ภาพภายในโดม

Home

ภาพภายในโดม

รูปต่อไปนี้ จะให้แนวคิดว่า ภาพที่อยู่ในโดมท้องฟ้าจำลองของ เครื่องฉายดาว Digitarium
จะให้บรรยากาศอย่างไร


ภาพในท้องฟ้าจำลอง ตอนกลางวันตามปกติจะเป็นเช่นนี้ จากนั้น ผู้สอนสามารถกดปุ่มที่ รีโมทคอนโทรล เพื่อไม่ให้มีบรรยากาศเป็นต้นไม้รอบ ๆ ขอบโดม รวมทั้งสามารถเปลี่ยนท้องฟ้า ให้ไม่มีแสงอาทิตย์ ทำให้ผู้ชมสามารถเห็นดวงดาวต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ได้ ท้องฟ้ากลางวันเหมาะสำหรับ การเปิด/ปิดการสอน
 

บรรยากาศของท้องฟ้า หลังจากเปลี่ยนท้องฟ้า ให้ไม่มีแสงอาทิตย์มารบกวน ทำให้สามารถเห็นดวงดาวต่าง ๆ และทางช้างเผือกได้
 

ผู้สอนสามารถเรียก ชื่อกลุ่มดาว เส้นเชื่อมโยงกลุ่มดาว หรือ ภาพกลุ่มดาวได้อย่างง่ายดายจาก รีโมทคอนโทรล นี่คือชื่อกลุ่มดาวของซีกโลกใต้ สามารถเรียกกลุ่มดาวทุกกลุ่ม ในท้องฟ้าพร้อม ๆ กัน หรือจะเรียกที่ละกลุ่มดาวก็ได้ แล้วแต่เนื้อหาการสอนของผู้สอน
 

ด้วยการกดปุ่มรีโมทคอนโทรล เพียงปุ่มเดียว ผู้สอนสามารถ เรียกภาพกลุ่มดาวได้ ภาพดังกล่าวเป็นผลงานของศิลปินชื่อ Johan Meuris ผู้สอนสามารถเรียกภาพกลุ่มดาว ให้ปรากฏที่ละภาพก็ได้ตามต้องการ
 

ผู้สอนสามารถขยายภาพ (Zoom in) เพื่อเห็นเพียงภาพกลุ่มดาว โอไรอัน (Orion) ก็ได้ ผู้สอนสามารถขยายภาพดาวฤกษ์ หรือ ดาวเคราะห์ ที่ต้องการศึกษาได้เช่นกัน
 

ผู้สอนสามารถเลือกเทหวัตถุในท้องฟ้า และขยายให้เห็นภาพใกล้ได้ Digitarium Alpha 2 มีภาพเป็นร้อยภาพ เช่น ในที่นี้ คือภาพ เนบิวลา Southern Ring
 

ผู้สอนสามารถเลือก ดาวพฤหัส แล้วกดปุ่มขยายภาพ เพิ่มความเร็วของเวลา เพื่อดูการหมุนรอบตัวเอง และดวงจันทร์ Galilean หมุนรอบดาวพฤหัส ภาพนี้ถ่ายเมื่อเวลาในท้องฟ้าที่ 2.09 น. ในช่วงบ่าย ผู้สอนสามารถเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ไม่มีแสงอาทิตย์ได้ จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นดาว ได้ตลอดเวลา
 

นี่คือภาพขยายของดวงจันทร์ "ไอโอ" (Io) ที่กำลังโคจร ผ่านดาวพฤหัสซึ่งเห็นจาง ๆ อยู่ด้านหลัง
 

ผู้สอนสามารถแสดงภาพ "ดวงจันทร์" ในแต่ละวัน โดยดูจากขนาดเท่าของจริง หรือขนาดที่ขยายให้ใหญ่ขึ้น ดังเช่นในภาพนี้
 

ผู้สอนสามารถเรียก ระบบสุริยะมาให้ชมได้ สามารถขยายให้เห็นเฉพาะดาวเคราะห์ ส่วนที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ก็ได้ ระบบ Digitarium สามารถแสดงเส้นทางโคจรได้ถึง 60 วัน
 

สามารถแสดงภาพที่ถ่ายเอง ในที่นี้ คือภาพสวนในประเทศฝรั่งเศส ชื่อ Chateau de Villandry
 

ภาพขยาย โลก โดยมองมาจาก ดวงจันทร์