กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
21
ไม่จริง ปัจจุบันแกนโลกยังคงเอียง 23.44 องศา

อย่างไรก็ตาม แกนหมุนของโลกมีการเปลี่ยนแปลงเสมอในช่วงแคบ ๆ 22.1-24.5 องศาโดยมีคาบประมาณ 42,000 ปี ดังนั้นถ้าจะมองให้ละเอียด ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงจริง แต่เปลี่ยนแปลงช้ามาก และยิ่งกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของมุมเอียงขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง นั่นคือ แกนโลกกำลังเอียงน้อยลง ไม่ใช่มากขึ้น





วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=151
22
แม้นักวิทยาศาสตร์จะเชื่อว่าโลกจะสลับขั้วแม่เหล็กอีกอย่างแน่นอน แต่ก็ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด อย่าว่าแต่จะให้ระบุปีที่เกิด แม้แต่จะให้ระบุว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษใดก็ยังยาก เนื่องจากจังหวะการเกิดปรากฏการณ์นี้ในอดีตผันแปรมาก
นักโลกแตกนิยมมักโยงเรื่องวัฏจักรของดวงอาทิตย์ซึ่งจะถึงช่วงสูงสุดในราวปี 2012 เข้ากับการสลับขั้วแม่เหล็กโลก นั่นเป็นการโยงเหตุการณ์ที่ไร้เหตุผลอย่างมาก ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าการสลับขั้วแม่เหล็กโลกมีความสัมพันธ์กับวัฏจักรของดวงอาทิตย์
 
 
วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=146

23
มนุษย์ยุคปัจจุบันยังไม่เคยมีใครเห็นโลกสลับขั้วแม่เหล็ก แต่หลักฐานทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการสลับขั้วแม่เหล็กเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ของโลก





วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=144
24
ไม่จริง วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2555 (ค.ศ. 2012) ดาวเคราะห์แต่ละดวงอยู่กันคนละทิศคนละทาง ไม่ได้เรียงกันเป็นเส้นตรง และไม่ได้ใกล้เคียงด้วย

เรื่องที่ควรทราบอย่างหนึ่งคือ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะไม่มีวันเรียงเป็นแนวเดียวกัน ความเป็นไปได้อย่างมากก็แค่ใกล้เคียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้จะสมมุติว่ามีวันที่ดาวเคราะห์ทั้งหมดมาเรียงกันเป็นแนวเดียวกันจริง ก็ไม่ต้องห่วงว่าแรงดึงดูดของดาวเคราะห์แต่ละดวงจะส่งผลร้ายแรงใด ๆ ต่อโลก เนื่องจากระยะทางระหว่างดาวเคราะห์แต่ละดวงอยู่ห่างกันมากจนแรงดึงดูดที่กระทำต่อโลกเกือบเป็นศูนย์





วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=155
25
นิวทริโน เป็นอนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีสมบัติพื้นฐานคือ มีมวลต่ำมาก ไม่มีประจุไฟฟ้า เคลื่อนที่เร็วเกือบเท่าแสง และทำอันตรกิริยาต่อสิ่งอื่นน้อยมาก

นิวทริโนมีอยู่เป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นจากกระบวนการบางอย่าง รวมถึงปฏิกิริยาในดวงอาทิตย์ด้วย จึงเป็นความจริงที่โลกได้รับกระแสนิวทริโนจากดวงอาทิตย์และจากแหล่งอื่น แต่นิวทริโนเป็นอนุภาคที่เกือบไม่ทำอันตรกิริยากับสิ่งใดเลย มันไม่ทำให้ร่างกายเราเจ็บป่วย ไม่ทำให้ลมฟ้าอากาศเปลี่ยน ไม่ทำให้โลกร้อนขึ้น มันไม่ส่งผลใด ๆ ต่อโลกทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ว่านิวทริโนจะพุ่งใส่โลกมากหรือน้อยจึงไม่มีอะไรให้กังวล ความจริงนิวทริโนไม่ได้พุ่งชนโลก แต่มันพุ่งทะลุโลกออกไปเลย





วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=156
26
ไม่จริง

ซูเปอร์แฟลร์ เป็นปรากฏการณ์คล้ายกับแฟลร์ (การลุกจ้า) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดพายุสุริยะ แต่ซูเปอร์แฟลร์มีระดับความรุนแรงมากกว่าแฟลร์ปกติหลายเท่า นักดาราศาสตร์พบการเกิดซูเปอร์แฟลร์มาแล้วในดาวฤกษ์ดวงอื่น ความรุนแรงของซูเปอร์แฟลร์ที่พบนั้น หากเกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์จะรุนแรงถึงขั้นทำลายบรรยากาศของโลก ทำลายระบบนิเวศบนโลกจนถึงขั้นเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทีเดียว

แต่ไม่มีหลักฐานว่าเคยเกิดซูเปอร์แฟลร์ขึ้นบนดวงอาทิตย์หรือในระบบสุริยะของเรามาก่อน และนักดาราศาสตร์ก็ไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะซูเปอร์แฟลร์จะเกิดในระบบที่มีวัตถุสนามแม่เหล็กเข้มข้นอยู่ใกล้กัน เช่นมีดาวเคราะห์ยักษ์แบบดาวพฤหัสบดีหรือใหญ่กว่าโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ แต่ระบบสุริยะของเราไม่มีลักษณะเช่นนั้น แม้ดาวพฤหัสบดีจะมีสนามแม่เหล็กเข้มข้น แต่ก็อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก ส่วนดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ก็มีสนามแม่เหล็กอ่อนเกินกว่าจะทำให้เกิดซูเปอร์แฟลร์ได้





