจะสามารถสร้างสสารมืดจำพวก WIMP ขึ้นมาจากการยิงโปรตอนพลังงานสูงมาชนกันและไขปริศนาเรื่องสสารมืดก็เป็นได้ ส่วนอีกค่ายย้อนกลับไปที่แนวคิดที่ว่าความเร็วในการหมุนรอบตัวของดาราจักรที่คงที่นั้นไม่ได้เดินทางจากสสารมืดแต่เกิดจากกฏนิวตันใช้ไม่ได้สำหรับวัตถุขนาดใหญ่เช่นกาแล็กซี นักดาราศาสตร์ในค่ายนี้เสนอทฤษฏีแรงโน้มถ่วงใหม่ เรียกว่า “กฏนิวตันฉบับปรับปรุง” (Modified Newtonian Dynamics หรือ MOND) ที่แก้ไขกลศาสตร์นิวตันสำหรับใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้โดยเฉพาะ เห็นได้ชัดว่านักดาราศาสตร์สองค่ายนี้พูดกันคนละภาษา และส่อแววว่าจะทะเลาะกันในงานประชุมวิชาการอยู่เรื่อย แต่ท่านผู้อ่านก็ไม่จำเป็นต้องเลือกข้างครับ หากติดตามต่อไปผมเชื่อว่าปริศนาเรื่องสสารมืดและมวลที่มองไม่เห็นนี้น่าจะกระจ่างชัดภายในชั่วชีวิตเรา

ข้อมูลอ้างอิง

1.   http://apod.nasa.gov/apod/ap020203.html
2.   http://en.wikipedia.org/wiki/Gravitational_lensing
3.   http://en.wikipedia.org/wiki/Massive_compact_halo_object

เรียบเรียงโดย

     นายวิภู   รุโจปการ

ที่มา:
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=233:-dark-matter&catid=12:astronomical-article&Itemid=16


17
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / พบโลกใบใหม่
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 26, 2011, 10:50:39 AM »
         ทีมล่าดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัย California Santa Cruz และสถาบัน Carnegie Washington ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีมวลเป็น 3 เท่าของโลก โคจรใกล้ดาวฤกษ์ในเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ (Habitable Zone)  งานวิจัยนี้สนับสนุนโดย NASA และ NSF เมื่อ 11ปีก่อน นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์เคก สำรวจดาวฤกษ์กลีส 581 (Gliese 581) ในกลุ่มดาวคันชั่ง โดยใช้สเปกโทรมิเตอร์ HIRES วัดความเร็วในแนวเล็งของดาวฤกษ์ ได้พบการเปลี่ยนแปลงความเร็วเป็นระยะๆเนื่องจากแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ที่โคจรรอบๆดาวฤกษ์   นักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการวิเคราะห์ตรวจสอบและกำหนดวงโคจรดาวเคราะห์และมวลของดาวเคราะห์

         ดาวเคราะห์ดวงนี้ชื่อกลีส 581g (Gliese 581g) เป็นบริวาร 1 ใน 6 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ของดาวฤกษ์ที่ชื่อกลีส 581 (Gliese 581) ซึ่งเป็นดาวแคระแดงอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง ดาว Gliese 581 มีขนาด 1/3 ของดวงอาทิตย์ พลังงานเป็น 1.3% ของดวงอาทิตย์ ความสว่างปรากฏ 10.6

รูปแสดงการเปรียบเทียบระหว่างระบบสุริยะกับระบบดาวกลีส 581(Gliese 581)
         องค์ประกอบของดาวเคราะห์กลีส 581g (Gliese 581g) โดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นหินและเหล็ก โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ 36.6 วัน มีมวลระหว่าง 3.1-4.3 เท่าของโลก  มีแรงโน้มถ่วงประมาณ 1.5-2 เท่าของโลก ที่ละติจูดสูงๆมีการส่งผ่านความร้อนอย่างมาก ทำให้พื้นผิวดาวจะมีความเร็วลมตั้งแต่ 0 ถึง 74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากบรรยากาศไม่หนาเกินไป สันนิษฐานว่าดาวเคราะห์มีสภาพแวดล้อมที่เกิดภาวะเรือนกระจกไม่ต่างไปจากโลกมากนัก (อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส)  สตีเวน วอท แห่งหอดูดาวลิก (Steven Vogt) กล่าวว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ในรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายกับสภาพอากาศที่แน่นอนและจะวิวัฒนาการตามเส้นแวงของพวกเขา”

