ผู้เขียน หัวข้อ: หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน  (อ่าน 8841 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

inbudgetadmin

  • Administrator
  • Professional
  • *****
  • กระทู้: 110
  • Karma: +5/-1
หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:28:51 AM »
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้กำหนดแผนในการก่อสร้าง หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน 5 เครือข่าย โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 ระยะเวลา 4 ปี ( 2552-2555 ) วงเงิน 460 ล้านบาท ได้แก่
            - เครือข่ายภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
            - เครือข่ายภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา
            - เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่จังหวัดขอนแก่น
            - เครือข่ายภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่จังหวัดพิษณุโลก
            -เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  ที่จังหวัดนครราชสีมา

            การก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาคจะทำให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ที่มีมาตรฐานและมีศักยภาพสูง สามารถให้การบริการวิชาการและระบบสารสนเทศทางดาราศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายโอกาสในการบริการวิชาการทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศอย่างทัดเทียม และมีการถ่ายทอดสัญญาณและสารสนเทศจากหอดูดาวแห่งชาติฯในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการและแหล่งเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ประจำท้องถิ่น สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอดูดาวภูมิภาคในจังหวัดสงขลา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
            ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 – 2554 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้รับงบประมาณเฉพาะในการก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาค 2 แห่ง คือ หอดูดาวภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดฉะเชิงเทรา
            และในปีงบประมาณต่อไปคาดว่าจะได้รับงบประมาณในการเตรียมการก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาคอีก 2 แห่ง คือ หอดูดาวภูมิภาค จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสงขลา
            แต่ละหอดูดาวภูมิภาคจะประกอบไปด้วย อาคารสำนักงาน อาคารฉายดาวและท้องฟ้าจำลอง ห้องประชุม หอดูดาวและดาดฟ้าตั้งกล้องโทรทรรศน์ ลานดูดาว ลานแคมป์ปิ้ง อาคารที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
            ทั้งนี้ สถาบันฯ มีแผนที่จะให้หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนแต่ละแห่ง มีอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5เมตร เครื่องถ่ายภาพซีซีดี และเครื่องบันทึกสเปกตรัม  และประกอบไปด้วยเครื่องตรวจวัดสภาพอากาศและเครื่องตรวจวัดปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ติดตามภาวะโลกร้อน
            นอกจากเครือข่ายที่จะจัดตั้งทั้ง 5 แห่งแล้ว  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติยังร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการสร้างเครือข่ายภาคเหนือตอนบนที่หอดูดาวสิรินธรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อีกด้วย

ที่มา:
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=16:provincial-observatory&catid=11:provincial-observatory&Itemid=14
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2011, 09:32:28 AM โดย inbudgetadmin »