วิมุติ วสะหลาย
ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=154
27
จริง จะเรียกให้ถูกต้องกว่าก็คือ โลกได้โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับศูนย์กลางทางช้างเผือก ทำให้เกิดการเรียงกันเป็นเส้นตรงระหว่าง ศูนย์กลางทางช้างเผือก ดวงอาทิตย์ และโลก

แต่การเรียงตำแหน่งเช่นนี้ ไม่มีผลใดต่อโลกเลยแม้แต่นิดเดียว แม้ที่ใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกมีหลุมดำขนาดยักษ์อยู่จริง แต่ที่ระยะทางจากโลกถึงใจกลางทางช้างเผือก ซึ่งอยู่ที่ราว 30,000 ปีแสงนี้ แทบไม่มีความแตกต่างอะไรระหว่างการมีหลุมดำกับไม่มีหลุมดำ

นอกจากนี้ การเรียงตัวเช่นนี้เกิดขึ้นทุกปีอยู่แล้ว ไม่ได้เกิดเฉพาะใน ค.ศ. 2012 หากเดือนธันวาคมปีก่อน ๆ หลุมดำกลางทางช้างเผือกไม่ทำให้เกิดเหตุร้ายอะไรต่อโลก เดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ก็จะไม่เกิดเหตุอะไรเช่นกัน





วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=153
28
จริง

พายุสุริยะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา มีความชุกผันแปรขึ้นลงเป็นคาบ คาบละประมาณ 11 ปี คาบที่ชัดเจนนี้ทำให้นักดาราศาสตร์พยากรณ์ได้ว่าช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของวัฏจักรสุริยะจะเกิดขึ้นเมื่อใด ช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะเกิดในครั้งถัดไปคาดว่าจะอยู่ในช่วงกลาง ค.ศ. 2013

ช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะกินเวลายาวนานข้ามปี ดังนั้นแม้ช่วงสูงสุดจะอยู่ใน ค.ศ. 2013 แต่พายุสุริยะก็เริ่มจะกระหน่ำโลกตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 2012 แล้ว

แม้ช่วงปี 2013 จะอยู่ในช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะ แต่พายุสุริยะที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่ได้รุนแรงมากไปกว่าที่เคยเกิดขึ้นในรอบก่อน ซึ่งเกิดในราวปี ค.ศ. 2000, 1989, และก่อนหน้านั้น ความจริงมีแนวโน้มว่าช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะมาถึงในปี 2013 จะอ่อนกำลังกว่าวัฏจักรก่อนหน้านี้เสียด้วยซ้ำ





วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=143
29
ดาราศาสตร์ และดวงดาวต่าง ๆ ใน Solar System / Planet X คืออะไร?
« กระทู้ล่าสุด โดย inbudgetadmin เมื่อ กรกฎาคม 25, 2011, 01:42:25 PM »
เมื่อครั้งที่นักดาราศาสตร์รู้จักดาวเคราะห์แปดดวง ยังไม่พบดาวพลูโต นักดาราศาสตร์พบว่าการโคจรของดาวเนปจูนมีความผิดปรกติเหมือนมีแรงรบกวนจากวัตถุขนาดใหญ่อีกดวงหนึ่งคอยดึงดูดรบกวนอยู่ วัตถุนี้อาจเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อีกดวงที่ยังมองไม่เห็น จึงมีความพยายามค้นหาดาวเคราะห์ลึกลับนี้โดยตั้งชื่อไว้ล่วงหน้าว่า ดาวเคราะห์เอกซ์ (Planet X)

แม้เวลาต่อมาจะมีการค้นพบดาวพลูโต ปัญหานี้ก็ยังไม่คลี่คลาย เนื่องจากดาวพลูโตเล็กและเบาเกินกว่าจะมีผลต่อการโคจรของดาวเนปจูน การค้นหาจึงดำเนินต่อไป

ต่อมา หลังจากที่มียานอวกาศไปสำรวจดาวยูเรนัสกับเนปจูนในระยะใกล้ จึงพบว่าความผิดปกติของวงโคจรดังที่เคยสำรวจจากโลกนั้นเป็นเพียงความผิดพลาดจากการวัด ไม่ใช่ความผิดปรกติของวงโคจรแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการค้นหาวัตถุใหม่นอกวงโคจรดาวเนปจูนก็ยังมีอยู่ต่อไป และนักดาราศาสตร์ก็ได้ค้นพบวัตถุอีกหลายดวง แต่ทุกดวงล้วนเป็นวัตถุเล็กคล้ายดาวพลูโตมากกว่า





วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=136
30
ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีวงโคจรของตัวเอง มีรัศมีวงโคจรต่างกัน วงโคจรมีเสถียรภาพดี ไม่ใช่สิ่งที่จะมาชนกันได้ง่าย ๆ

ตามความรู้และข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์มีอยู่ เชื่อว่าหากมีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ในระบบสุริยะจริง (ซึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์เอกซ์) ดาวเคราะห์ดวงนี้ก็น่าจะอยู่พ้นวงโคจรของดาวเนปจูนออกไปอีก แล้วดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรใหญ่โตอยู่ไกลปืนเที่ยงขนาดนั้นจะมาชนโลกได้อย่างไร

ดาวเคราะห์เอกซ์คือสิ่งที่นักดาราศาสตร์ถวิลหา และการค้นพบจะเป็นข่าวน่ายินดี หากวันหนึ่งคุณเห็นข่าวพาดหัวว่าค้นพบดาวเคราะห์เอกซ์แล้ว ก็อย่าไปแตกตื่นให้อายใครเขา

วิมุติ วสะหลาย

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=139
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10