ผู้เขียน หัวข้อ: การเกิดซูเปอร์โนวา  (อ่าน 45178 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

inbudgetadmin

  • Administrator
  • Professional
  • *****
  • กระทู้: 110
  • Karma: +5/-1
การเกิดซูเปอร์โนวา
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 02:08:27 PM »
ซูเปอร์โนวาเป็นการระเบิดอย่างรุนแรงของดาวซึ่งมีแหลายแบบ ที่เกิดกับซูเปอร์โนวา 1987 เอ เกิดจากกับยุบตัวของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่า (อย่างน้อย 8 เท่า) ดาวฤกษ์ทุกดวงคงอยู่ได้ด้วยสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงของตัวมันเองที่พยายามดึงเนื้อสารของดาวเข้าหาศูนย์กลางกับแรงต้านที่เกิดจากความร้อนด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใจกลาง แต่ดาวฤกษ์ทุกดวงมีเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในปริมาณที่จำกัด ดาวดวงที่หนักกว่าส่องสว่างมากกว่าและใช้เชื้อเพลิงเหล่านั้นหมดไปรวดเร็วกว่าดาวที่มีมวลน้อยกว่า ดวงอาทิตย์ของเราคงอยู่มาได้ราว 4,600 ล้านปีมาแล้ว และจะหมดอายุขัยในอีกประมาณ 5,000 ล้านปี
ในทางกลับกันดาวที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 10 เท่ากลับมีอายุเพียง 10 ล้านปีเท่านั้น เมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้ถึงวาระสุดท้ายของวิวัฒนาการ เชื้อเพลิงไม่เหลือมากพอที่จะทำให้ดาวคงอยู่ได้อีกต่อไป มันจะเกิดธาตุหนักที่แกนกลาง ความโน้มถ่วงของดาวทำให้ดาวยุบตัวลงอย่างฉับพลันและระเบิดอย่างรุนแรง การระเบิดครั้งหนึ่งอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันจนสว่างที่สุด พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากซูเปอร์โนวาอาจเทียบได้กับพลังงานที่ดวงอาทิตย์ของเราผลิตออกมาในรอบหนึ่งปีนับหมื่นล้านเท่า ขณะที่ซูเปอร์โนวาเปล่งแสงสว่างที่สุด อาจสว่างกว่าดาราจักรที่มันอยู่ด้วยซ้ำไป
ซูเปอร์โนวาเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในดาราจักรทางช้างเผือกที่มีสมาชิกเป็นดาวฤกษ์ราวหนึ่งแสนล้านดวง นักดาราศาสตร์คะเนว่ามีซูเปอร์โนวาเกิดขึ้นราว 3-4 ครั้งต่อศตวรรษ แต่เราเห็นมันได้น้อยครั้งกว่านี้มาก เป็นเพราะส่วนใหญ่ซูเปอร์โนวาถูกบดบังโดยเมฆหมอกของฝุ่นและแก๊สระหว่างดาว เราจึงเห็นซูเปอร์โนวาในดาราจักรของเราได้เฉพาะที่อยู่ห่างจากเราไม่มากนัก ส่วนกรณีของซูเปอร์โนวา 1987 เอ อยู่ในดาราจักรเพื่อนบ้าน สามารถมองเห็นได้เพราะมันอยู่ในทิศทางห่างจากแนวระนาบทางช้างเผือก จึงไม่มีฝุ่นมืดระหว่างดาวมาบดบัง

ที่มา:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/sn1987a/sn1987a.html