นิทานบนท้องฟ้า

Home

นิทานบนท้องฟ้า


 สำหรับชั้นอนุบาลถึงประถมปีที่ 2  (ระยะเวลา 30-45 นาที)   1  2   3   Back to Lesson Plans

วัตถุประสงค์

นักเรียน จะได้เรียนรู้ถึงสิ่งต่อไปนี้

  • กลุ่มดาวคืออะไร
  • กลุ่มดาวที่ชาวกรีก และชาวโรมันสร้างสรรค์ขึ้นมา ว่ามีรูปร่างอย่างไร รวมทั้งนิทานต่าง ๆ ที่เล่าประกอบ
  • ทำไมกลุ่มดาวต่าง ๆ จึงมีความสำคัญในอดีต และ ยังคงมีความสำคัญในหลาย ๆ ประเทศ
  • ทำไมเราไม่สามารถเห็นดาวทั้งหมด ในเวลาเดียวกัน

อุปกรณ์ประกอบการสอน

  • ไฟฉาย และ ถ่ายไฟฉายสำรอง
  • ลูกโลกจำลอง ที่เสียบกับไม้ (ลูกโลกที่มีก้านโผล่ออกจากขั้วโลกเหนือ และ ขั้วโลกใต้ เพื่อ ให้เห็นถึง แกนสมมติของโลก
  • รูปโปสเตอร์พระอาทิตย์ หรือ ดาวดวงอื่น
  • รูปโปสเตอร์ของ กลุ่มดาวต่าง ๆ รวมทั้ง กลุ่มดาว หมีใหญ่
  • Light and laser pointers
  • ท้องฟ้าจำลอง ที่กำหนด วันที่ และ เวลา เป็น ปัจจุบัน

1. ช่วงการแนะนำก่อนเข้าชมท้องฟ้าจำลอง (10นาที)

1.1 บอกกับนักเรียนว่า วันนี้พวกเขาจะเรียนเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ ถามนักเรียนว่า ดาราศาสตร์ หรือ นักดาราศาสตร์ คืออะไร พร้อมทั้งตอบให้ทราบ สอนนักเรียนว่า มีเนื้อหาอะไรบ้าง ที่นักดาราศาสตร์ศึกษาและสนใจ ถ้ามีเวลา ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ นักดาราศาสตร์กำลังศึกษาวิจัย เรื่องอะไรกันอยู่ [เนื้อหาควรให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก]

1.2 วันนี้เราจะเรียนเรื่องดาว [แสดงภาพดวงอาทิตย์ หรือ ดาวดวงอื่นก็ได้] ทำไมเราถึงได้มองเห็นดาว? ดาวคืออะไร? ประกอบด้วยอะไร? ดาวที่อยู่ใกล้โลกที่สุดคือดาวอะไร? ทำไมดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญต่อโลกมาก?

1.3 ดาวบางดวงถูกจับกลุ่มรวมเข้าด้วยกัน และสร้างรูปภาพขึ้นประกอบ เรียกว่า กลุ่มดาว (Constellation) แสดงภาพของ รูปกลุ่มดาว ที่นักเรียนจะได้เห็นในท้องฟ้าจำลอง บอกกับนักเรียนว่า รูปต่าง ๆ เหล่านั้น คนกรีกโบราณ และ คนโรมัน เป็นคนคิดสร้างขึ้น และ นักเรียนจะได้ฟังนิทาน เรื่องราวประกอบรูปเหล่านั้น ในเมื่อเข้าไปชมท้องฟ้าจำลองข้างใน รวมทั้งเหตุผลที่ทำไมคนเราถึงได้สร้างรูปต่าง ๆ เหล่านั้นขึ้นมา?[เหตุผลต่าง ๆ เช่น เพื่อการเดินเรือ การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การดูเวลา เป็นต้น บอกนักเรียนว่า ไม่แต่เฉพาะคนกรีก และ คนโรมันที่สร้างภาพ และ เรื่องราวบนท้องฟ้า ทุก ๆ เชื้อชาติต่างมีการสร้างนิทาน และ ภาพจินตนาการขึ้นกับท้องฟ้าทั้งนั้น รวมทั้งของไทยเราด้วย แต่เรื่องราวของคนกรีก และ โรมัน เป็นเรื่องเด่นและศึกษากันทั่วโลก