รูปจำลองดาวเคราะห์กลีส 581g (Gliese 581g)
         คำว่า “เขตที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยได้” (Habitable Zone) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ส่วนสำคัญคือน้ำและบรรยากาศที่สิ่งมีชีวิตต้องใช้ในการดำรงชีพ  บริเวณดังกล่าวคือพื้นที่ๆน้ำสามารถอยู่บนพื้นผิวดาวได้ ถ้าได้รับการยืนยันก็จะเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่มีลักษณะใกล้เคียงโลกมากที่สุดที่เคยค้นพบมา

อ้างอิง : http://www.nasa.gov/topics/universe/features/gliese_581_feature.html

           http://www.skyandtelescope.com/news/home/104031014.html

เรียบเรียง : วทัญญู  แพทย์วงษ์

          สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์

ที่มา:
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=51:2010-10-04-03-46-02&catid=1:astronomy-news&Itemid=4
18
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้กำหนดแผนในการก่อสร้าง หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน 5 เครือข่าย โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 ระยะเวลา 4 ปี ( 2552-2555 ) วงเงิน 460 ล้านบาท ได้แก่
            - เครือข่ายภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
            - เครือข่ายภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา
            - เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่จังหวัดขอนแก่น
            - เครือข่ายภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่จังหวัดพิษณุโลก
            -เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  ที่จังหวัดนครราชสีมา

            การก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาคจะทำให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ที่มีมาตรฐานและมีศักยภาพสูง สามารถให้การบริการวิชาการและระบบสารสนเทศทางดาราศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายโอกาสในการบริการวิชาการทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศอย่างทัดเทียม และมีการถ่ายทอดสัญญาณและสารสนเทศจากหอดูดาวแห่งชาติฯในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการและแหล่งเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ประจำท้องถิ่น สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอดูดาวภูมิภาคในจังหวัดสงขลา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
            ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 – 2554 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้รับงบประมาณเฉพาะในการก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาค 2 แห่ง คือ หอดูดาวภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดฉะเชิงเทรา
            และในปีงบประมาณต่อไปคาดว่าจะได้รับงบประมาณในการเตรียมการก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาคอีก 2 แห่ง คือ หอดูดาวภูมิภาค จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสงขลา
            แต่ละหอดูดาวภูมิภาคจะประกอบไปด้วย อาคารสำนักงาน อาคารฉายดาวและท้องฟ้าจำลอง ห้องประชุม หอดูดาวและดาดฟ้าตั้งกล้องโทรทรรศน์ ลานดูดาว ลานแคมป์ปิ้ง อาคารที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
            ทั้งนี้ สถาบันฯ มีแผนที่จะให้หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนแต่ละแห่ง มีอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5เมตร เครื่องถ่ายภาพซีซีดี และเครื่องบันทึกสเปกตรัม  และประกอบไปด้วยเครื่องตรวจวัดสภาพอากาศและเครื่องตรวจวัดปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ติดตามภาวะโลกร้อน
            นอกจากเครือข่ายที่จะจัดตั้งทั้ง 5 แห่งแล้ว  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติยังร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการสร้างเครือข่ายภาคเหนือตอนบนที่หอดูดาวสิรินธรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อีกด้วย

ที่มา:
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=16:provincial-observatory&catid=11:provincial-observatory&Itemid=14
19
ปัจจุบันดาวจอร์จไม่มีอีกแล้ว ชื่อนี้เป็นชื่อที่เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ตั้งชื่อให้กับดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่เขาค้นพบเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1781 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าจอร์จที่ 3 แต่ชื่อที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นทางการให้แก่ดาวดวงนั้นซึ่งใช้เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันก็คือ ดาวยูเรนัส






วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq0131.html

20
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / ดาวหางมีขนาดเท่าใด?
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 25, 2011, 02:28:27 PM »
ถ้าเป็นส่วนนิวเคลียสของดาวหาง โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณไม่ถึงสิบกิโลเมตร มีบ้างเหมือนกันที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ หลายสิบกิโลเมตรอย่างเช่นดาวหางเฮล-บอปป์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 40 กิโลเมตร ในช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้ระบบสุริยะชั้นใน น้ำแข็งในนิวเคลียสจะระเหิดออกและพ่นออกมาเป็นก้อนเมฆที่ห่อหุ้มนิวเคลียสโดยรอบซึ่งเรียกว่า หัว หรือโคม่า โคม่าของดาวหางมีขนาดหลายหมื่นกิโลเมตร ส่วนหางของดาวหางนั้นยาวหลายล้านกิโลเมตร หรืออาจยาวเป็นพันล้านกิโลเมตรก็ได้






วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq0057.html
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10