ผู้เขียน หัวข้อ: พบโลกใบใหม่  (อ่าน 39266 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

inbudgetadmin

  • Administrator
  • Professional
  • *****
  • กระทู้: 110
  • Karma: +5/-1
พบโลกใบใหม่
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 10:50:39 AM »
         ทีมล่าดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัย California Santa Cruz และสถาบัน Carnegie Washington ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีมวลเป็น 3 เท่าของโลก โคจรใกล้ดาวฤกษ์ในเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ (Habitable Zone)  งานวิจัยนี้สนับสนุนโดย NASA และ NSF เมื่อ 11ปีก่อน นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์เคก สำรวจดาวฤกษ์กลีส 581 (Gliese 581) ในกลุ่มดาวคันชั่ง โดยใช้สเปกโทรมิเตอร์ HIRES วัดความเร็วในแนวเล็งของดาวฤกษ์ ได้พบการเปลี่ยนแปลงความเร็วเป็นระยะๆเนื่องจากแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ที่โคจรรอบๆดาวฤกษ์   นักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการวิเคราะห์ตรวจสอบและกำหนดวงโคจรดาวเคราะห์และมวลของดาวเคราะห์

         ดาวเคราะห์ดวงนี้ชื่อกลีส 581g (Gliese 581g) เป็นบริวาร 1 ใน 6 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ของดาวฤกษ์ที่ชื่อกลีส 581 (Gliese 581) ซึ่งเป็นดาวแคระแดงอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง ดาว Gliese 581 มีขนาด 1/3 ของดวงอาทิตย์ พลังงานเป็น 1.3% ของดวงอาทิตย์ ความสว่างปรากฏ 10.6

รูปแสดงการเปรียบเทียบระหว่างระบบสุริยะกับระบบดาวกลีส 581(Gliese 581)
         องค์ประกอบของดาวเคราะห์กลีส 581g (Gliese 581g) โดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นหินและเหล็ก โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ 36.6 วัน มีมวลระหว่าง 3.1-4.3 เท่าของโลก  มีแรงโน้มถ่วงประมาณ 1.5-2 เท่าของโลก ที่ละติจูดสูงๆมีการส่งผ่านความร้อนอย่างมาก ทำให้พื้นผิวดาวจะมีความเร็วลมตั้งแต่ 0 ถึง 74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากบรรยากาศไม่หนาเกินไป สันนิษฐานว่าดาวเคราะห์มีสภาพแวดล้อมที่เกิดภาวะเรือนกระจกไม่ต่างไปจากโลกมากนัก (อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส)  สตีเวน วอท แห่งหอดูดาวลิก (Steven Vogt) กล่าวว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ในรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายกับสภาพอากาศที่แน่นอนและจะวิวัฒนาการตามเส้นแวงของพวกเขา”

รูปจำลองดาวเคราะห์กลีส 581g (Gliese 581g)
         คำว่า “เขตที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยได้” (Habitable Zone) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ส่วนสำคัญคือน้ำและบรรยากาศที่สิ่งมีชีวิตต้องใช้ในการดำรงชีพ  บริเวณดังกล่าวคือพื้นที่ๆน้ำสามารถอยู่บนพื้นผิวดาวได้ ถ้าได้รับการยืนยันก็จะเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่มีลักษณะใกล้เคียงโลกมากที่สุดที่เคยค้นพบมา

อ้างอิง : http://www.nasa.gov/topics/universe/features/gliese_581_feature.html

           http://www.skyandtelescope.com/news/home/104031014.html

เรียบเรียง : วทัญญู  แพทย์วงษ์

          สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์

ที่มา:
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=51:2010-10-04-03-46-02&catid=1:astronomy-news&Itemid=4