1.4 การเตรียมตัวเข้าสู่ การเข้าชมในท้องฟ้าจำลองกฎ, วิธีการเข้าชม, การห้ามส่งเสียง เป็นต้น

2. ท้องฟ้าคืนนี้ (15 – 30 นาที)

2.1 [เมื่อนักเรียนทั้งหมด เข้ามานั่งประจำที่ในท้องฟ้าจำลองแล้ว เร่งเวลาในท้องฟ้าให้ดวงอาทิตย์ตกดิน จากนั้น ก็ปิด atmospheric effects and landscape.] จากนั้นก็บอกนักเรียนว่า ขณะนี้ พวกเขากำลังดูท้องฟ้าของค่ำคืนนี้ ณ เวลา____นาฬิกา ถามต่อว่า พวกเขาเห็นอะไรบ้าง? ดวงอาทิตย์อยู่ที่ไหน? นักเรียนเห็นอะไรอย่างอื่นที่จำได้บ้าง? ทำไมเราถึงมองไม่เห็นดาวดวงอื่น ๆ ในตอนกลางวัน

2.2 บอกนักเรียนว่า นักเรียนกำลังจะเห็นกลุ่มดาวที่พวกเขาน่าจะคุ้นเคย กลุ่มดาวนี้จะมี ลักษณะคล้ายช้อนขนาดยักษ์อยู่บนท้องฟ้า แล้วพวกเราเรียนมันว่าอะไรละ? ใช่แล้ว เรียกว่า “the Big Dipper” กลุ่มดาวกระบวยใหญ่ (ชี้ให้นักเรียนเห็นกลุ่มดาว Big Dipper)

2.3 บอกกับนักเรียนว่า จากกลุ่มดาวดังกล่าว ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นกลุ่มดาว ที่ชาวโรมันสร้างขึ้นมาละก็ ต้องเพิ่มดาวเข้าไปอีกหลาย ๆ ดวง ชาวโรมัน จินตนาการถึงสัตว์ที่มีฟัน และเขี้ยวอันแหลมคม ซึ่งชอบกัดกินปลาและผลไม้เป็นอาหาร (เปิดส่วนที่เป็น ขอบเขตแดนของกลุ่มดาวหมีใหญ่) จากนั้นก็บรรยายว่า ดาวดวงไหนเป็นส่วนไหนของตัวหมีใหญ่ จากนั้นก็เปิด เส้นวาด รูปภาพ ของกลุ่มดาวหมีใหญ่ จากนั้นก็เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหมีใหญ่ของชาวกรีก หรือ โรมันที่ท่านชื่นชอบ

2.4 บอกกับนักเรียนว่า แต่หมีใหญ่ไม่ใช่เป็นหมีตัวเดียวที่อยู่บนท้องฟ้า ยังมีกลุ่มดาวหมีเล็กด้วย ใครรู้บ้างว่า กลุ่มดาวอะไรประกอบขึ้นเป็นดาวหมีเล็ก? ใช่แล้ว กลุ่มดาว กระบวยเล็ก หรือ กลุ่มดาวหมีเล็ก เราสามารถใช้ดาว 2 ดวงของกลุ่มดาวหมีใหญ่ ช่วยเราหาดาวดวงที่สำคัญมาก ๆ บนท้องฟ้าดาวเหนือ (Polaris) ซึ่งเป็นส่วนปลายสุด ของหางกลุ่มดาวหมีเล็ก (แสดงให้นักเรียนดูว่า เราใช้ดาว 2 ดวงของ กระบวยใหญ่ ค้นหา ดาวเหนือ ได้อย่างไร) จากนั้นก็สอนนักเรียนถึงวิธีการหา ส่วนที่เหลือของกลุ่มดาวหมีเล็ก (เปิด ขอบเขตแดน ของกลุ่มดาวหมีเล็ก จากนั้นก็บรรยายว่า ดาวอะไรประกอบเป็นหมีเล็กบ้าง จากนั้นก็เปิด เส้นวาด และ รูปภาพ ของกลุ่มดาวหมีเล็ก ถ้าท่านทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ กลุ่มดาวหมีเล็ก ก็น่าจะเล่าให้นักเรียนฟัง)

2.5 จากนั้นก็แสดงกลุ่มดาว ให้นักเรียนดูอีก 2 ถึง 5 กลุ่ม (แล้วแต่เวลา) จากท้องฟ้าส่วนอื่น ๆ เล่านิทาน หรือ ตำนานของกลุ่มดาวนั้น ๆ และเปิด เส้นวาด และ รูปภาพ ของกลุ่มดาวเหล่านั้น ให้นักเรียนชมด้วย

2.6 หลังจากที่ได้ฟังเรื่องราว และตำนานต่าง ๆ ของดาวกลุ่มอื่น ๆ แล้ว วกกลับมาที่กลุ่มดาวแรก คือ กลุ่มดาว กระบวยใหญ่ เล่าให้นักเรียนฟังว่า ทำไมกลุ่มดาว กระบวยใหญ่จึงได้สำคัญมากต่อเรา (กลุ่มดาวนี้อยู่ทางซีกเหนือของท้องฟ้า หาง่าย สามารถเห็นได้ตลอดทั้งปี สำคัญสำหรับการเดินทางในยามค่ำคืน) สามารถเห็นได้ตลอดทั้งคืน และยิ่งกว่านั้น ทำให้สามารถค้นหาดาวเหนือ (Polalis) ได้ (เร่งเวลา เพื่อให้เห็นว่า ดาวเหนือไม่เคลื่อนที่ และแนะให้นักเรียนทราบว่า การหมุนของโลก และการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เราเห็นว่า ดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่)

2.7 จะเห็นว่า ดาวเหนือไม่ค่อยจะเคลื่อนที่มากนัก เพราะว่า อยู่เกือบจะเป็นตำแหน่งเดียวกับขั้วโลกเหนือ (ใช้ลูกโลกจำลองในมือ โดยเอียงแกนของโลก และชี้ปลายไม้ไปที่ดาวเหนือ)

2.8 แล้วกลุ่มดาวอื่น ๆ เคลื่อนที่หรือเปล่า (ให้นักเรียน เห็นการเคลื่อนที่ของกลุ่มดาวอื่น ๆ) พร้อมทั้งอธิบายว่า ทำไมกลุ่มดาวอื่น ๆ ถึงได้เคลื่อนที่ โดยใช้ลูกโลกจำลอง และ อธิบายถึงการหมุนรอบตัวเอง และ หมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นี้)

2.9 จากนั้น ก็เปิดให้เห็น เส้นวาด และ รูปภาพ ของกลุ่มดาวต่าง ๆ

3. เตรียมให้นักเรียนออกจากท้องฟ้าจำลอง เพื่อรวมกลุ่มกันใหม่นอกห้องเรียน

4. สรุป

เมื่ออยู่นอกห้องเรียนและนั่งเรียบร้อยแล้ว

· ทบทวนว่าวันนี้ นักเรียนได้เรียนอะไรบ้าง

· กลุ่มดาว แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร

· ผู้คนต่าง ๆ ใช้ กลุ่มดาว ช่วยทำอะไรได้บ้าง

· นักเรียน ได้เห็นกลุ่มดาวอะไรบ้าง

·ดาวเหนือ สำคัญอย่างไร

---------------------------------------------------